ระกำหวาน>>>>>ผลไม้พื้นบ้าน


ระกำหวานๆๆๆครับ

วันนี้ผมจะนำเรื่องของระกำหวานมาเล่าให้กันนะครับ ก่อนอื่นๆคงต้องอธิบายเสียก่อนว่าระกำหวานมันเป็นอย่างไร

ระกำ

ข้อมูลพื้นฐานของระกำ 

ระกำเป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งมีต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเป็นทาง ยาวประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ออกผลเป็นทะลาย ทะลายหนึ่งมีตั้งแต่ 2-5 กระปุก เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ๆ อุ้มไปทางท้ายผล ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ

ระกำเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้ทั่วไปในที่ดอนและชุ่มชื้น ระกำเป็นพืชที่ชอบร่มเงาปกคลุม ดังนั้นชาวสวนจึงนิยม ปลูกพืชขนาดใหญ่อื่น ๆ ให้ร่มเงาแก่ระกำ ระกำจะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

สถานการณ์ของระกำหวานสำหรับจังหวัดตราด ซึ่งเป็นแหล่งปลุกที่สำคัญของประเทศไทย ในปัจจุบันนับว่าเข้าขั้นที่เรียกว่าวิกฤษหนัก สาเหตุเนื่องจากพื้นที่ปลูกที่ลดลงอย่างมาก เพราะโดยส่วนใหญ่ระกำหวานมักจะไม่มีการปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวมากนัก การปลูกระกำหวานจะมีการปลูกใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือปลูกเป็นแนวเขตแดน และปลูกแซมตามสวนผลไม้

สำหรับการปลูกเป็นแนวเขตแดน ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์คือการป้องกันมนุษย์และสัตว์บุกรุกเขตแดน โดยอาศัยคุณลักษณะของทางระกำที่เต็มไปด้วยหนามแหลม ป้องกันได้ทั้งวัว ควาย ที่จะเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรที่ปลูก แถวยังเป็นแนวกันไฟชั้นเยี่ยม เนื่องจากสภาพทางและต้นที่ค่อนข้างอวบน้ำ ทำให้ป้องกันหรือชะลอเวลาเกิดไฟไหม้ในสวนได้

สำหรับการปลูกแซมตามสวนผลไม้นั้นพบมากในสวนยางพาราเก่าๆ ซึ่งมีทั้งที่เกษตรกรตั้งใจปลูกและงอกเองภายในสวน ซึ่งเกษตรกรก็สามารถใช้ประโยชน์จากระกำได้อย่างหลากหลาย

การที่พื้นที่เพาะปลูกระกำลดลงไปอย่างมากมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกผลไม้ ทำให้ระกำซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่า หรือชายทุ่ง ถูกโค่น ไถ ทำลายลง และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ลดลงคือ พื้นที่สวนยางพาราขนาดใหญ่ที่ได้อายุครบตัด ถูกตัดลง ส่งผลให้มีการเผาทำลายต้นระกำไปด้วย เพื่อให้สะดวกเวลาตัดไม้และการปลูกใหม่ ซึ่งเมื่อเกษตรกรมีการปลูกใหม่ก็ไม่นิยมปลูกระกำเหมือนในอดีตเนื่องจาก ระกำมีมูลค่าทางเศรษฐกิจน้อย

ทำให้ในปัจจุบันระกำที่พบเห็นในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นระกำจากอำเภอบ่อไร่และกิ่งอำเภอเกาะกูด ซึ่งยังมีสภาพป่าสมบูรณ์อยู่มาก และมักจะเป็นระกำเปรี้ยวเนื่องจาก ชาวตราดมักนำระกำเปรี้ยวมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ส่วนระกำหวานนั้นหาซื้อได้ยากในท้องตลาด เพราะความนิยมในการบริโภคจะน้อยกว่าสละพันธุ์เนินวงค์และพันธุ์สุมาลี คือระกำมักมีเนื้อน้อย เมล็ดใหญ่ และหนามที่แข็งและคมกว่าสละ

แต่ในปัจจุบันนับว่ายังโชคดีที่ยังมีการจัดงานวันระกำหวาน ผลไม้และของดีเมืองตราดในทุกปี ทำให้ระกำหวานยังมีโอกาสออกมาเชิดหน้าชูตาต้อนรับนักท่องเที่ยวบ้าง ในช่วงเมษายน -มิถุนายน ของทุกปี

ผมเองก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตของระกำหวานจังหวัดตราด ยังจะดำเนินต่อไปยังไง หรือว่ามันจะกลายเป็นตำนานบทหนึ่งที่ยังจารึกไว้ในคำขวัญจังหวัดตราดเหมือนกับพลอยแดง  แต่ผมก็ยังหวังว่าระกำหวานจะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่จังหวัดตราดจะยังคงมีการปลูกเพื่ออนุรักษ์ไว้ ให้สมกับเป็นของดีของจังหวัดตราดต่อไป

หมายเลขบันทึก: 115691เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • สวัสดีครับ
  • ตามคุณกระเจี๊ยบหวานมาเยี่ยมเยียนครับ(ตามมาห่างๆ)
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแลกเปลี่ยน

ชอบมากที่สุดครับ ขอให้ระกำหวานอยู่ ต่อและขยายออกไปอีกนะครับ

ตามคุณเจี๊ยบด้วย แวะมา อิอิ ชอบปลูกระกำ เปรี้ยวจี๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท