ธรรมประจำใจ


สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เมื่อตอนเป็นเด็ก ๆ  รู้สึกประทับใจธรรมอยู่  3 หมวดใหญ่ ๆ คือ    สังคหวัตถุ 4  สังคหะ  หมายถึง การสงเคราะห์กัน เป็นธรรมที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจกันทำให้ความรักยั่งยืน  ได้แก่  ทาน : การให้ปันแก่กัน  ปิยวาจา :  พูดกันด้วยวาจาไพเราะ    อัตถจริยา : ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อกัน  สมานัตตตา : วางตนให้เหมาะสม
     ธรรมอีกข้อหนึ่งที่เป็นประโยชน์มาก คือ  พรหมวิหาร 4  ได้แก่  เมตตา : ปรารถนาดี  กรุณา : ความสงสาร  มุทิตา : ความยินดีด้วย  อุเบกขา : ความมีใจเป็นกลาง รู้อะไรควรไม่ควร
     ธรรมที่ใช้ในการทำงานให้ประสพความสำเร็จ  เรียกว่า อิทธิบาท 4  ได้แก่  ฉันทะ : เต็มใจทำ (รักในงาน เอาใจใส่)  วิริยะ : แข็งใจทำ (ความพากเพียร ไม่ย่อท้อ ความกล้า)  จิตตะ : ตั้งใจทำ (เอาใจใส่ไม่ปล่อยปละละเลย) วิมังสา : ทำอย่างพินิจพิเคราะห์  ใช้สมอง สติปัญญา ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางาน งานก็จะคั่งค้างและผลงานก็ไม่เรียบร้อย  ธรรมดังกล่าวปัจจุบันได้นำมาสอดแทรกในการสอนนักเรียนให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และรู้จักรับผิดชอบในการทำงานที่ครูมอบหมายให้
หมายเลขบันทึก: 120330เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

              ธรรมทุกข้อล้วนสอนในสิ่งดี  อยู่ที่ว่าคนเราจะนำไปปฏิบัติหรือไม่เท่านั้น  ผู้ที่มีธรรมประจำใจ  ถือว่ามีเครื่องนำทางที่ดี  และเดินถูกทางแล้ว

  หลักธรรมทั้ง 3 ประการนั้น เป็นหลักธรรมที่มีผลต่อผู้ปฏิบัติจริง ถ้าประพฤติได้ถือว่า เป็นผู้ใหญ่และคนทำงานที่ดี ขอร่วมเป็นผู้ปฏิบัติด้วย แม้จะไม่เต็มร้อย แต่ก็จะพยายามมีให้มากที่สุด ขอให้เราเป็นผู้ให้กำลังใจซึ่งกันและกันตลอดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท