" จะสร้างสังคมเชียงใหม่ให้เป็นสุขได้อย่างไร "


สำรวจปัญหาสังคมโดยการจัดทำโพล (POLL ) เพื่อสำรวจหาประเด็นทางสังคมจากกระบวนการทางวิจัยและนำเสนอปัญหาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสร้างเครือข่ายยุววิจัย อันนำไปสู่กิจกรรม โครงการและงานวิจัยร่วมกัน

         สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้อาทิ ปัญหาความยากจน ช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจที่กว้างเกิน ความแตกสลายทางสังคม ( Social disintegration ) การทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติและวิกฤติทางวัฒนธรรมอันนำไปสู่การเกิดปัญหาทางสังคมเช่น อาชญากรรม โสเภณีเด็ก การละเมิดสิทธิเด็กและสตรี โรคเอดส์ ยาเสพติด รวมทั้งการเจ็บป่วยทางสังคม (Socia ill )

         จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกด้านของภาคเหนือซึ่งวิกฤติทางสังคมซึ่งก็คงไม่แตกต่างจากเมืองใหญ่ทั่วไป “ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อสร้างสังคมเชียงใหม่เป็นสุข (NARCOH )” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาประกอบด้วยสถาบันทางสังคมที่หลากหลายได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.บ.ต.ดอนแก้ว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ร.ร.ปรินส์รอยแยลวิทยาลัย น.ส.พ. ข่าวธุรกิจภาคเหนือและองค์กรทางสังคมอื่นๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการ สร้างเครือข่ายร่วมกันในการเฝ้าระวังปัญหาสังคมอันเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาในเบื้องต้นโดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Stake holder ) เริ่มต้นจากการเชื่อมโยงองค์กรสถาบันสังคมและขยายไปสู่เยาวชนในองค์กร วางแผนและแก้ไขปัญหาร่วมกันอันเป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขและยั่งยืน

          กิจกรรมเริ่มต้นที่สำคัญได้แก่การสำรวจปัญหาสังคมโดยการจัดทำโพล (POLL ) เพื่อสำรวจหาประเด็นทางสังคมจากกระบวนการทางวิจัยและนำเสนอปัญหาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสร้างเครือข่ายยุววิจัย อันนำไปสู่กิจกรรม โครงการและงานวิจัยร่วมกัน

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนและเป็น ความคาดหวังในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของคนในท้องถิ่นและเป็นผู้ที่รับทราบปัญหาของท้องถิ่นมากที่สุด ดังนั้นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและสังคมเพื่อสร้างสังคมเชียงใหม่เป็นสุข โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ระดมความคิดเห็นโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสะท้อนปัญหาของเมืองเชียงใหม่ทุกด้านจากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คนในวันที่ 20 มีนาคม 2550 เพื่อนำไปวางแผนยุทธศาสตร์การสร้างสังคมเป็นสุขในระยาวซึ่งปรากฎผลดังนี้


          1. ปัญหาทางครอบครัว /สังคม ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ได้แก่ครอบครัวเกิดความแตกแยก สมาชิกในครอบครัวเกิดความรู้สึกแปลกแยกจากกัน ขาดความเข้าใจไม่มีเวลาให้กัน (ทำงานมาก) เกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ (ในเมือง) ครอบครัวไม่ได้อยู่ร่วมกันเนื่องจากทำงานที่อื่น สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ การมุ่งเน้นวัตถุขาดความเคารพและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน


          2. ปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ได้แก่หน่วยงานในท้องถิ่น มุ่งเน้นงบประมาณในการแก้ไขปัญหามากกว่าความร่วมมือของชุมชน การขาดความตระหนัก หวังผลประโยชน์ส่วนตน หน่วยงานยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี


การขาดจิตสำนึกใจการทำงานและ กิจกรรมร่วมกัน ครอบครัวขาดการส่งเสริมกิจกรรมร่วมกัน


          3. ปัญหาด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในท้องถิ่นเห็นว่ายังมีความแตกต่างทางด้านคุณภาพของสถานศึกษาในท้องถิ่นและมีไม่เพียงพอทำให้คนในพื้นที่ไปเรียนในเมืองมากขึ้น ประชาชนในพื้นที่มีฐานะยากจนทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา บุคลากรทางการศึกษายังขาดการพัฒนา คนไทยมีความใฝ่รู้น้อยมาก การศึกษาเน้นเชิงพาณิชย์มากเกินไป ขาดการมุ่งเน้นคุณธรรมและหลักสูตรไม่เอื้อต่อสภาพของชุมชน


          4. ปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตของคนในชุมชน ได้แก่ขาดการดูแลสุขภาพตนเองโดยมุ่งเน้นการรักษามากกว่าการป้องกันเมื่อเจ็บป่วยทำให้จำเป็นต้องใช้เงินในการรักษาจำนวนมาก มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นในชุมชน เกิดภาวะเครียดเนื่องจากภาวะหนี้สินทำให้ร่างกายและจิตใจขาดความสมดุลและส่งผลต่อการเกิดความขัดแย้งได้ง่าย รวมทั้งการไม่ยอมรับบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ/ยาเสพติดและบกพร่องทางร่างกาย


          5. ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ได้แก่การ ขาดธรรมาภิบาลในหลายหน่วยงาน ประชาชน ขาดหลักการดำเนินชีวิต เกิดค่านิยมของสังคมไม่ถูกต้องเช่นการ ยกย่องคนเก่งแต่ขาดคุณธรรม การรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ มากเกินไป ทำให้ขาดความเคารพผู้ใหญ่เด็กรุ่นใหม่ และไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น


          6. ปัญหา ด้านความปลอดภัยในสังคม ได้แก่ขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สภาพที่อยู่อาศัยไม่ปลอดภัย ผู้คนวิตกกังวล/หวาดระแวงต่อสิ่งรอบตัว ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความขัดแย้งในชุมชนทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนน้อยลง


          จากผลการระดมความคิดเห็นกล่าวได้นำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของท้องถิ่นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาสังคมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายต่อไป

หมายเลขบันทึก: 120620เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามมาเป็นทัพหน้าครับ

ขอให้กำลังใจและชวนเชิญช่วยออกความเห็นครับ

สวัสดีครับ คือผมไม่ได้อัพเดทบล็อกมานาน ต่อจากนี้ไปก็จะพยายามเพื่มบันทึกเรื่อยๆครับ

 บทความนี้ คุยกันนานแล้ว และได้สร้างเครือข่ายยุววิจัย แล้วในวันที่ 13 กรกฎาคม 2550

จากการประชุมในวันนั้น ในที่ประชุมเหล่าน้องๆยุววิจัย ได้โหวตจะทำวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด (จริงๆแล้วยังมีอีกหลายประเด็น ในเรื่องที่จะให้เชียงใหม่เป็นสังคมที่มีความสุข)

ในบันทึกนี้ครับ

http://gotoknow.org/blog/res-poll/120627

สวัสดีครับ

P

บันทึกและเรื่องราวน่าสนใจมากครับ ผมเป็นนักวิจัย และข้อมูลที่เป็นปรากฏการณ์ทั้งหมด สามารถนำใช้ในการวางแผนการทำงานได้เป็นอย่างดี

ผมขออนุญาตเพิ่มบันทึกนี้เข้าใน Planet ของผมด้วยครับ เพื่อการติดตามอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท