การเขียนสร้างสรรค์ ตอนที่ ๑


เริ่มจากสร้างคำศัพท์ใหม่และนำไปใช้

          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท๒.๑ ทักษะการเขียน ได้กำหนดให้นักเรียนต้องเรียนเกี่ยวกับการเขียนอย่างเป็นกระบวนการ อันประกอบด้วย การเขียนสื่อสาร  การเขียนเรียงความ  การเขียนย่อความ  การเขียนรายงาน  และการเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ จนสามารถเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การสอนการเขียนจึงเป็นภาระงานที่สำคัญของครูภาษาไทยที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอจนเกิดความชำนาญในการเขียน  สามารถเขียนได้ดีและหลากหลายลักษณะ  ครูจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องใช้กลวิธีสอนที่น่าสนใจ  จูงใจให้นักเรียนหันมาใส่ใจในการเขียน  และฝึกฝนตนเองด้วยความพึงใจในภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติ

          แนวทางที่จะนำมาใช้ฝึกฝนให้นักเรียนสามารถเรียนรู้  เข้าใจและนำไปใช้เขียนเป็นความเรียงได้นั้นจะเริ่มจากการปูพื้นฐานด้วยการให้นักเรียนรู้จัก คำ  วลีหรือกลุ่มคำที่เราเรียกว่า "การสร้างคำศัพท์ใหม่"

         การสร้างคำศัพท์ใหม่ มีมากมายหลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าครูจะจัดหากิจกรรมใดมาเร้าใจให้นักเรียนได้ประสาทสัมผัสสิ่งเร้านั้น  ซึ่งการที่นักเรียนได้ใช้ตา หู  จมูก  ลิ้น  กายและใจ  ได้สัมผัสและบอกถึงความรุ้สึกออกมา  ก็จะได้คำศัพท์ใหม่มากมาย 

          สิ่งเร้ากับประสาทสัมผัสทำให้นักเรียนได้คำศัพท์อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 115357เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 04:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ผมเคยเล่นกับลูก โดยการนำคำต่างๆ มาเรียง แต่นิทาน นำนิทานหลายเรื่องมารวมกัน แล้วเล่าใหม่

จินตนาการ ต้องมีการฝึก สร้างบรรยายกาศและสิ่งแวดล้อม อาจช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้บ้างครับ

ขอบคุณท่าน 
P
ที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะในการเขียนสร้างสรรค์  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็ก ๆ ใช้เป็นสิ่งเร้าให้เด็กคิดสร้างสรรค์ได้  ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบจับสิ่งใดมาเร้าให้เด็กคิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท