หนุ่มเอ็กเทอร์น : คุยกับป้ามลที่บ้านกาญจนาภิเษก ๒


ผู้อำนวยการบ้านกาญฯ

                เมื่อเริ่มเข้ามาทำงานในบ้านกาญฯเกิดแรงต่อต้านอย่างมากจากเจ้าหน้าที่ ป้ามลลองใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่เขียนความคิดในการทำงานกับเด็กๆ คล้ายๆกับเป็นวิสัยทัศน์ในการทำงานของแต่ละคน สิ่งที่เกิดขึ้นน่าสนใจมาก มีเจ้าหน้าที่ ๔-๕คน ที่เขียนออกมาแล้วความคิดดี มีทัศนคติที่ดีเห็นว่าน่าจะทำงานด้วยกันได้แต่ก็ยังมีความเชื่อเรื่องอำนาจและการใช้ความรุนแรง หลังจากอ่าน ป้ามลนัดคุยกับเจ้าหน้าที่เป็นรายคน

                จากนั้นมีการทำเวิร์คชอบกับเจ้าหน้าที่ ป้ามลกิจกรรม มุมมองสิทธิเด็ก จับคู่เล่ากาลครั้งหนึ่ง มองย้อนกลับไปเมื่ออายุต่ำกว่า ๑๘ ปี มีอะไรบ้างที่ทำให้เราทำผิดพลาด มีตัวละครใดบ้างที่เกี่ยวพันธ์กับความผิดพลาดของเรา ถ้าขณะนี้พวกเขายืนอยู่ต่อหน้าตัวเองในช่วงวัยรุ่น เมื่อทำผิดแล้วต้องการให้ผู้ใหญ่ปฏิบัติกับเราอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นคือทุกคนมีเรื่องที่สะเทือนใจ แต่ก็ยังมีเสียงแย้งจากบางคนว่า เด็กพวกนี้ทำผิดเกินกว่าจะให้อภัย

                ถึงแม้เจ้าหน้าที่จะยังมีปัญหา แต่ก็เริ่มสร้างข้อตกลงได้ คือ ต้องไม่ทำร้ายเด็ก ไม่แตะเนื้อต้องตัวเด็ก แต่ไม่นานก็เกิดเรื่อง มีเด็กถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย เมื่อป้ามลทราบเรื่องก็เชิญ พ่อแม่เด็กมาในตอนนั้นเลย(ซึ่งโดยปกติเด็กที่โดนทำร้ายจะถูกกันไม่ให้พบกับพ่อแม่จนกว่าแผลจะหาย)

เมื่อพ่อแม่ของเด็กมา ป้ามลให้พ่อแม่เด็กเป็นผู้เลือกว่าจะให้แจ้งความหรือจะให้ในบ้านกาญฯจัดการกันเอง ครั้งนั้นพ่อแม่เชื่อว่าทางบ้านกาญฯจะจัดการเรื่องนี้ได้จึงไม่เอาความ เจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายเด็กยื่นจดหมายลาออก ทำให้การจัดการปัญหาง่ายขึ้น  ป้ามลจำได้ว่ากอดเจ้าหน้าที่คนนั้นที่กำลังร้องไห้ ขอบคุณเขา เราเป็นพี่น้องกันมีปัญหาอะไรเดือดร้อนให้บอก(แม้เวลาจะผ่านไปแล้วหลายปีเจ้าหน้าที่คนนี้ก็ยังแวะเวียนกลับมาที่บ้านกาญฯ)

 ล๊อกเกอร์สัญลักษณ์ของอิสรภาพและความรับผิดชอบ

                ป้ามลใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก เด็กบอกป้ามลว่าอยากเอาล็อกเกอร์ขึ้นไปไว้บนบ้านเพราะจะได้สะดวกเมื่ออยากได้อะไรในตอนกลางคืน อยากให้เวลาเข้าบ้านเลื่อนออกเป็นสัก ๑ทุ่ม ป้ามลถามเด็กๆว่า จะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ไม่กังวลใจที่จะเอาล๊อกเกอร์ขึ้นบ้าน เจ้าหน้าที่ถามกลับว่า ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะทำยังไง เนื่องจากเด็กอาจจะซ่อนอาวุธหรือเก็บของที่ทางบ้านห้าม  

                ในที่สุดล๊อกเกอร์ก็ถูกยกขึ้นบ้านเนื่องจากเด็กๆว่าจะช่วยกันเป็นหูเป็นตา เจ้าหน้าที่ชอบเหมาโหล ทำผิดคนเดียวกลับทำโทษทั้งหมด ป้ามลพูดกับเจ้าหน้าที่ว่าถ้ามีเด็ก ๑คนทำผิดข้อตกลงจะทำโทษทั้งหมดไหม จะเอาล๊อกเกอร์ลงจากบ้านไหม ในที่สุดก็มีเด็กทำผิดข้อตกลงจนได้โดยนำเศษแก้วไปเก็บไว้ เด็กๆบอกป้ามล ป้ามลเรียกเด็กที่ทำผิดข้อตกลงมาคุย ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเด็ก ล๊อกเกอร์ยังคงอยู่บนบ้าน

                เมื่อเวลาผ่านไปเด็กๆนิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่รู้สึกปลอดภัยขึ้น ทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 118768เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท