9 คำถามการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์


การจัดเรตติ้งทีวี
9 คำถาม การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์กระแสข่าวเรื่องการจัดระบบความเหมาะสมและการจัดประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อโทรทัศน์ หรือ เรตติ้ง(Rating)”  คำถามที่มีต่อแนวคิดดังกล่าวก็คือ สำหรับผู้บริโภคหรือบุคลทั่วไป อาจจะมีการตั้งคำถามว่าทำไมต้องจัดเรตติ้งหรือเรตติ้งคืออะไร
การเปิดเสรีให้แก่ผู้ผลิตทีวี โดยนำความสัมพันธ์ในแบบทวิภาค คือ รัฐ กับ ผู้ผลิตรายการ มาพิจารณา จึงอาจจะไม่ใช่โมเดลที่สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่าใดนัก ในเมื่อยังมีประชาชนผู้บริโภคสื่ออีกจำนวนมากที่ควรมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็น ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาเรื่องเรตติ้งรายการทีวี จึงควรเปิดความสัมพันธ์ในแบบไตรภาคี คือนอกจากรัฐ และผู้ผลิตรายการแล้ว ยังควรมีตัวแทนจากประชาชนเข้าไปมีบทบาทอย่างสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ด้วย
ที่ผ่านมา การพูดคุยในเรื่องนี้เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกกันมาก ทั้งที่เรามีรายงานวิจัยเกี่ยวกับทีวีไทยที่น่าสนใจมากมาย มีสถิติและตัวเลขที่ชี้ชัด
ด้วยเหตุนี้ขอจึงนำ 9 คำถาม การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ ซึ่งจัดทำโดย กระทรวงวัฒนธรรม    ร่วมกับ คณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนการเผยแพร่โดย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)เป็นองค์กรบริหารแผนงาน  1.      เรตติ้งคืออะไร
-เรตติ้ง(Rating) คือการจัดระดับความเหมาะสมและจัดการประเมินคุณภาพเนื้อหาของสื่อโทรทัศน์ประกอบด้วยรายการประเภท
คือ รายการสำหรับเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง3-5
คือ รายการสำหรับเด็ก อายุระหว่าง 6-13 ปี
คือ รายการที่เหมาะสำหรับทุกวัย
คือ รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็กอายุระหว่าง 13-18 ปี เพราะมีภาพและภาษาที่ไม่เหมาะสม 
คือ รายการเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่

- การแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ออกเป็น 5 ประเภท เกิดจากการระดมความเห็นจากนักวิชาการ ภาคประชาชน และกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศเป็นเวลากว่า 2 ปี 
2. ทำไมต้องมีการจัดเรตติ้ง?1.      กว่า 30 ประเทศทั่วโลกทั้งในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ จีน เวียดนามและมาเลเซียก็มีการจัดเรตติ้ง ซึ่งส่วนมากมักมีระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดกว่าประเทศไทย โดยตามหลักสากลรายการประเภท น และ ฉ จะมีการกำหนดช่วงเวลาการออกอากาศอย่างชัดเจนเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2.      เป็นเครื่องมือของผู้ปกครองในการเลือกรับรายการโทรทัศน์ให้กับบุตร หลาน 3.      ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพมากขึ้น 4.      ปกป้องเด็ก และเยาวชนจากการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์มีส่วน ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และสร้างค่านิยมที่ผิด เช่น ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ บริโภคนิยม และนิยมความรุนแรง จากการสำรวจโดยสถาบันเอแบคโพลล์ ที่สำรวจสื่อโทรทัศน์กับการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน” 1,569 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ70.6 เยาวชนมีพฤติกรรมที่ส่อในความรุนแรงจากรายการทางสื่อโทรทัศน์3. การจัดเรตติ้งคือการเซนเซอร์(censorship)หรือไม่
การจัดเรตติ้งไม่ใช่ระบบเซนเซอร์ เพราะเรตติ้งเป็นการให้ประชาชนและภาคสังคมมีส่วนร่วมในการจัดระบบตรวจสอบคุณภาพของรายการ ขณะที่ระบบเซนเซอร์เป็นการกำหนดโดยผู้ผลิตหรือสถานีโทรทัศน์เพียงด้านเดียว

4. วิธีการเรตติ้งระบบใหม่ควรทำอย่างไร
- การจัดเรตติ้งระบบใหม่จะมีเกณฑ์การพิจารณา +6 -3 เพื่อจำแนกคุณภาพรายการ ออกเป็น 5 ประเภท คือ ป. ด. ท. น. และ ฉ. และเพื่อพิจารณาว่ารายการนั้นเหมาะสำหรับผู้ชมวัยใด
- +6 คือเกณฑ์ความรู้ 6 เรื่องเพื่อพิจารณาคุณภาพของรายการซึ่งประกอบด้วย ความรู้ในเชิงวิชาการ การคิดเป็นระบบ คุณธรรม-จริยธรรม ทักษะการใช้ชีวิต ความหลากหลายของสังคม และพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
- -3 เป็นเกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาต้องห้าม 3 ด้าน เพื่อจำแนกรายการให้เหมาะกับช่วงอายุ และช่วงเวลาของผู้ชม โดยเกณฑ์ 3 ด้านดังกล่าวคือเรื่อง เพศ ภาษา และพฤติกรรมความรุนแรง
5. ทำไมรายการประเภท น ต้องอยู่หลังสองทุ่มและรายการประเภท ฉ ถึงอยู่หลังสี่ทุ่ม?
- จากการวิจัยพบว่าช่วงเวลาตั้งแต่ 17.00-22.00 น. เป็นเวลาที่เด็กและเยาวชนรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยรายการ เป็นรายการที่เด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 13-18 ปี สามารถรับชมได้ แต่ต้องมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ เพราะอาจมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ทั้งเรื่อง เพศ ภาษา และพฤติกรรมที่ส่อในความรุนแรง รายการแนะนำจึงออกอากาศในช่วงระหว่างเวลา 09.00 -16.00 น. และ 20.00 – 05.00 น. ส่วนรายการประเภท คือรายการเฉพาะผู้ใหญ่ควรอยู่หลัง 22.00 น. เท่านั้น เพราะมีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่
- ประเทศต่างๆเช่นในสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดเรตติ้ง ในลักษณะที่คล้ายๆกันคือ รายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปีหรือที่เรียกว่ารายการประเภท TV-14 นั้นสามารถออกอากาศได้หลัง 21.00น. ขณะที่ประเทศอังกฤษ หน่วยงาน ofcom ก็มีการกำหนดเวลามาตรฐานของรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะกับเด็กและเยาวชน ให้ออกอากาศได้หลัง 21.00 น. เท่านั้น
6.  ข้อดีของการจัดเรตติ้งแบบใหม่คืออะไร ?
- เรตติ้งระบบใหม่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคสังคม
จากเดิมที่ผู้ผลิตรายการในแต่ละสถานีจะใช้วิธีตรวจสอบเนื้อหาก่อนออกอากาศกันเองหรือที่เรียกว่าระบบพรีเรต(Pre-rate)นั้นเป็นเพียงการจัดเรตติ้งทางฝ่ายผู้ผลิตเท่านั้น ทำให้ยังมีบางรายการที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และกรณีการถ่ายทอดสดที่ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาบางส่วนได้จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมภายหลังจากการออกอากาศภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนหรือโพสต์เรต(Post-rate) เพื่อตรวจคุณภาพของรายการหลังออกอากาศ จึงเป็นการทำงานควบคู่ระหว่างฝ่ายผลิตและประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนได้รู้เท่าทัน7.  การจัดเรตติ้งจะทำให้ไม่เกิดความหลากหลายในการรับชมรายการหรือไม่
การจัดเรตติ้งไม่เกี่ยวกับความหลากหลายในรายการ แต่เป็นการจัดช่วงเวลาการออกอากาศให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม และเป็นการสร้างบรรทัดฐานร่วมกันในสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพของรายการให้มีความหลากหลายบนฐานความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัย จะเห็นได้จากรายการโทรทัศน์ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีทั้งความหลากหลายและมีคุณภาพสูง
8.  ทำไมจึงไม่นำระบบเรตติ้งไปใช้กับ UBC หรือ เคเบิ้ลทีวี ต่างๆ
ระบบUBC มีการแยกช่องตามรายการ ซึ่งผู้ปกครองสามารถควบคุมช่องสัญญาณที่ไม่เหมาะสมกับเด็กได้ สำหรับเคเบิ้ลทีวี ซึ่งอยู่ภายใต้พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เช่นเดียวกับโทรทัศน์สาธารณะ หากสามารถผลักดันมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ก็จะมีผลครอบคลุมทั้งโทรทัศน์สาธารณะและเคเบิ้ลทีวี

9. เรตติ้งระบบใหม่เป็นการแทรกแซงเสรีภาพของสื่อและลิดรอนเสรีภาพในการรับชมของประชาชนหรือไม่
มาตรการจัดเรตติ้ง เป็นมาตรการเพื่อคุ้มครองเด็กในช่วงเวลาที่เด็กรับสื่อมากที่สุด และการจัดเรตติ้งถือเป็นมาตรฐานสากลที่ปฏิบัติกันทั่วโลก แม้แต่ในประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อและประชาชนอย่าง สหรัฐอเมริกา หรือประเภทอังกฤษ
ประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของสื่อสามารถมีส่วนร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อสะท้อนความคิดเห็นในการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ผ่านทางwebsite; www.me.or.th และการส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่(sms) หมายเลข 4863333 
หมายเลขบันทึก: 120242เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
1.เมื่อท่านมองเห็นเด็ก ทำไมไม่มีทีวีของเด็ก และเยาวชน และ นักศึกษา ครับ ครับ ผมอยากให้มีมากที่สุด รายการที่ควรจัดในช่องนี้คือ การศึกษา ที่ครบทุกชั้นครับ 2. ต้องการมากคือสอนพิเศษทางทีวี ทุกชั้น 04.00-7.00 และ 17.00-22.00 วันธรรมดา และ ทั้งวันในวันหยุดเรียน ครับ เด็กบ้านนอกจะได้เรียนบ้างครับ จ้างครูมาสอนให้เลย และผ้ปกครองก็จะมีลูกที่ได้เรียนหนังสือไม่เที่ยวนอกบ้านเกเร ดดยเฉพาะช่วงปิดเทอม ครับควรจัดมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 3. มีชั่วโมงติว กวดวิชาให้ด้วยจะดีมากครับ เด็กใกลบ้านนอก หรือในเมืองก็จนเหมือนกันครับ 4.มีการนำเสนอรายงานการศึกษา วิธีการเรียนการศึกษาของนักเรียนักศึกษาตัวอย่าง หรือต่างประเทศมาให้เด็กไทยได้ดู เออเด็กไทยจะได้เรียนภาษาต่างประเทศได้ด้วย กระทรวงศึกษาทำได้ เร็ว ใหมครับ ตอนนี้ อัตราครูก็ช้ามาก เด็ก ๆไม่ได้เรียนหนังสือ มาหลายปีหลายร่นแล้วครับ ไม่ร้ลูกใครบ้าง น่าเสียใจ วังไกลกังวล ก็ยังทำได้แต่ไม่เปิดนอกระบบครับ 5. การโหวด อยากให้ผ้ปกครองมีส่วนร่วมจริง ๆ แบบใหน ก็ผมเสนอวิธี 1. ให้ทำแบบมาและให้โรงเรียนแจ้งผ้ปกครองและสรุปผลรายงาน ให้ท่านสรุป และแจ้งผลทางเน็ต ให้โรงเรียนทราบและโรงเรียนแจ้งผ้ปกครอง น่าจะเป็นพลังความต้องการที่ยิ่งใหญ่ครับ กล้าทำอยากให้ทำจริง ๆๆๆๆๆๆ ชาวบ้านจะได้สบายใจจากลูกปลอดภัย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท