ชีวิตจริงของอินเทอร์น : สานสายใย...ด้วยใจเดียวกัน (๔)


กิจกรรมก่อนอาหารเที่ยงเป็นการแจกเอกสารแสดงความจำนงว่าแต่ละคนมีความถนัดในงานประเภทใด สนใจจะเข้ามาร่วมคิดร่วมทำในเนื้องานใด เพื่อที่ว่าคณะกรรมการบริหารสภาฯ จะได้ทราบว่า สส.ท่านใดมีความถนัดในงานประเภทใด ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานบ้าง ตั้งแต่ งานของประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน วิชาการ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม  เนื่องจากปัญหาเดิมที่พบมาคือขาดแคลนคณะทำงาน

  

หลังจากที่ทุกคนอิ่มหมีพีมันกันแล้ว กิจกรรมในภาคบ่ายเริ่มต้นด้วยการ แยกกลุ่มกรรมการชุดเก่าออกไปสรุปประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน โดยมีแม่ต้น เป็นวิทยาการกระบวนการ

  

ส่วนคณะกรรมการชุดใหม่นั้น นับ ๑ ๗ เพื่อแบ่งกลุ่มเป็น ๗ สิ่งมหัศจรรย์ จากโจทย์ ๗ ข้อ ที่จะช่วยตั้งหลักให้การทำงานในหน้าที่ สส.เป็นไปได้ดีขึ้น ได้แก่

  
  • ชุมชนเพลินฯในความมุ่งหวัง
  • สิ่งที่ท่านตั้งใจทำให้ชุมชนเพลินฯในฐานะที่เป็น สส.
  • เรื่องที่ท่านห่วงใยในการเป็น สส.
  • สิ่งที่จะทำให้งานของ สส.ราบรื่น
  • ท่าทีที่ไม่อยากเห็นในการทำงานร่วมกัน
  • ท่าทีที่อยากเห็นในการทำงานร่วมกัน
  • กิจกรรมนอกหลักสูตรที่น่าสนใจ
 

แต่ละกลุ่มมีสมาชิก ๙ คน และมีเวลาในฐานแรก ๗ นาที ที่จะนำเสนอสิ่งที่กลุ่มคิดลงในกระดาษ flip chart  จากนั้นกลุ่มอื่นๆก็จะเวียนเข้ามาต่อเติมฐานละ ๕ นาที จนกระทั่งครบทุกฐาน จากนั้นกลุ่มที่เป็นเจ้าของความคิดแรกเริ่มก็จะมาสรุปเนื้อหาที่ได้ทั้งหมด แล้วนำเสนอต่อที่ประชุม

  

สิ่งที่คณะกรรมการบริหารสภาฯชุดเก่าได้เรียนรู้จาการเป็นอาสาสมัคร คือ

  
  • รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า สุขใจที่ได้เป้นผู้ให้
  • การมีส่วนสร้างฝันของโรงเรียนให้เป้นจริง
  • อบอุ่น ได้เพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร
  • เกิดงานที่สร้างคน และคนสร้างงาน พัฒนากันไปเรื่อยๆ
  • ได้รู้จักคน รู้จักความเป็นมนุษย์เพิ่มขึ้น
  

ข้อเสนอที่น่าสนใจของ สส. ชุดใหม่ คือ

  
  • อยากให้โรงเรียนช่วยทำให้ทุกคนเห็นว่า การมาเป็น สส. คือการได้มาพัฒนาตนเอง ได้องค์ความรู้ ได้ทักษะการสื่อสาร ซึ่งอาจทำได้ด้วยการอบรมให้ความรู้ในทักษะที่เกี่ยวข้องแก่ สส.
  • อยากให้คณะทำงานที่ช่วยจัดงานสานสายใย...ด้วยใจเดียวกัน ถอดบทเรียนสรุปชุดความรู้ที่ได้รับครั้งนี้ และพิมพ์แจก สส.ทุกท่าน
  • อยากให้ทุกคนยอมรับผลของงานร่วมกัน
   

กิจกรรมต่อไปคือการส่งตัวแทนออกมาเล่นเกม เพื่อให้ได้เห็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการส่งสาร และสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในการทำงานกับคนหมู่มากอยู่เสมอ

  

เริ่มจากให้ตัวแทนจากทุกกลุ่มออกมายืนเรียงกัน ๗ คน คนแรกจะได้รับสารจากการกระซิบบอก แต่คนที่สองจะต้องพยายามถ่ายทอดให้คนที่ยืนในลำดับถ้ดไปโดยไม่ใช้คำพูด แต่ต้องบอกเป็นภาษาท่าทาง แต่เมื่อส่งผ่านไปถึงคนที่ ๗ สารที่ได้รับมาก็กลายเป็นอื่นไปเสียแล้ว !

  

จาก สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น จึงกลายเป็น ไม่มีอะไร เพราะไม่มีใครได้พูดคุยสอบทานกันนั่นเอง

  กิจกรรมสุดท้ายในเรื่องการสิ่อสารก็คือ กิจกรรมวงจร ๙ คน เพื่อการซักซ้อม และซ่อมเสริมปัญหาเรื่องการสื่อสาร กิจกรรมนี้เริ่มจากการให้สมาชิกในกลุ่มทุกคน ทำการขอรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เพื่อการกระจายข่าวสาร โดยคนที่ ๑ จะเป็นผู้ส่งข่าวถึงคนที่ ๒ และคนที่ ๒ ก็จะส่งข่าวไปยังคนที่ ๓ เรียงกันไปจนครบ และคนสุดท้ายจะเป็นคนที่ส่งข่าวกลับมาที่คนแรก เพื่อเป็นการยืนยันว่าสมาชิกทุกคนได้รับข่าวสารครบถ้วนแล้วนั่นเอง                             
หมายเลขบันทึก: 116886เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท