Sence of Exelence


คุณภาพของการศึกษาไทย...Human Quality ..คู่กับ... Academic Dimension ...หรือต้องเลือก

คุณภาพการศึกษาไทยในมุมมองของนักประเมินที่มีคุณภาพอย่าง รศ.ดร. อุทัย ดุลยเกษม ก็เป็นความรู้อีกด้านหนึ่งที่ทำให้นักบริหาร...มือใหม่หัดขับอย่างเรา....รู้สึกทึ่งและชื่นชมอาจารย์มาก ทุกมุมมองมีข้อคิดที่ท้าทาย กระชากความคิดเราให้ตื่น และค่อย ๆ กล้าคิดนอกกรอบ เพื่อการบริหารจัดการ....ด้านการประกันคุณภาพ...ที่ดี....เราว่าเราเติบโต (ทางความคิด) ขึ้นอีกหลายปี ทั้งที่นั่งฟังอาจารย์แค่ 3ชั่วโมงเท่านั้น...คุ้มมาก

ร่วมแชร์ความรู้ที่ได้ฟังมานะคะ ประเด็นแรกก็คงจะไม่พ้นเรื่อง การประเมินของ สมศ. ซึ่งมุ่งดูที่ผลลัพท์ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั้งสี่ด้าน การเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

เรื่องการเรียนการสอน อาจารย์ตั้งคำถามเรื่อง Human Quality และ Academic Dimension ถามว่าสิ่งใหนกำลังจะหายไปจากสังคมการศึกษาไทย...เราอยากให้บัณฑิตเราจบออกไปเป็นคนอย่างไร...ชวนคิดอยู่เหมือนกันนะ และเปิดประเด็นต่อว่า Human Quality นี่ประเมินง่ายหรือยาก...??

สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ Standard Quality น่าจะสำคัญที่การประกันคุณภาพภายในมากกว่าการประกันคุณภาพภายนอก ถ้าเราทำทุกอย่างให้มีคุณภาพตามงาน ทำทุกอย่างให้ดี...มี Sence of Exellence...แล้ว การทำงานของ สมศ. ก็แทบจะไม่จำเป็นเลย

 ส่วนเรื่องการวิจัยนั้น ก็น่าจะเป็นมุมมองที่ทุกคงนเห็นด้วยว่าเป็นจุดอ่อนของเกือบทุกมหาวิทยาลัยในบ้านเรา ต้องได้รับการบริหารจัดการที่เอื้อให้ระบบการทำงานวิจัยก้าวเดินได้อย่างมั่นคง ทั้งเรื่องการมีแผนวิจัย กองทุนวิจัย จำนวนงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย การตีพิมพ์บทความ ต่าง ๆ เป็นต้น โดยอาจารย์มองว่าจุดอ่อนของงานวิจัยอยู่ที่เรื่องงบประมาณ ซึ่งก็เป็นความจริงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น แต่ความเป็นจริงที่หลายคนพยายามบิดเบือนก็คือ คุณภาพของโจทย์วิจัยที่ไม่ถึงขั้นต่างหาก....ท้าทายนักวิจัยไหมคะ

ส่วนเรื่องบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นั้นมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีผลงานค่อนข้างดี โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่สามารถตอบสนอง และช่วยแก้ปัญหาสังคมท้องถิ่นได้ และควรผนวกรวมกับการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้ามาช่วย และให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงสภาพของโลกในความเป็นจริง

วรรคท้าย: ผลกระทบจากกระแส...ฟ้าบ่กั้น... (Globalization)...

1. Value of speed....นิยมความเร็ว...ไม่คำนึงถึงอย่างอื่น...คิดเร็ว ทำเร็ว กินเร็ว ทุกอย่างต้องเร็วถึงจะดี ยกเว้นสองอย่างที่ไม่ชอบให้เร็วคือ แก่ และตาย (เร็ว)...ฮา....

2. Value of superficiality....ผิวเผิน ไม่ลึกซึ้ง คบกันแบบผิวเผิน รักกันแบบผิวเผิน แต่งแล้วหย่า.....ฯลฯ

3. Value of competition....สังคมแห่งการแข่งขัน..ไว้ใจกันได้ยากเปรียบดั่งสังคมต้นยูคาลิปตัส....แข่งกันโต....แต่ไม่มีประโยชน์กับใครเลย ทำลายแม้แต่หญ้าที่จะขึ้นอยู่รอบ ๆ ต้น ขณะที่สังคมต้นไทร...ที่เป็นสังคมของคนไทยมีลำต้นใหญ่ แต่เอื้ออาทร มีที่ให้ต้นไม้เล็กเกาะอาศัย หรือแม้แต่ผลก็เป็นอาหารให้สัตว์น้อยใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง....เราเลือกได้ไหม...ว่าเราจะเป็นแบบใด...

หมายเลขบันทึก: 120307เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมครับ ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (หวังผล ชัดเจน จับต้องได้จริง) งานวิจัย มุ่งเน้นการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย R2R (ไม่ใช่วิจัย ที่เก็บไว้บนหิ้ง) เหล่านี้ มหาวิทยาลัยแต่ละห่ง ต้องให้ความสำคัญครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ....คิดถึงขอนแก่นเหมือนกันนะคะ ไม่ได้กลับไปเยี่ยมหลายปีแล้ว...KKU Science 18 ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท