รัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์


ควรมีความเข้าใจให้ชัดเจนถึงความหมายของ "รัฐศาสตร์" หรือ "นิติศาสตร์" ให้ได้ความก่อนที่จะนำไปใช้ในการสื่อความหมาย

รัฐศาสตร์ หรือ นิติศาสตร์

  วิกูล    โพธิ์นาง

๒๕   มิถุนายน    ๒๕๕๐

[email protected]    

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในหมู่สมาชิกในองค์การใดๆที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ความขัดแย้งนั้นๆยุติลงสู่สภาวะปกติโดยไวแล้ว  ก็มีหลากหลายความคิดเห็นที่จะใช้เป็นแนวทางการแก้ไข

ผู้รู้ทางรัฐศาสตร์  ก็แนะนำให้ใช้หลักรัฐศาสตร์

ผู้รู้ทางนิติศาสตร์ ก็แนะนำให้ใช้หลักนิติศาสตร์

พัฒนามาจนติดปากของคำพูดก่อนลงมือแก้ไขปัญหาว่าต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ดีกว่านิติศาสตร์  หรือนิติศาสตร์ดีกว่ารัฐศาสตร์

หัวหน้าบางท่านมีความรุ้สึกนึกคิดว่า  จะปกครองคนต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ปกครองด้วยศีลปะจะยึดหลักนิติศาสตร์อย่างเดียวมิได้หรอกอาจจะมีบ้างก็พอประมาณมิฉะนั้นจะอยู่ด้วยกันลำบาก

หัวหน้างบางท่านก็ว่า ไม่ได้เดียวเคยตัวถ้าใช้หลักรัฐศาสตร์หน่วยงานจะไม่มีระเบียบวินัยต้องใช้หลักนิติศาสตร์เท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นที่ว่ามากลายเป็นว่าสรุปเอาเองว่ารัฐศาสตร์คือการปกครองอย่างหย่อนยานไร้ประสิทธิภาพ   นึกอยากทำ  นิติศาสตร์คือการกระทำที่ตรงไปตรงมาเป็นธรรมตามกฏหมายถูกต้องที่สุดอย่างนั้นหรือ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับรํฐศาสตร์  และนิติศาสตร์ อันจะนำไปสู่การใช้คำที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำว่า รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไปด้วยจึงขออาสาค้นหานำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์จากวิกิพีเดีย สารานุกรรมเสเรี มาศึกษาไปพร้อมกันดังนี้ รัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นการศึกษากระบวนการแบ่งปันและถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆ การศึกษาด้านรัฐศาสตร์นั้นถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวและสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขาวิชานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายด้าน เช่น รัฐศาสตร์เปรียบเทียบ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปรัชญาทางรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับชาติ (ที่รวมการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันหลักของรัฐ การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง และการเมืองในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น) รวมไปถึงระเบียบวิธีวิจัยรัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง กระบวนการทางการเมือง สถาบันทางการเมือง รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมือง การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ โดยอาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอี่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นสาขาวิชาที่สำคัญของรัฐศาสตร์ในประเทศไทย การศึกษารัฐศาสตร์มักแบ่งออกเป็น สาขาวิชาหลักๆได้สามสาขา ดังนี้การเมืองการปกครอง  เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องของหลักวิชาในการเมือง การปกครอง ความคิดทางการเมือง ระบบการเมือง ระบบการปกครอง ปรัชญาการเมือง รัฐธรรมนูญ และอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งเน้นที่ การบูรณาการองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระบบระหว่างประเทศ โดยจะเริ่มศึกษาจากทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการของระบบระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง การทูตและการต่างประเทศ และอื่นๆ รัฐประศาสนศาสตร์                  เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในการบริหารกิจการต่างๆอันเป็นของรัฐ หรือการบริหารงานภาครัฐ สาขาวิชานี้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมากในปัจจุบัน และเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมจากผู้สนใจศึกษารัฐศาสตร์ค่อนข้างมาก ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทยการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ใช้คำภาษาอังกฤษแทนวิชานิติศาสตร์ว่า "science of law"การศึกษานิติศาสตร์วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็นวิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปใช้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ

การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา  จะถูกเรียกว่าวิชา นิติปรัชญา หรือ philosophy of law

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการจัดตั้ง "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน คณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศได้ย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน

            ข้อมูลที่ได้คงจะเป็นพื้นฐานให้เราๆท่านๆได้เข้าใจเกี่ยวกับคำว่า รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ได้พอสมควรจึงอยู่ที่แต่ละท่านแล้วว่าต่อไปจะใช้คำใดดี ขอขอบคุณสารานุกรมเสรี วิกิพีเดียเป็นอย่างมาก ขอเชิญทุกท่านเข้าศึกษาเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

 สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่วิกิพีเดียสารานุกรมเสรีhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81
หมายเลขบันทึก: 119085เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท