ส่งเสริมการเกษตรที่ดอนแตง


ทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่จะต้องมีความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา

นำการจัดการความรู้สู่ท้องถิ่นที่ดอนแตง

  

              หนึ่งในทีมงานการจัดการความรู้ของกำแพงเพชรที่ชื่อ ประทักษ์ ธรรมนิทัศนา  ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว.  ประจำสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี  เป็นเลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดอนแตง  ได้เล่าให้ฟังว่าปัจจุบันนี้การทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ จะต้องมีความเข้าใจ  เข้าถึง  และพัฒนา ซึ่งมีกระบวนการทำงานดังนี้

 

               ขั้นที่1  ได้ศึกษาข้อมูลของชุมชนดอนแตง ทั้งด้านกายภาพ  ชีวภาพ  เศรษฐกิจ และสังคม โดยภาพรวม พร้อมได้เข้าไปศึกษาบริบทชุมชนดอนแตง ควบคู่กันไป ทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคย กับแกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

  

                ขั้นที่2.  ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแตง ออกไปจัดทำเวทีชุมชนเป็นรายหมู่บ้าน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาตำบล โดยมีการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งด้านกายภาพ  ชีวภาพ  เศรษฐกิจและสังคม โดยมีชาวบ้าน ผู้แทนกลุ่มอาชีพที่อยู่ในชุมชน แกนนำชุมชน  คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯในขณะเดียวกัน ก็จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลควบคู่กันไปด้วย โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของชุมชน  ได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด  แนวทางพัฒนาการเกษตร และได้แผนพัฒนาการเกษตรระดับชุมชน

  

                 ขั้นที่3. ขั้นตอนนี้จะต้องเชื่อมโยงมาจากขั้นตอนที่2 จากการวิเคราะห์โดยชุมชนมีส่วนร่วมนั้น ชุมชนหรือคนที่อยู่ในชุมชนจะเป็นผู้บอกว่า แผนพัฒนาการเกษตรระดับชุมชนนั้นว่าใครบ้างที่ต้องการรับการพัฒนา  อยู่ที่ใด มีการรวมกลุ่มกันหรือยัง ถ้าจะพูดง่ายฯก็คือฐานกลุ่มอาชีพเป้าหมายนั่นเอง

 

                  ขั้นตอนที่4  กระตุ้นให้กลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่มนั้นจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพว่าต้องการจะทำกิจกรรมอะไร มีใครบ้าง ทำที่ไหน จะทำเท่าไร และทำอย่างไร และจะทำเมื่อใด จะใช้งบประมาณหรือไม่อย่างไร มีใครสนับสนุนบ้าง  ทั้งนี้แผนดังกล่าวก็จะต้องสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนร่วมกัน

 

                 ขั้นตอนที่5. เปิดโอกาสให้ผู้แทนกลุ่มอาชีพดังกล่าว ได้นำเสนอแผนพัฒนากลุ่มอาชีพที่จัดทำขึ้นตามขั้นตอนที่3นั้น ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดอนแตง พิจารณา และขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแตง

  

                   ขั้นตอนที่6. จัดทำแผนปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำเดือนทุกเดือน ออกมาปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯโดยยึดแผนปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพเป็นหลัก พร้อมทำการติดตามประเมินผล ควบคู่กันไปด้วย

 

                   

                    โครงการที่ทางกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ในตำบลดอนแตงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอบต.ดอนแตง  เพื่อสนับสนุนเป็นกองทุนหมุนเวียนขยายผลไปสู่สมาชิกในชุมชนได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดฝักสดในฤดูแล้งปี 2549 วงเงินที่ได้รับ 97,310 บาท มีสมาชิกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 63 ครัวเรือน

  

  
 

                     โครการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ เพื่อทดแทนสารเคมีทางการเกษตร วงเงินที่ได้รับ 100,000 บาท มีสมาชิกไม่น้อยกว่า  80  ครัวเรือน

 

                        จึงนับได้ว่า เป็นตัวอย่างหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรที่ชื่อคุณประทักษ์ ธรรมนิทัศนา ได้สร้างทีมงานในระดับตำบลประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ กลุ่มอาชีพทางการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานต่างฯที่อยู่ในพื้นที่ จนเป็นที่กล่าวถึงอยู่ตลอดเวลา                                         

หมายเลขบันทึก: 119833เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ อ.เขียวมรกต
  • ขอขอบพระคุณมากครับที่ได้นำกิจกรรมของเพื่อนๆ นักส่งเสริมมาแลกเปลี่ยน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท