บทเรียนจากความล้มเหลวของกิจกรรม KM “CoP วิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้าน”


จากนโยบายของท่านคณบดีที่สนับสนุนให้คณะฯมีกิจกรรม KM เกิดขึ้น ทั้ง KM ที่เป็นแบบธรรมชาติและที่เป็นแบบทางการ

 “CoP วิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้านได้ดำเนินกิจกรรมมาเป็นเวลา 5 เดือน (เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน กรกฏาคม 2550

วัตถุประสงค์หลักของ CoP คือเพื่อเพิ่มอัตราการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนที่ได้รับทุนจากคณะแพทยศาสตร์และสำเร็จการศึกษาไปแล้ว

ข้อมูลก่อนการดำเนินกิจกรรม มีงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านที่ทำแล้วเสร็จแต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์จำนวนมาก (ดูรายละเอียดที่นี่) 

CoP มีการดำเนินกิจกรรม โดยการประชุมกลุ่ม 4 ครั้ง มีการนำเสนอ best practice 2 ครั้ง มีการสำรวจความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ครั้ง  มีการอบรมเรื่องการเขียน manuscript 2 ครั้ง มีการจัดทำ blog และมีบันทึกใน blog จำนวน 6 บันทึก 

ข้อมูลหลังการดำเนินกิจกรรม
หากประเมินผลกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กิจกรรมในครั้งนี้เรียกว่าไม่ประสบความสำเร็จตามที่กำหนด คือไม่สามารถเพิ่มจำนวนงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ได้ หากมองเฉพาะกระบวนการของ KM ก็ยังไม่สามารถช่วยให้ภาควิชาต่างๆ เข้าใจ concept ของการแลกเปลี่ยน best practice ที่มีอยู่หรือสามารถนำไปต่อยอดได้ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าการทำกิจกรรมของ CoP เป็นกิจกรรมที่เป็นทางการเพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะที่เป็น KM ตามธรรมชาติ 

ผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา มีข้อสังเกตบางประเด็นที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนคือ 

  1. ผู้ร่วมกิจกรรมไม่สนใจเรื่องปัญหาของฝ่ายวิจัยในประเด็นการตีพิมพ์ อาจเป็นไปได้ว่าผลงานวิจัยดังกล่าวไม่ได้ประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษามากนัก ไม่คุ้มกับเวลาที่จะเสียไป
  2. ผู้ร่วมกิจกรรมไม่สนใจเรื่องกระบวนการของ KM ดังนั้นจึงพบว่าการแลกเปลี่ยนในระหว่างการประชุมกลุ่ม หรือในบล็อกมีน้อยมาก การสื่อสารผ่านบล็อกจึงไม่ได้ประโยชน์ที่เท่าควร
  3. ความยั่งยืนของ CoP คงจะเป็นไปได้ยากเพราะขาดการเสริมพลังของ KM ที่เป็นแบบธรรมชาติและ KM ที่เป็นแบบทางการ


ข้อเสนอแนะ
1.     ฝ่ายวิจัยคงจะต้องเข้มงวดเรื่องการพิจารณาทุน การติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ และการส่งรายงาน (เป็น manuscript)ก่อนนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา
2.     ฝ่ายวิจัยอาจต้องวิเคราะห์จำนวนเงินทุนที่จัดสรรให้ไปในแต่ละภาควิชา ว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมกับผลงานที่ได้หรือไม่ หรืออาจต้องลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย เพื่อวางแผนในการจัดสรรทุนต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 114734เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท