ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน : สังคมไม่ทอดทิ้งกัน


คนเร่ร่อนไร้บ้านกำลังถูกสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ทอดทิ้งเอาเสียดื้อ ๆ ไม่แน่ใจว่าคณะทำงานในขณะนั้นมีมุมองหรือทัศนคติกับคนเร่ร่อนไร้บ้านแบบไหน ?? การเรีบกร้อง การส่งผ่านข้อคิดเห็นทั้งที่ผ่านบล็อคของรมต.ไพบูลย์ โดยตรง และ ถามผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องราวของคนเร่ร่อนไร้บ้านที่มีอยูทั่วประเทศจำนวนมากมายก็ยังไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเอาใจใส่เท่าที่ควร แม้ว่าจะมีความพยายามนำเรื่องราวหรือเสียงของขอบของชายขอบของสังคม มาเผยแพร่บอกกล่าวให้คนในสังคมรับรู้เรื่องราวแล้วก็ตามที แต่ดูเหมือนเสียงนั้น ก็ยังแผ่วเบาจนแทบไม่ได้ยินเลยก็ตามที

ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้าน : สังคมไม่ทอดทิ้งกัน 

          การโหมการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของรัฐ ในสามยุทธศาสตร์ด้านสังคม หนึ่งในนั้น คือ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ?? ย้อนไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ที่ รัฐมตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เชิญภาคีด้านสังคมต่าง ๆ เข้าพบเพื่อรับฟังสภาพปัญหา และภายหลัง นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีได้นำผลการหารือสรุปออกมาเป็นวาระเร่งด่วนในการทำงานกับกลุ่มคนด้อยโอกาสและถูกทอดทิ้ง ถ้าจำไม่ผิด จำนวนคน ที่ตั้งเป้าไว้ในขณะนั้น คือ 1 ล้านคน แต่เมื่อเข้าไปอ่านในรายละเอียด พบว่ามีคนหลากหลายกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับโอกาสของการช่วยเหลือ แต่ ที่ขาดไป จนน่าใจหาย คือ กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่ อ่านรายละเอียดเท่าไหร่ ก็ไม่มีจุดไหนสื่อได้ว่า เป็นกลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้าน ??? 

          คนเร่ร่อนไร้บ้านกำลังถูกสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ทอดทิ้งเอาเสียดื้อ ๆ ไม่แน่ใจว่าคณะทำงานในขณะนั้นมีมุมองหรือทัศนคติกับคนเร่ร่อนไร้บ้านแบบไหน ?? การเรีบกร้อง การส่งผ่านข้อคิดเห็นทั้งที่ผ่านบล็อคของรมต.ไพบูลย์ โดยตรง และ ถามผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องราวของคนเร่ร่อนไร้บ้านที่มีอยูทั่วประเทศจำนวนมากมายก็ยังไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเอาใจใส่เท่าที่ควร แม้ว่าจะมีความพยายามนำเรื่องราวหรือเสียงของขอบของชายขอบของสังคม มาเผยแพร่บอกกล่าวให้คนในสังคมรับรู้เรื่องราวแล้วก็ตามที แต่ดูเหมือนเสียงนั้น ก็ยังแผ่วเบาจนแทบไม่ได้ยินเลยก็ตามที อาจจะเป็นไปได้ว่า คนกลุ่มนี้ ไม่มีพลังหรือการต่อรองที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่พรรคการเมืองที่ขันอาสาเข้ามาพัฒนาประเทศจะให้ความสนใจเพราะเขาไม่สามารถลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้ 

ครั้นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ที่ว่ากันว่า เป็นระบอบอำมาตยาธิปไตย ก็ยิ่งไปกันใหญ่ พยายามสร้างภาพความเอื้อเฟื้อผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ แต่เอาเข้าจริง ๆ เมื่อมองเข้าไปในรายละเอียด ก็พบว่าเป็นเพียงภาพลวงตาที่ฉาบเอาไว้ด้วยสิ่งจอมปลอมที่พยายามสร้างภาพว่าแปลกและแตกต่างไปจากระบอบเดิมที่ใช้เป็นข้ออ้างในการล้มล้างไปเมื่อปีที่แล้ว ผ่านมา จะครบ 11 เดือนในอีกไม่กี่วัน ยิ่งฉายภาพชัดถึงความละเลยขาดความเอาใจใส่อย่างแท้จริง การกวาดล้างสร้าภาพลักษณ์ของประเทศที่หนักหน่วงและถี่ขึ้น การกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำต่อคนกลุ่มนี้มีความรุนแรงและใช้ระบบเจ้าขุนมูลนายเพิ่มมากขึ้น ศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์โดนย่ำยีถากถางและเยาะเย้ย จนน่าแปลกใจว่า เจ้าหน้าที่หลายคนที่ผ่านกระบวนการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์มาแต่ทำไมถึงมีพฤติกรรมแบบนั้นทั้ง ๆ ที่ ปากของฝ่ายบริหารบอกว่า สังคมไม่ทอดทิ้งกัน แต่ในระดับปฏิบัติการบางคน นอกจากจะทอดทิ้งแล้ว จะ ทำอะไรที่แรงกันนั้นอีกต่างหาก ???

  
หมายเลขบันทึก: 117841เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท