ตลาดนัดกรมอนามัย 2550 - Press Tour (3) รองโสภณ เปิดตลาดสไตล์ KM


ไม่ว่าจะเป็น Facilitator, Note taker คุณอำนวย คุณลิขิต ต่างๆ มีชื่อเหล่านี้ก็อย่าไปยึดติดคำเหล่านี้ ดูวิธีการเขา แล้วก็จะรู้ว่า ... บางครั้งบางคน ทำโดยวิธีการนี้โดยที่ได้สำเร็จไม่รู้ตัว แล้วก็รู้ว่า อ๋อ อย่างนี้หรือที่เขาเรียกว่า KM นะครับ ลองดูได้

 

วันนี้ ... 2 สค.50 ... วันเปิด "ตลาดนัดความรู้ สู่เส้นทาง ... ภาคีส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม" ... เราจะเปิดตลาดกัน 2 วัน คือ วันที่ 2 และ 3 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรมรอยัลปริ้นซ์เซส จ.นครราชสีมา นี้ละค่ะ ทุกคนมาพร้อมกันแล้ว ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย นพ.โสภณ เมฆธน มากล่าวเปิดตลาดค่ะ แบบ KM ... คืออะไรน่ะหรือ ... ก็คือ ไม่มีเอกสารคำกล่าวให้ท่านเลยละค่ะ ให้ท่านพูดสดๆ ... ได้เนื้อๆ KM จริงๆ ขอบอก ... มาฟังดูสิคะ

 

  • เวลาเราไปเดินตลาด หรือ free market เราก็ shopping สิ่งที่เราอยากได้ บางคนก็มีจุดหมายว่า มาตลาดนัดจะมาซื้ออะไร บางคนไม่มีจุดหมาย แต่ก็ซื้อได้เยอะกว่าคนมีจุดหมายอีก และบางครั้งก็ไปเจอสิ่งที่ถูกใจด้วย ... ก็ขึ้นกับเราว่าจะไปเลือกซื้ออะไร
  • เราจัดงานครั้งนี้ อยากได้ 2 เรื่องหลักๆ คือ
  • มา ลปรร. กัน กับภาคีเครือข่ายของเรา ในเรื่อง ทำงานอะไรที่ประสบความสำเร็จ และประสบความสำเร็จด้วยวิธีอะไร ไม่ว่าจะเป็น Tactic หรือกลยุทธ์ หรือ Critical factor หรือ tricks อะไรบ้าง ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ... นี่คือประเด็นที่เราจะได้ฟังจากวิทยากรหลายๆ ท่านในวันนี้นะครับ ... ลองฟังดูได้ว่า จะได้ความรู้ หรือสิ่งที่สามารถจะไปใช้ทำงานต่อได้อย่างไร นี่คือเป้าหมายที่ 1
  • ซึ่งเราได้เชิญเครือข่ายมาเยอะมาก ทั้งเรื่องกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ, Bangkok Charter (หรือกฎบัตรกรุงเทพ) ที่ทำในเรื่องส่งเสริมสุขภาพนี่ คือเรื่องของ partnership
  • และเรื่องของเครือข่ายทำงานร่วมกันนี่ ในทางปฏิบัตินั้น เขามี tactic และวิธีการทำอย่างไร ลองฟังผู้ซึ่งถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของเรื่อง partnership
  • ต่อมาเรื่องของพัฒนาศักยภาพ (Human capacity) ทำกันยังไง
  • มาถึงเรื่องของการลงทุน เรื่องที่จะไปกำหนดนโยบายอย่างไร
  • เรื่องของ Advocate คือ เรื่องของการที่ไปสร้างกระแส หรือการไปทำให้เกิดนโยบายขึ้นมานี่ทำอย่างไร
  • และเป้าหมายที่เขาประสบความสำเร็จคืออะไร นี่คือสิ่งที่เราจะได้มารับรู้เรื่องภาคีเครือข่ายของเรา
  • เป้าหมายที่สอง เราอยากให้ตลาดนัดได้ขายของด้วยครับ ... เราก็ไปดูวิธีการจัดเป็นยังไง ที่เมืองนอก Free market เขาทำกันยังไง นี่ก็เหมือนกัน คือ วิธีการ process การจัดการความรู้มันมียังไงบ้าง
  • ตอนนี้ KM ก็กำลังฮิตมาก ก็จะมีวิธีการทำยังไง เรื่องของ LO : Learning Organization หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้นี้ พวกเราได้ยินเยอะมาก และวิธีการ หรือเทคนิคในการจะเป็นอย่างไร
  • 2 วันนี้ จะเป็นการถ่ายทอด ทำให้เราเห็น
  • ... อย่างที่เขาบอกว่าวิธีการ KM ก็คือการเชิญผู้ที่ประสบความสำเร็จมา มาเล่าเรื่องที่ภาคภูมิใจ หรือที่ประสบความสำเร็จ โดยจะมี Facilitator คอยพูด คอยถาม ด้วยเทคนิคต่างๆ
  • มี Note taker คือ ผู้จดบันทึก เพราะว่าการจดบันทึก ทำให้มีหลักฐาน และมีข้อบันทึก ซึ่งเป็นสิ่งที่นานาชาติเขายอมรับกัน
  • ก็จะเป็นเหมือนกับการเผยแพร่ความรู้ ด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ด้วย
  • ไม่ว่าจะเป็น Facilitator, Note taker คุณอำนวย คุณลิขิต ต่างๆ มีชื่อเหล่านี้ก็อย่าไปยึดติดคำเหล่านี้ ดูวิธีการเขา แล้วก็จะรู้ว่า ... บางครั้งบางคน ทำโดยวิธีการนี้โดยที่ได้สำเร็จไม่รู้ตัว แล้วก็รู้ว่า อ๋อ อย่างนี้หรือที่เขาเรียกว่า KM นะครับ ลองดูได้
  • ตรงจุดนี้ เขาว่า เรื่อง KM ต้องทำแบบ อ.ประเวศบอก ... วิชาการต้องทำแบบอิสระ ต้อง free ต้องปล่อย เหมือนกับที่เราไปเดินตลาดนัดน่ะ ต้อง free ไปจำกัดตัวเองไม่ได้ เรื่องของวิชาการต้องค่อนข้าง free ให้อิสระกับความคิดของเราเอง เพื่อที่จะจับอะไรกลับไปได้มั๊ย shopping อะไรกลับไปได้บ้าง ... นะครับ
  • องค์การแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning organization นี่ ผมเอง ชอบ ประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกหน่วยงานจะทำงานได้ อยู่ที่คนอันดับหนึ่งเลย ... แล้วคนที่มาอยู่ก็คือคนที่มีความรู้ และสามารถนำมาใช้ได้
  • เขาบอกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้คืออะไร จริงๆ ก็เป็นองค์การหนึ่งที่สามารถจะรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ สิ่งดีดี และสามารถทำอะไรก็ได้ดังใจที่ปรารถนา ทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จ มันค่อนข้างที่จะเป็นนามธรรมสักหน่อยนะครับ ในเรื่องของการเรียนรู้
  • ถามว่า KM กับ LO นี่มันต่างกันอย่างไร พรุ่งนี้เช้าก็ลองฟังกันดู
  • อ.วิจารณ์บอกว่า จริงๆ มันก็เหรียญเดียวกัน แต่มองคนละด้าน อันหนึ่งเป็น process อันหนึ่งเป็นเป้าหมาย
  • Learning Organization ก็ต้องพูดถึง Senke นักวิชาการ ... ผมชอบเขาในเรื่องของ LO เช่น เรื่อง Personal Mastery ... เราต้องมีเป้าหมายเป็นนายตัวเอง ... เหมือนเวลาเราซื้อรถ เราก็ดูที่กระบอกสูบ กี่ซีซี ยิ่งกระบอกสูบที่กำลังแรง รถก็วิ่งไปได้แรง นี่มองในด้านดีนะครับ ไม่ได้มองไปทางด้านเสียว่า กินน้ำมันเยอะ
  • หรือโรงงานผลิตแอร์ ถ้า Capacity สูง ก็ผลิตได้ 100 เครื่องต่อวัน แต่จะผลิตเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเรา ถ้าเรามี capacity อยู่
  • ... นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราเอง จะทำให้มี capacity เยอะๆ ได้อย่างไร Personal Mastery ก็คือ เราจะมีความคิดที่จะเป็นนายตัวเอง ต้องมองให้ไกลๆ เหมือนกับทำกระบอกลูกสูบ หรือกระบอกที่ใหญ่ ... มองให้ไกล เหมือนกระบอกไม้ไผ่ นี่ก็คือ ถ้าเราจะเป็นนายตัวเอง ก็ตั้งเป้าไปไกลๆ
  • อันที่สอง เขาพูดถึง Mental Model หรือง่ายๆ เหมือนกับขยายความกว้างของเส้นทางความยาวของกระบอกไม้ไผ่ จะขยายให้กว้างได้อย่างไร บางคนพอฟังวิทยากรเล่าปุ๊บ เขาก็สรุปแล้ว ว่า อ๋อเป็นอย่างนี้นี่เอง เร็วไป ... คือ ไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ เป็นน้ำเต็มแก้ว
  • ถ้าทั้งแคบทั้งสั้น capacity เราก็จะเล็ก ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนอะไรไปได้ กำลังการผลิตก็จะน้อย
  • จุดนี้ก็จะสำคัญ นี่คือ concept นั่นเอง แนวคิดของ Senke คือ ทำยังไงให้เรามองไปไกลๆ ทำยังไงให้มันกว้าง ไม่เป็นชาล้นถ้วย นี่ก็คือ หลักการในเรื่องของ LO ใน 2 ข้อแรก
  • ต่อไปก็เป็นเรื่องของ Share vision ก็จะไปด้วยกัน และ KM ก็ต้องไปสู่ Vision ของหน่วยงาน ไม่ใช่ไปเรื่อยเลย ไม่รู้ KM อะไร
  • เรื่อง E-learning เรียนคนเดียวบางทีก็เหนื่อย เช่น ออกกำลังกาย มันท้อง่าย วิ่งคนเดียวมันไม่สนุก ก็ต้องมีทีม ทำกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนช่วยเพื่อน ก็ไปด้วยกัน
  • สุดท้ายคือ Creative Thinking ต้องมององค์รวม จะทำเรื่องอะไรสักเรื่องต้องมองทั้งหมด ต้องมีแนวคิดอยู่ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องแรก ก็มีแนวคิด เสร็จแล้วก็มานั่งมองว่า เราขาดอะไร และจะเพิ่มอะไรขึ้นมา
  • อย่าท้อถอย เรามองให้เห็นทั้งหมด เราอยากรู้ อยากทำอะไร แล้วเราก็ค่อยทำไป LO ก็เป็นเหมือนแนวคิด แต่พอปฏิบัติจริงๆ เทคนิคการทำจริงๆ บางคนเขาก็พูดถึง A B C อะไรต่างๆ ผมก็ชอบเขาเหมือนกัน
  • ก็ต้องอย่าไปคิดว่า คนหนึ่งพูดอย่าง อีกคนพูดอย่าง พอทำแล้วก็ออกมาคล้ายๆ กัน
  • Learning นี่ทำยังไงให้เป็น LO เหมือนอย่างที่พวกเรามี R2R : Routine to Research ก็เป็นข้อสรุปบทเรียนงานที่เราทำจริง ทุกคนจะทำก็มีทั้งนั้น ทุกคนบอก อ๋อ นี่คือ KM เหรอ อ๋อ ถ้าทำแล้วจะเป็น LO เหรอ อย่าไปยึดติดตรงนั้นเลย เพราะสิ่งที่ได้คือ ตัวเรา และองค์กรก็ได้แล้ว
  • ในเรื่องของตัวเอง หรือประสบการณ์ ก็ถือว่าตัวเองก็สำคัญ พระพุทธเจ้ายังแบ่งปัญญา เป็น 3 ระดับ อันที่หนึ่งคือ การฟังเยอะ นั่นคือ ปัญญาขั้นพื้นๆ ขั้นที่ 2 คือ คิด เป็นปัญญาที่เกิดจากความคิด เหมือนกับเราเรียนทฤษฎี และเราพิสูจน์อะไรบางอย่างได้ คิดแล้วก็ออกมา ปัญญาขั้นที่สาม คือ ปฏิบัติให้เห็นจริง เทียบกับการมีประสบการณ์ หรือ experience
  • Storytelling ก็เป็นการเอาปัญญาที่สามมา ทุกท่านที่เป็นวิทยากรก็มีประสบการณ์ที่ดี ประสบความสำเร็จจริงมาเล่า บางคนอ่านมาก็สู้ไม่ได้อยู่แล้ว อย่างทางศาสนาจะประสบความสำเร็จ นิพพานได้ก็ต้องปัญญาขั้นที่สาม อันนี้เป็นสิ่งซึ่งถือว่าสุดยอดในทางปัญญา หรือความรู้ และต้องไปทำ แล้วถึงจะเกิดเป็น Experience
  • ส่วนที่สอง ผมพูดถึงตัว B คือ Benchmarking คือ ถ้าเราไม่ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราก็ไม่ก้าวกระโดด ก็ต้องมองเทียบเคียง แต่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งนะครับ แต่มองว่า เขาเป็นยังไงกันบ้าง เขาไปถึงไหน ทำไมเรายังอยู่ตรงนี้ มองดูเพื่อนข้างเคียง ในกลุ่มของเรา อันนี้คือ ตัว B
  • ตัว C คือ Coaching คนที่เป็นผู้บังคับบัญชาก็ต้อง Coach เจ้าหน้าที่ลูกน้องบ้าง ต้องสอนงานกันได้ ต้องมี Coaching ถ้าเป็น Monitoring นี่ เขาบอกว่า OK คนที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือคนอื่นนี่ ไม่ได้เป็นนายโดยตรง เพราะฉะนั้น คนที่เป็นนายจริงๆ ก็ต้อง Coach ลูกน้องเป็น ถ้า Coach ไม่เป็นก็ลำบากเหมือนกัน
  • อีกจุดหนึ่งที่ผมชอบมาก และพยายามให้ทำ คือ Portfolio หรือแฟ้มภูมิปัญญา ... การที่เราจะเขียนอะไรออกมาได้ ต้องไปอ่าน ต้องไปทำ มาคิด แล้วก็มาเรียบเรียง
  • อย่างที่กรมฯ สอบเรื่องพนักงานของราชการ ก็ได้บอกว่า ให้เขียนตรงนี้ด้วย
  • เรื่องของการย่อความ เขียนยังไงให้ได้ ครึ่งหน้า หนึ่งหน้า เขียนให้ได้สั้นๆ ก็ต้องคิดในแง่ของ concept ได้ จับ concept ได้ นักวิชาการบางคนไม่เขียน บางทีอ่านก็ไม่รู้เรื่อง เขียนอะไรมา อ่าน ลายมือก็ไม่สวย ก็อ่านไม่รู้เรื่องอีก ก็พาลตกเอาง่ายๆ
    นี่ก็คือ เรื่องของแนวคิด เรื่องของเทคนิค
  • ทีนี้ยากมั๊ย เหมือนวันนี่ที่อยากให้มีประสบการณ์ หรือมีปัญญาขั้นสูงเลย ... ก็อยากเชิญชวน ก็ถือว่ามาแล้ว และก็ทำแบบ สบาย สบาย อ่านบอร์ด หรือฟังเสร็จนี่ ท่านก็คิด สงสัยก็ถาม ถามแล้วลองเขียน ผมว่าทำได้
  • ไม่ต้องยึดติดว่า KM ต้อง Storytelling ต้อง CoP หรืออะไรอื่นๆ นะครับ ไม่ใช่แค่นั้น มันก็มีวิธีอื่น และถามว่าเป็นเรื่องเดียวกันมั๊ย ก็เป็นเรื่องเดียวกัน
  • เรื่อง อวช. ที่เขียนส่ง ผมก็ว่า สู้ Portfolio ไม่ได้ ถ้าทำ ก็จะรู้เลยว่า ช่วง 3 ปี คุณทำอะไรบ้าง ไปประชุมมา ... อะไรบ้าง ไปอ่านมา ... อะไรบ้าง หรือคุณมีแนวคิดที่จะทำอะไรบ้าง
  • วิทยากรที่ท่านมาพูดใน 2 วันนี้ ใฝ่รู้ เป็นทั้งนักคิด นักพูด ไม่ได้เป็นง่ายๆ นะครับ
  • KM ก็ต้องทำให้มีความสุข "เราให้สิ่งดีดี ก็จะเจอสิ่งดีดี กับตัวเอง" วันนี้ก็ถือว่า ศูนย์ฯ 5 และกรมอนามัย ก็ได้ให้สิ่งดีดีทั้ง 2 เรื่อง
  • ก็ขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่าน รวมไปถึงเครือข่ายพันธมิตรของกรมฯ ที่มาช่วยกันร่วม ลปรร. จนสุดท้ายทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของกรมอนามัย ขอให้ Shopping กันเต็มที่ มีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกๆ ท่านครับ

เปิดแบบเป็นกันเองดีมากเลยค่ะ ขอให้ทุกท่านที่มาตลาดฯ Shopping แบบสบาย สบาย กันนะคะ

รวมเรื่อง ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย 2550 

 

หมายเลขบันทึก: 117492เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณที่เล่าสิ่งดีดี ให้เป็นวิทยาทานค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ คุณอุบล
  • ยังมีอีกหลายเรื่องเลยนะคะ ที่ยังไม่ได้เล่า
  • จะเล่าให้ฟังต่อไปละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท