ลุงพูน
นาย พูลสวัสดิ์ ฉันทธำรงศิริ

How many land a man require


หากนายหัวขายที่ดินบริเวณนี้ไป ผมก็คงไม่มีที่ทำสวนผัก

     บ่ายวันนี้ ไปแถวราไว หลังวัดสว่างอารมณ์ ไปหาผักบุ้ง เอามาหมักทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ที่ได้เรียนรู้เมื่อหลายวันก่อน

     ทฤษฎีนี้ ใช้ผักสดๆ ไม่ล้างน้ำ และต้องเก็บตอนเช้าๆ แต่บังเอิญว่าหากผมไปสวนผักตอนเช้าคงไม่เจอใคร เลยต้องแก้ตำรานิดหน่อย ถอนมาตอนเย็น ตั้งไว้ให้โดนน้ำค้างหรืออาจะเป็นน้ำฝนคืนนี้ พรุ่งนี้จึงค่อยเอาไปทำ

     สิ่งที่จะนำเสนอในบันทึกนี้ ไม่ใช่เรื่องการทำน้ำหมักจุลินทรีย์แบบ cosmic แต่จะบอกเล่าถึงเรื่องราวที่ได้พบมา ในตอนที่ไปขอซื้อผักบุ้งจากชาวสวน ซึ่งน่าสนใจกว่า

     ชาวสวนที่ปลูกผักขาย อพยพย้ายมาจากภาคอีสาน มาทำสวนผักบนที่ว่างเปล่า แถวหลังวัด เป็นที่ดินของ นายหัว ท่านหนึ่ง ซึ่งใจดีมาก ยอมให้ชาวสวนผู้นี้ปลูกผักในที่ดินของตนฟรีๆ ไม่คิดค่าเช่าที่ดิน สภาพของที่ดินบริเวณนั้น เรียกได้ว่า ดินทราย เพราะอยู่ชายทะเล เนื้อดินจะเป็นทรายมาก อินทรีย์วิถุในดินน้อย การปลูกผักจะต้องใส่ขี้ไก่และหรือขี้หมูลงไป พร้อมๆกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์

     ชาวสวนเคยทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ โดยได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของทางราชการ แต่เนื่องจากวัตถุดิบในการทำหาได้ยาก และต้องลงทุนในการผลิตปุ๋ย ประกอบกับทำสวนกันเพียงคนในครอบครัวสองสามคน เลยต้องซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาใช้

     ข้างๆสวนผัก รายล้อมไปด้วย บ้าน ที่กำลังก่อสร้าง โดยคนงานชาวพม่า บ้านที่สร้างส่วนใหญ่ให้ฝรั่งเช่า ฝรั่งที่มาท่องเที่ยวในจังหวัด หากมาอยุ่นานๆ จะเช้าบ้านอยู่ ซึ่งจะถูกกว่าพักตามโรงแรม

     ชาวสวนผู้นั้นเล่าให้ฟังว่า ที่ดินด้านหน้าสวนผัก นายหัว ก็ขายไปแล้ว แต่ตอนนี้เจ้าของคนใหม่ยังไม่มาทำประโยชน์ ผมก็ปลูกผักไปพลางๆ หากเจ้าของเข้ามาทำประโยชน์ สวนผักของผมก็จะหดลงเรื่อยๆ หากนายหัวขายที่ดินบริเวณนี้ไป ผมก็คงไม่มีที่ทำสวนผัก

     ผมได้รับฟังด้วยความระทมใจ ชาวสวนผู้นี้อพยพย้ายครอบครัวมาจากอีสาน หวังจะมาทำมาหากินในภาคใต้ หากมีที่ดินสักไร่ เขาก็พอมีที่ทางทำมาหากินได้ แต่ที่ดินในจังหวัดนี้ เหมือนจะปูด้วยทองคำ มีค่าทุกตารางนิ้ว

     ทำอย่างไร ให้ชาวสวนพอมีที่มีทางที่ใช้ทำมาหากินได้บ้าง โดยที่ นายหัว ไม่เดือดร้อน

คำสำคัญ (Tags): #ที่ดิน ชาวสวน
หมายเลขบันทึก: 115352เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์

...  อาจารย์จั่วหัวข้อ ทำให้ปูนึกถึงเพลง

... How many roads much a man walk down before you can call him a man ?

.... อย่างไรก็ตาม อ่านเรื่องอาจารย์แล้วตอบยากค่ะ

ที่ดินภูเก็ตก็ยังกะทองคำ อย่างท่านอาจารย์ว่าแหละค่ะ  ... 

เมื่อวานน้องลูกศิษย์เล่าให้ฟังว่า แกไปซื้อที่ดินแถวท้ายเหมือง ...  ต่อจากญาติๆ ซึ่งที่ดินตอนนี้ก็มีชาวบ้านปลูกถั่วอยู่ ...  ซึ่งน้องเค้าก็ยินดี คือตอนนี้ แกยังไม่คิดจะทำประโยชน์กับพื้นที่ตรงนั้น ก็ให้ชาวบ้านเขาได้ใช้ไปก่อน ....  แต่หากต่อไป มีโครงการจะทำอะไร ก็ค่อยว่ากันอีกที

...  เพราะแถวท้ายเหมือง ยังไม่เป็นพื้นที่ทำเงิน เช่นที่ภูเก็ตมังคะ  ... 

...  หากแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ทางรัฐต้องใช้กฏหมาย เข้าควบคุม จำนวนพื้นที่การครอบครอง แต่ ก็นั่นล่ะคะ  ....  จะได้มากน้อยแค่ไหน ....  

สวัสดีครับคุณปู

     หลังจากลาดตระเวณข้ามน้ำข้ามทะเล แล้วก็กลับมาสวน

     เรื่องที่ดินทำกินนี่ก็พูดลำบากครับ

     การใช้ที่ดินต้องใช้ให้ถูกกับลักษณะทางเศรษฐกิจ

     การใช้ที่ดินต้องให้ถูกกับความสามารถในการผลิต (productivity) ของที่ดินผืนนั้นๆ

     หากรู้จักเลือกให้ถูกแล้วความเหมาะสมย่อมเกิดขึ้นได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท