การสร้างเครือข่ายการทำงานเสริมหนุนชุมชน


เพื่อร่วมกันเสริมหนุนการทำงานในระดับพื้นที่และชุมชน

เครือข่ายทำงานพัฒนาการเกษตร

  

                    มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ว่า ทำอย่างไรจึงจะบูรณาการ งานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน และการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญในการทำงานร่วมกัน และเป็นการเปิดมิติใหม่ ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ  ความสำคัญอยู่ที่การปรับวิธีคิด ให้มีการทำงานแบบบูรณาการ โดยเอาพื้นที่และชุมชนเป็นตัวตั้ง

  

                   หากจะพูดอีกแนวทางหนึ่ง จะทำอย่างไรที่จะสร้างเครือข่าย ในการทำงาน โดยให้มีการประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรต่าง  ทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับชุมชน เพื่อร่วมกันทำงานโดยมีภารกิจของตนเอง  เพื่อร่วมกันเสริมหนุน การทำงาน ในระดับพื้นที่และชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายในการทำงานมากขึ้น

  

                 เครือข่ายเกษตรกรในชุมชน ส่วนใหญ่จะมีการดำเนินการตามวิถีชีวิตของคนที่อยู่ร่วมกันในชุมชน มีการเชื่อมโยง ทั้งในและนอกชุมชน   เกษตรกรจะมีการทำงานเป็นลักษณะเครือข่ายทางสังคมอยู่แล้ว ตามบริบทของชุมชนนั้นฯ

  

               ปัจจุบันนี้ ทุกวงการ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม มีการปรับวัฒนธรรมองค์กรจากการทำงานในแนวดิ่ง  มาเป็นแนวราบ  ซึ่งเน้นความสัมพันธ์แบบเครือข่าย ทั้งภายในองค์กรเองและกับคนอื่น  องค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือโดยอ้อม

  

              การทำงานแนวนี้จะทำให้เกิด พันธมิตรแห่งความร่วมมือ คือเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีเป้าหมายวิธีการ แนวทางคล้ายกัน หรือร่วมกัน หรือทำงานในพื้นที่เดียวกัน ประเด็นเดียวกัน บางครั้งเกิดโครงการร่วมกันขึ้นมาเพื่อประสานความร่วมมือ ระหว่างองค์กรต่างฯ ที่ทำงานคล้ายกันเพื่อให้เสริมแทนที่จะแข่งขันและซ้ำซ้อนกัน

  

             ในองค์กรภาครัฐ ที่ทำงานในภาคเกษตรทุกระดับ หากมีความจริงใจ ที่จะปรับวัฒนธรรมองค์กรจากการทำงานแนวดิ่ง มาเป็นแนวราบ  รู้สึกว่าไม่ใช่ง่ายฯ หรือจะมองจากองค์กรระดับล่างขึ้นบนหรือจะมองบนลงล่าง  หากจะพูดง่ายฯก็คือ ถ้าทุกภาคส่วนเน้นความร่วมมือของทุกฯฝ่าย ทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ก็จะสามารถเสริมหนุนการสร้างความเข้มแข็ง

เพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้

  

              เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2550 มีการสร้างเวทีเครือข่ายระดับตำบลของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชรและเกษตรกร กลุ่มอาชีพทางการเกษตร ณ.โรงเรียนวังไทรวิทยาคม  ตำบลวังไทร  อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร รูปแบบการบริการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่มีความประสงค์จะนำปัญหาหรือข้อสงสัยในการประกอบอาชีพทางการเกษตรมาสอบถามแลกเปลี่ยนกับคลินิกความรู้ด้านต่างฯ ได้แก่คลินิกพืช   คลินิกประมง  คลินิกปศุสัตว์ คลินิกดิน และคลินิกศัตรูพืช  ส่วนใหญ่จะมีเกษตรกรจากชุมชนบ้านต่างฯตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุงและชุมชนข้างเคียง มีผู้เข้าร่วมงานที่รับการบริการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประมาณ 700 คนเศษ

  
 

                นอกจากนี้เห็นจะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลวังไทร ได้สาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พร้อมมีการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์ วิธีใช้  อัตราที่ใช้   ตลอดจนนำผลการทดลองที่ใช้กับพืชไร่เช่นมันสำปะหลังเป็นต้น นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำ ความรู้ แก่เกษตรกรผู้สนใจอีกด้วย จากการที่กระผมสังเกตดูพบว่าคลินิกนี้ มีเกษตรกรให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องทั้งวัน นับว่ากิจกรรมของกลุ่มได้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นBest Practice อีกรูปแบบหนึ่ง

       แหล่งความรู้: กิจกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด  โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร  และศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังไทร              

                                                                                                                                                               

   

หมายเลขบันทึก: 118892เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ คุณเขียวมรกต  ตามมาให้กำลังใจ ตามจังหวะ และโอกาสที่อำนวยค่ะ
  • ทุกบทความเป็น Tacit K. ที่มีประโยชน์มากจริงๆ 
  • หวังว่า..จะช่วยขยายเครือข่ายการ ลปรร.ของชุมชนนักส่งเสริมการเกษตร ให้ครอบคลุมทั้งองค์กรของเราในอนาคตอันไม่ช้านี้นะคะ...
  • ขอบคุณมากค่ะ...

สวัสดีครับอ.นันทา ดีใจสุดฯ ที่อ.นันทามาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจมาโดยตลอดครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดวิธีคิดของชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรได้แน่นอน หากเกิดเครือข่ายการเสริมหนุนอย่างจริงจัง และจริงใจต่อกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท