บันทึกนี้ผมจะเล่าถึง การละเล่นของภาคเหนือก่อน หรือจะพาไปแอ่วเหนือก่อนก็แล้วกันนะครับ ในภาคเหนือ
|
ภูมิประเทศเป็นป่าเขา
ต้นน้ำลำธาร
อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
การทำมาหากินสะดวกสบาย
ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน
ยิ้มแย้มแจ่มใส
มีน้ำใจไมตรี
การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย
งดงามและอ่อนหวาน
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า
ฟ้อน
มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่
ร่ายรำท่าเหมือนกัน
แต่งกายเหมือนกัน
มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง
ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง
ได้แก่
ลีลาการเคลื่อนไหว
เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาคเครื่องแต่งกาย
เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น
ๆเครื่องดนตรี
เป็นของท้องถิ่น
ได้แก่
ปี่แน
กลองตะโล้ดโป๊ด
ฉาบใหญ่
ฆ้องโหม่ง
ฆ้องหุ่ยเพลงบรรเลงและเพลงร้อง
เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่นการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ได้แก่
ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง
ฟ้อนลาวแพน
ฟ้อนรัก
ฟ้อนเงี้ยว
ฟ้อนดวงเดือน
ฟ้อนดวงดอกไม้
ฟ้อนวี ระบำเก็บใบชา ฟ้อนนารีล้านนา ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนจ้อง ฟ้อนสาวไหม
ฟ้อนไต ฟ้อนผาง ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำซอ ฟ้อนลื้อล่องน่าน ระบำม้ง
ระบำช้อนขวัญ ระบำแห่ดอกไม้ ฟ้อนตะคัน ระบำตุ๊บเก่ง
ระบำแม่นางก้านหญ้าฯลฯ
มีอีกมากมายครับ ไม่สามารถจะกล่าวในบันทึกนี้ได้หมด
เพราะมีการแสดงเกิดขึ้นใหม่อีกหลายชุด
โดยจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ
ไว้ในโอกาสหน้ากระผมจะนำรายละเอียดของการแสดงแต่ละชุดมาเล่าในบันทึกต่อๆไป
![]() |
|
![]() |
![]() |
คำสำคัญ (Tags)#การละเล่นพื้นเมือง#ระบำ#รำ#ฟ้อน#สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน#บัวชูฝัก#การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ#เศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง#เซิ้ง#โรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง
หมายเลขบันทึก: 115355, เขียน: 28 Jul 2007 @ 20:43 (), แก้ไข: 06 Sep 2013 @ 18:12 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 15, อ่าน: คลิก