เด็กติดเกม ภาค 2


เด็กติดเกม
เด็กติดเกม ภาค 2


ในปัจจุบัน เราไม่สามารถปฎิเสธได้ว่า เทคโนโลยีกำลังพัฒนาเกินกว่าที่หลายๆ คนจะตามทัน และบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็เกินกว่าที่จะควบคุมหรือดูแลได้อย่างทั่วถึง ปัญหาที่ว่าสาเหตุมากจากสิ่งเดียว นั่นคือ การไร้ความรับผิดชอบของทั้งผู้ผลิตและผู้เผยแพร่ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนและกำลังจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข และลุกลามใหญ่โตไปเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่เรียกว่าเป็นเยาวชน และอนาคตของชาติโดยตรงนั่นเอง

เด็กติดเกมส์ คำนี้กลายเป็นเสมือนยาพิษที่อยู่ในใจของผู้ปกครองทุกคน เด็กติดเกมส์ มีหลายอย่าง เช่น เล่นเพื่อสนุก เล่นเพื่อคลายเครียด เล่นเพื่อเท่ห์ เป็นที่ยอมรับของเพื่อน แต่ถ้าเล่นเป็นชีวิตเสมือนมันคือสิ่งที่ทำให้มีความสุข เหมือนสร้างโลกส่วนตัว เสมือนสิ่งทดแทนโลกแห่งความเป็นจริง อันนี้อันตรายกว่า เพราะถ้าพวกเขาหลุดจากโลกของเกมส์ เขามักปฏิเสธโลกความเป็นจริง ไม่ค่อยแคร์ใคร และอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ ถึงตอนนี้แต่ละฝ่ายต่างมองถึงปัญหาและทางแก้

แต่สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปนั่นคือต้นเหตุของการเป็น "เด็กติดเกมส์" ที่
สาเหตุโดยส่วนใหญ่ มักมาจากความสัมพันธ์ในครอบครัว ความใกล้ชิด และความเข้าใจของพ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคคลใกล้ชิด เช่น พี่ น้อง ญาติ เพื่อน สิ่งแวดล้อม รวมถึงสถานการณ์ในครอบครัว

1. การที่พ่อแม่ขาดเวลาในการเอาใจใส่และควรส่งเสริมลูกให้ถูกทาง เพราะสังคมในปัจจุบัน พ่อแม่ ผู้ปกครองมักเห็นว่า การที่เด็กขยันเรียน หมกหมุ่นกับการเรียน การแข่งขันในเรื่องเรียนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแก่เขา พ่อแม่จะเน้นที่ IQ ของลูกมากกว่า EQ ดังนั้น การทำเช่นนี้เสมือนยิ่งเป็นการสร้างช่องว่างระหว่างครอบครัวมากขึ้นๆ เด็กจึงหันไปหากิจกรรมอื่นๆ ทำเพื่อคลายเครียด เพราะเกมส์ ไม่มีใครบังคับ แต่เราบังคับตัวละครเอง และทำให้เด็กมีความรู้สึกอิสระ จึงทำให้เด็กหันไปหาเกมมากขึ้นพอๆ กับการถอยห่างจากครอบครัว

2. การที่ครอบครัวไม่มีเวลาให้ลูก การที่ลูกเหงาไม่มีเพื่อน เขาจึงต้องการเพื่อนแก้เซ็ง อาจเป็นการเล่นเกมส์ หรือแชททางเน็ต และเมื่อเขารู้สึกได้สิ่งที่ขาดไปทางเกมส์หรือเน็ต นั่นคือความเอาใจใส่ที่พ่อแม่ให้ไม่เพียงพอ จึงเป็นพื้นฐานของการทำให้เขาเสพเกมส์ หรือเพื่อนในโลกไซเบอร์มากขึ้นๆ เพราะเขาคิดว่า เกมส์หรือเน็ตทดแทนความเหงาที่ขาดจากพ่อแม่ได้

3. การเล่นเพื่อหลีกหนีความรู้สึกผิดหวัง หรือเจ็บปวด เป็นการเล่นเพื่อลืมความรู้สึกหม่นหมอง ไม่พอใจ และไร้ทางระบายออก คนที่เป็นเช่นนี้ มักไม่ค่อยยอมรับความผิดหวัง มักหลีกหนี และปิดบังความรู้สึกไม่แสดงออกมา ค่อนข้างเก็บกด ผู้ปกครองควรใส่ใจให้มาก เพราะเราไม่สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวด้านความคิดของเด็ก ว่าตอนนี้เด็กคิดไปถึงไหนแล้ว ความเครียดระดับไหนแล้ว พวกเขามักจะตัดสินอะไรเอง เพราะไม่กล้าปรึกษาผู้ใหญ่ และมีโลกส่วนตัวมากกว่าเด็กข้ออื่น เพราะเขามักคิดเองเออเองเสมอ พวกเขามักพึ่งตนเอง โดยไม่คิดสนใจพ่อแม่ อาจเป็นหนทางที่พวกเขาจะติดยา ติดเพื่อนได้

และในช่วงที่เด็กกำลังปิดเทอมตอนนี้ ความใส่ใจของผู้ใหญ่ และหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ความเตรียมตัวถึงสถานการณ์ "เด็กติดเกมส์" ที่ต้องเพิ่มในช่วงนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากเด็กจะมีเวลาว่างค่อนข้างมาก การสร้างสรรค์กิจกรรมในช่วงปิดเทอมควรเป็นสิ่งที่หน่วยงานและคนทำงานด้านเด็กต้องรีบกระทำโดยด่วน ซึ่งในครั้งนี้หากมีมาตรการควบคู่ไปกับการป้องกันแหล่งเล่นเกมส์ เช่น การควบคุม ดูแล ให้มากยิ่งขึ้น โดยทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการสร้างสำนึกความรับผิดชอบ ชี้แจงปัญหา และบทลงโทษหากไม่ได้รับการร่วมมือ

นอกจากนี้มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนดูแลเยาวชนโดยตรง มองเห็นและหาทางแก้ปัญหาเด็กที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด ทางมูลนิธิได้เปิดหาอาสาสมัครในการจัดกิจกรรมช่วงปิดเทอม โดยจัดเป็นกิจกรรมนันทนาการ หรือการเปิดหนังดีๆ แล้วมาตั้งวงวิจารณ์กัน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ดึงเด็กออกมาจากร้านเกมส์ ในการนี้หากทุกฝ่ายต่างร่วมมือร่วมใจ ร่วมคิด และสรรค์สร้างสิ่งที่จะมาเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อดึงเด็กและเยาวชนมาสู่หนทางที่ถูกต้องแล้ว ปัญหา "เด็กติดเกมส์" ก็จะไม่ใช่ปัญหาหนักอกทิ่สิ้นทางแก้ไขอีกต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม www.iamchild.org

หมายเลขบันทึก: 120247เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท