สัมมนาวิชาการเคหกิจเกษตรทั่วประเทศ (9) : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานเคหกิจเกษตร


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด หรือเป็นปรัชญา เป็นเรื่องของสังคม เป็นวิถีชีวิต แนวทาง ปรัชญา บูรณาการทุกเรื่อง ( ไม่ใช่ นโยบาย ไม่ใช่ทฤษฎี )

             การสัมมนาวิชาการเคหกิจเกษตรทั่วประเทศ ในวันที่ 2   เริ่มด้วย ศ.ดร.ธันวา จิตต์สงวน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับงานเคหกิจเกษตร"สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้          

                        

             ศ.ดร.ธันวา จิตต์สงวน บรรยายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเคหกิจเกษตร

               มามิราเคิล   วันนี้ ดีใจนัก   

          ได้รู้จักเคหกิจ มิตรยิ่งใหญ่  

           ร่วมสานฝัน เครือข่าย เป็นสายใย 

           หวังส่งเสริม เกษตรไทย ให้ยั่งยืน

 ·        สถานการณ์ประเทศไทย

-เศรษฐกิจ     หนี้สินล้น ส่งออกลด  เงินบาทแข็ง

-สังคม          ขาดสมานฉันท์  วัฒนธรรมอ่อนแอ

-สิ่งแวดล้อม   เกิดภัยธรรมชาติ  โรคระบาด

-การเมือง       ผันผวน ไม่แน่นอน เป็นปัจจัยเสี่ยง

 ·        ความจำเป็นที่ต้องเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง

-ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 82   ระบุว่า  รัฐต้องส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง  

-เป็นความจำเป็นที่ต้องเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง

-ต้องแม่นในหลักการ พูดให้ถูก

 ·        จุดยืนในการพัฒนา

-อยู่บนแนวทางสายกลาง ประนีประนอม

-ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ภูมิปัญญา

 ·        ศักยภาพที่แท้จริงของเรา

-เกษตรกรรม อาหาร ผลิตภัณฑ์แปรรูป

-หัตถกรรม ศิลปะ บริการ กริยามารยาท

-ความหลากหลายทางชีวภาพ สมุนไพร

-ท่องเที่ยวเชิงเกษตร นันทนาการ

 ·        ความสมดุลในการพัฒนา

-ทุนเศรษฐกิจ   สร้างเงิน สร้างรายได้ 

-ทุนสิ่งแวดล้อม     ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ภูมิปัญญา  มีความหลากหลายทางชีวภาพ

-ทุนสังคม         มีการรวมกลุ่ม  ชุมชนเข้มแข็ง  อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน   รัฐบาลที่ผ่านมา  เก่ง ทุนเศรษฐกิจ  แต่ทำลายทุนสังคม สิ่งแวดล้อม

          สรุปการพัฒนาที่สมดุล    เงินทองต้องทำ   สิ่งแวดล้อมต้องรักษา   ชุมชนต้องเข้มแข็ง

 ·        งานเคหกิจเกษตร

-สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าผลผลิต

-รวมพลังชุมชน รวมกลุ่มเรียนรู้-ใช้ประโยชน์ทรัพยากรและวัตถุดิบในท้องถิ่น

      เป็นการใช้ประโยชน์จากทุนทั้ง 3 ของประเทศ

 ·        ทำไมต้องส่งเสริมกลุ่มเคหกิจเกษตร?

-ขนาดการผลิตใหญ่ขึ้น ต้นทุนลดลง-อำนาจต่อรองทางการตลาด-เรียนรู้เพื่อพึ่งพิงอิงกัน

-การกระจายรายได้และการเป็นเจ้าของ

 ·        หลักการทรงงาน 3 ประการของในหลวง

-หลักคิด          คน คือ ศูนย์กลางของปัญหา

-หลักทฤษฎี      เหตุและผลเป็นอย่างไร

-หลักปฎิบัติ       ประยุกต์ให้ง่าย ประหยัด  เน้นขั้นตอนเล็กไปหาใหญ่

 ·        ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คือ  กรอบแนวคิดในการดำรงอยู่ของบุคคล ครัวเรือน องค์กร ชุมชน และประเทศชาติ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภัย

        สรุปจากพระราชดำรัสที่พระราชทานมาตั้งแต่ปี 2517  - ปัจจุบันกว่า 30 ปี  เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นกรอบแนวคิด   หรือเป็นปรัชญา  เป็นเรื่องของสังคม เป็นวิถีชีวิต แนวทาง ปรัชญา บูรณาการทุกเรื่อง  (ไม่ใช่ นโยบาย  ไม่ใช่ทฤษฎี )

สรุปใจความเศรษฐกิจพอเพียง  ปี 2542  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา...

 ·        3 คุณลักษณะของปรัชญา

-ความพอประมาณ    (Moderation)    การดำรงอยู่อย่างเหมาะสมตามอัตภาพ  ทางสายกลาง ไม่ตกขอบ

-ความมีเหตุผล  (Resonableness)  การพัฒนาศักยภาพสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในชีวิตและสังคม

-การมีภูมิคุ้มกันตนเอง  (Self-Immunity)  การขจัดความเสี่ยงด้านต่างๆ ให้ลดลง

 ·        2  เงื่อนไขของปรัชญา

-ความรู้  (Knowledge)   มีความรอบรู้ รอบคอบ  ระมัดระวังใช้เหตุผล  ไม่งมงาย

-คุณธรรม  (Morality)     ดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ความเพียร ไม่โลภเกินไป

 ·        3  เป้าหมายของปรัชญา

-ความสมดุล  (Equilibrium)    จากความเหมาะสมตามอัตภาพ

-ความมั่นคง  (Stability)   จากการมีศักยภาพที่แท้จริง

-ความยั่งยืน  (Sustainability)   จากการไม่ประมาทต่อความเสี่ยง

 ·        สำหรับปัจเจกชนอย่างเรา

-พอประมาณ    จัดสรรหาเงินให้แก่คอบครัวตัวเอง งาน และสังคมอย่างเหมาะสมแก่อัตภาพ ตามฐานะ และตำแหน่งการงาน

-มีเหตุผล      ประกอบอาชีพตามศักยภาพ ทักษะ ความรู้ และมีการพัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ให้ทันโลก ทันเหตุการณ์

-มีภูมิคุ้นกัน       มีการออกกำลังเพียงพอ  ประกันสุขภาพ ชีวิต ออมทรัพย์ มีเพื่อน สมาชิกกลุ่ม ทุนสังคม มีเครือข่ายสนับสนุนการทำงาน   ที่สำคัญ ใช้เหตุผล ไม่งมงาย ไม่ตามกระแส อดทน ซื่อสัตย์ ไม่โลภอย่างมาก  ต้องมี ซ้าย ขวา หน้า หลัง มีเครือข่าย

 ·        งานเคหกิจเกษตร ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

-ความพอประมาณ   มีขนาดกลุ่ม การลงทุน อัตราการเจริญเติบโตที่เหมาะสม ไม่ตกขอบ

-ความมีเหตุผล     ใช้ทรัพยากร ตถุดิบ ทักษะ ภูมิปัญญา ที่มีในท้องถิ่น

-การมีภูมิคุ้มกัน   สร้างทุนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม สนับสนุนโดยเครือข่ายรัฐและเอกชน

 ·        การบรรลุเป้าหมายของเคหกิจเกษตร

-สร้างผลผลิต อาชีพ รายได้ ยกฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

-จัดสรรใช้ประโยชน์ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม แรงงาน และเวลาที่มีอยู่อย่างเกิดความสมดุล

-จัดระบบลดความเสี่ยงภัยทางชีวิต มีการออมทรัพย์

 ·        กระบวนการพัฒนาเคหกิจเกษตร

-เรียนรู้ ค้นหาเป้าหมายร่วมกัน

-รวมกลุ่ม รวมพลัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-ค้นหาทักษะ ทุนปัญญา วัตถุดิบ ตลาด

-ผสมผสานต่อยอดเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม-เพิ่มมูลค่า แปรรูป ควบคุมคุณภาพ

-กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มการตลาด มีแผนระยะยาว

 ·        จากเล็กไปหาใหญ่

-ระดับบุคคล  ครัวเรือน  เน้นการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรายรับรายจ่าย

-ระดับกลุ่ม   เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างอำนาจการต่อรอง ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

-ระดับสังคม  เน้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ติต่อประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล

 ·        ข้อคิดเห็นบางประการ 

-งานเคหกิจเกษตร เริ่มจากคุณภาพชีวิต จบลงที่การตลาด

-งานเคหกิจเกษตร ต้องสอดคล้องกับศักยภาพของภูมิสังคม

-จนท.เคหกิจเกษตร ควรเข้าใจภาพย่อยและภาพใหญ่

-ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมเป็นเครือข่ายภูมิคุ้นกันเคหกิจเกษตร

 ·        ข้อเสนอต่อกรมส่งเสริมการเกษตร

-ในวาระมงคล ในปี 2550 ควรมีการจัดประกวดกลุ่มเคหกิจเกษตรดีเด่น ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากระดับจังหวัด สู่ระดับประเทศ

-มีการจัดทำหนังสือรวบรวม กรณีศึกษากระบวนการพัฒนาของกลุ่มเคหกิจเกษตรดีเด่น ที่ได้รับรางวัล 

-มีการวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อเผยแพร่ และศึกษาวิเคราะห์กลุ่มดีเด่น เพื่อย่อยให้เห็นว่า ตรงไหนหรือ คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  

 ·        สุดท้ายของฝาก..เคหกิจเกษตร  หน้าที่ของท่าน  3  ระดับ

-สอนให้จำ      ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่ม

-ทำให้ดู           ขับเคลื่อนกลุ่ม เครือข่าย

-อยู่ให้เห็น      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นแบบอย่างได้

นันทา ติงสมบัติยุทธ์ 

5 สค.50

หมายเลขบันทึก: 117064เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • บันทึกได้ละเอียดยิบเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ขอบคุณคุณ สิงห์ป่าสัก
  • งานนี้ อ.ธันวา จิตต์สงวน บรรยายได้ดีมาก ทำให้เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ลึกซึ้งขึ้น
บล็อกสวยจัง..ความรู้แน่นเปรี๊ยะ
  • ขอบคุณคุณเบร์ด
  • เข้ามาเยี่ยม ทำให้นึกได้ว่า ใน Slide show  ตกรูปคุณเบร์ดไป  แล้วจะเพิ่มให้นะคะ..คอยชม..อิอิ
  • พักนี้...พักยก...การเขียนบล็อกชั่วคราว...หันมาศึกษา ฝึกทักษะการตกแต่งบล็อกค่ะ...
  • ถ้าสนใจ...ลองทำดู...หนุกดีนะ..จะบอกให้...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท