อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (๒)


6. โครงการ อบรมความรู้เรื่องสมุนไพร

รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ความรู้ ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ในเรื่องของ

สมุนไพรโดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร และผู้สนใจโดยทั่วไป

7. โครงการ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

เป็นโครงการออกใบรับรองให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบตามระเบียบทางมูลนิธิฯ โดยจะออกเป็นเอกสาร และอนุญาตให้นำตราสัญลักษณ์ไปใช้เพื่อการตลาดได้

8. โครงการ วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างพลังงานทดแทน

วิจัยเชิงปฏิบัติการในส่วนของการศึกษา เพื่อหาผลผลิตของเกษตรกร และทรัพยากรที่มี

อยู่ในประเทศมาพัฒนาคุณภาพให้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือพลังงานปิโตรเลียมซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายแสนล้านบาท เช่น น้ำมันไบโอดีเซล จากปาล์ม มะพร้าว ก๊าซหุงต้มจากมูลสัตว์ เป็นต้น เป็นการช่วยเกษตรกรอีกทางหนึ่ง เพราะจะทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นรายจ่ายลดลงลดการนำเงินตราออกนอกประเทศ เศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น

9. โครงการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

รณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกและช่วยดำเนินการแก้ไขพื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างมี

ประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ เช่นการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ลุ่มน้ำไม่ให้เสื่อมโทรมไปมากกว่าปัจจุบัน อีกทั้งปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลต่าง โดยรณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปให้มีการตื่นตัวในการแก้ปัญหามลพิษการทำจุลินทรีย์สำหรับบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายขยะที่จะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์เชื้อโรค

10. โครงการ ห้องเรียนเกษตรกรรมกลางแจ้ง

มุ่งสร้างจิตสำนึก สร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางความคิดในการทำการ

เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ การพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยเปิดอบรมหลักสูตรต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรร่วมกับสถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง

11. โครงการ เกษตรธรรมชาติชุมชนเข้มแข็ง

ส่งเสริมให้ชุมชนมีความสามัคคี รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหรือสหกรณ์ มีการปลูกพืชพัก

พืชไร่ พืชสวน โดยการทำเกษตรแบบธรรมชาติ และดำเนินการจัดหาตลาดรับซื้อผลผลิตเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ชุมชน

12. โครงการ คืนชีวิตให้แผ่นดิน

รณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปทราบถึงปัญหาและ

ผลกระทบอันเนื่องมาจากภาคเกษตรกรรม รณรงค์ให้เกษตรกร ลด ละ เลิกการใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษทางการเกษตรส่งเสริมในเรื่องของแนวพระราชดำรัส ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงให้สามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืน และท้ายที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่บนผืนแผ่นดินไทย

จะเห็นว่าโครงการต่าง ของอาจารย์น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่าง

มากมาย หากองค์กรใดหน่วยงานใดหรือผู้สนใจท่านใดอยากจะเข้าร่วมโครงการหรือสนใจเยี่ยมชมงานของอาจารย์ ทางอาจารย์ก็มีความยินดีอย่างยิ่งเมื่อทราบถึงกิจกรรมโครงการและงานที่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติทำแล้ว มาดูตัวอย่างของการทำงานและแนวคิดในการทำงานของอาจารย์ว่ามีอย่างไร ซึ่งได้ขออนุญาตจากอาจารย์นำเอาคำบรรยายชีวิตและการทำงานของอาจารย์ที่บรรยายให้เกษตรกรอำเภอภูหลวงจังหวัดเลย เมื่อวันที่ 19 เดือนมีนาคม 2545 สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บ้านนาดอกไม้ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มาให้ทราบดังนี้

การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจแบบค้าขาย ต่างกันตรงไหน มีความสัมพันธ์ในทางสร้างสรรค์กันอย่างไร เศรษฐกิจแบบค้าขาย ทำให้ประเทศไทยพึ่งตนเองไม่ได้และเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี .. 2540 เริ่มจากการตั้งคำถามว่าถ้าเศรษฐกิจแบบค้าขายไม่ประสบผลสำเร็จหรือว่าล่มลง ส่งผลกระทบทั้งประเทศ รัฐบาลจะเก็บภาษีจากใครถ้าธุรกิจยังร่อแร่อย่างนี้ ข้าราชการจะเอาเงินเดือนจากที่ไหน ผมบอกครูที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าซึ่งผมเป็นประธานกรรมการโรงเรียนอยู่ ว่า เราต้องชัดในเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตรัสว่าหายนะให้ระวัง รัฐบาลอาจจะบอกว่าจะจ่ายเงินเดือนครึ่งหนึ่ง อีก 10% จะจ่ายเป็นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ อีกส่วนจ่ายเป็นข้าวสารที่เหลือขอค้างไว้ก่อนถือว่าข้าราชการเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล อันนี้คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วสมัยรัชกาลที่ 7 เรื่องนี้กำลังจะเกิดแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ถ้าเป็นอย่างนี้ชาติไปไม่รอดหรอก ที่กังวลมากที่สุดคือคน 40 กว่าล้านคน ที่เป็นเกษตรกร

เดิมเคยพึ่งตนเองได้ 100 % ที่เคยเล่าให้ฟังว่าปลูกข้าวบนนาไทย ใช้ควายไทยไถนา หัวหมู คันไถ คราดทำเองหมด ไถเอง เสร็จแล้วควายขี้ออกมาลงดิน เป็นปุ๋ยไทย 10 ตันต่อปี เกี่ยวด้วยคนไทยเอาไปนวดด้วยควายไทย ขนด้วยเกวียนไทย เอาไปสีเครื่องก็ไทย (ตำกินเอง) ใส่กระบุงไทยสานเองเอาไปใส่ยุ้งไทยก็ทำเอง เอาไปใส่หม้อหุงข้าวไทย เอาเตาไทย เอาฟืนไทย เอาถ่านไทยหุง เสร็จแล้วเอาไปใส่จานไทยเอาช้อนไทย ตักใส่ปากคนไทย เพราะฉะนั้นข้าวเป็นข้าวไทย 100% แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ นี่คือรูปธรรมที่ชัดเจนใช่หรือเปล่า ตอนที่เอาไถไปไถ ใช้คูโบต้าเป็นควาย ญี่ปุ่น แล้วกินหญ้าที่ซื้อมาจากทะเลทรายซาอุ (น้ำมัน) ในปีหนึ่ง แต่ละบ้าน สำรวจหรือยังว่าใช้มันไปเท่าไหร่ กับควายเหล็กกับม้าเหล็กแล้วน้ำมันก็กำลังจะหมดโลก แม้กระทั่งเกี่ยวออกมาฝัด ขนออกมาค่าจ้างขน สารพัดเมื่อต้นหญ้าขึ้นมาแซม ก็ไปซื้อขยะจากโรงกลั่นน้ำมัน (สารเคมีกำจัดหญ้า) ฉีดกำจัด ตัวเราก็ไม่มีปัญญากำจัดใช่หรือเปล่า เลยพึ่งฝรั่ง เราจะทำอะไรได้ด้วยตนเอง ทุกวันนี้ปลูกอะไรพึ่งตนเองไม่ได้แล้ว คนรุ่u3609 .พ่อแม่เราย้อนหลังไป 40 ปี 50 ปี ที่ทำได้เอง 100% แต่ทุกวันนี้ลดลงไปจะเหลือสักเท่าไหร่ประมาณ 5% ที่ทำได้เอง พึ่งตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯตรัสว่าถ้าพอเพียงแบบ 100% เลยจะกลับไปอยู่แบบปู่ ย่า ตายายหรืออยู่ในป่าจะต้องไปนุ่งใบไม้ ไปอยู่ในถ้ำไปทอผ้าเองก็คงจะลำบาก ก็ขอให้พึ่งตนเองให้ได้ซัก 1 ใน 4 ครึ่งหนึ่งก็ไม่จำเป็น อีก 75% ก็ค้าขายไปเหมือนเดิม แต่ต้องตั้งคำถามในใจว่า 1 ใน 4 เราจะทำอะไรได้เองบ้าง พระองค์ท่านตรัสว่าไม่ต้องทำทีเดียวทั้งหมดถ้าแบ่งเป็น 4 ส่วน พึ่งตนเองให้ได้ 1 ส่วนก็เพียงพอแล้ว เพียงทำให้ได้ 1 ใน 4 คนไทยก็พ้นหายนะแล้ว ถ้าจะอยู่อย่างพอเพียงจะทำอย่างไร จะเริ่มต้นจากอะไร บางคนจะเริ่มต้นจากขุดสระเลี้ยงปลา จะเอาเงินจากที่ไหนไปขุดสระ กลับไปบ้านไปขุดสระบ้านละ 1 ไร่ ครึ่งไร่ งานเดียวแล้วไปหาปลามาเลี้ยง จะทำได้ไม่ง่ายต้องเริ่มทีละหนึ่งก้าวจะทำอย่างไร ก้าวแรกต้องสำรวจทำแผนชุมชนออกมาว่าปีหนึ่งมีอะไรที่เราทำเองได้บ้าง ถ้าจะเอาชนะ เราต้องทราบว่า ยุทธศาสตร์อยู่ตรงไหน?” เราจะหยุดความหายะก้าวแรกต้องทำให้ถูกจุด

ต้องรู้อะไรที่เป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด ยาฆ่าหญ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ยเคมี และค่าฉีดยา รวมเบ็ดเสร็จเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด ถ้าเริ่มต้นนับหนึ่งจากการเก็บหญ้า เอาไว้เปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยแล้วหมักปุ๋ยใช้เองอันนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ก้าวที่หนึ่ง ถ้าเราหมักมะนัวร์ทำเป็นปุ๋ย แล้วเอามะนัวร์แปลงเป็นยาฆ่าหญ้า7 วันหญ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นปุ๋ยย่อยหมด แต่อย่าพึ่งเชื่อจะทำให้ดู แล้วมันเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่อย่างไรจำได้ไหมที่พระองค์ท่านรับสั่งว่า วิธีคิด มีอยู่ 3 คำ ภาษาไทย 2 คำ คือคำว่า พอเพียง กับ พึ่งตนเองภาษาอังกฤษ 1 คำคือ คำว่า sufficiency ท่านไปเปิดในตำราเศรษฐศาสตร์ทุกเล่ม ทั้งตำราไทย ตำราฝรั่ง เกี่ยวกับ เศรษฐกิจการค้า หรือ Trade Economy ไม่มีเลย ในทฤษฎีเก่า ในตำราเก่าไม่เคยสอน

กันอย่างนี้ สอนแต่ว่าเพื่อให้เกิดมีประสิทธิภาพใครถนัดอะไรให้ทำอย่างนั้น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนจะถูกเพราะทำซ้ำ จนเกิดความชำนาญ พอชำนาญแล้วจะทำเร็วขึ้น ของเสียก็จะน้อยลงต้นทุนก็จะต่ำลง ทรัพยากรก็จะสูญเสียจากการผลิตน้อยลง จนเกิดประสิทธิภาพของการผลิตทำได้ดีขึ้น ต้นทุนต่ำ เมื่อนำไปขายจะประหยัดทรัพยากรของโลก ซึ่ง นายอดัม สมิธ อธิบายไว้ เพราะฉะนั้น การที่เราจะทำแต่เพียงอย่างเดียวเช่นปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียวให้เก่ง คนไทยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกข้าวของโลก นี่คือความชำนาญที่นายสมิธ สอนความชำนาญจะเกิดประสิทธิภาพการผลิตจะเร็วทำได้เยอะ ถ้าเราทำรถยนต์คนเดียวทั้งคัน ทำล้อ ทำยางดุมล้อ เครื่องยนต์ ไฟ มันจะไม่ชำนาญ บริษัทที่ทำยางอย่างเดียวแบ่งงานกันไปทำ เป็นวิธีคิดของระบบอุตสาหกรรม แต่ท้องนาบ้านu3648 .รามันไม่ใช่ เวลามีการแลกเปลี่ยนแพ้เขาทุกที ทฤษฎีนี้เมืองไทยตายแน่ เราต้องมีกินต้องพึ่งตนเองให้ได้ ถามว่าทำอย่างไร อันนี้ยาก แต่ละคนจะปลูกอะไร ราคาจะเท่าไร ต้นทุนจะได้ต่ำ ขายแล้วจะเหลือกำไรเท่าไหร่ ก็คือจะเอาเงินเหมือนเดิม นี่เป็นวิธีคิดเชิงการค้าที่ท่านคิดกัน แบ่งกลุ่มคิด คิดแต่จะค้าขายเหมือนเดิม ถ้าท่านปลูกส้มกันทั้งหมู่บ้านแล้วพ่อค้าเข้ามาเลือก สวยเอาไม่สวยไม่เอา เสร็จไหม ส้มราคา 2 บาทต่อกิโลกรัม คนปลูกส้มจะอยู่ได้หรือ ต้นทุนปลูกส้ม 7.5 บาท/กิโลกรัม ราคาส้ม10 บาทก็แย่แล้ว ยิ่งอยู่ไกลค่าขนส่งก็สูงไปอีก ท้ายสุดขาดทุนเหมือนเดิม นี่เป็นวิธีคิดแบบทฤษฎีเก่าแล้วเราจะทำอะไรกิน ปลูกส้มก็ไม่ได้ ปลูกลูกเดือยก็ไม่ได้ผมขอนำเสนอวิธีคิดก่อนยังไม่ลงถึงวิธีทำ ก้าวแรกจะเดินอย่างไร ก้าวที่สองจะเดินอย่างไรก้าวที่สาม ก้าวที่สี่ จะเดินอย่างไร เราจะทำอะไรสำเร็จต้อง หนึ่งคิดเป็น สองทำเป็นมีเทคนิคในการทำแล้วสามจัดการเป็น และสี่มีทุน 4 อย่างหลัก คิดเป็นคิดอย่างไรลองคิดว่า ถ้าจะดำรงชีวิตในหนึ่งครอบครัวจะดำรงชีวิตอย่างไร แล้วจะเอาทั้งหมู่บ้านสองหมู่บ้านจะเริ่มต้นอย่างไร ผมก็คิดของผมง่ายๆ บนหลักการ 4 เรื่องนี้ ผมเล่าประสบการณ์ของผมให้ฟังก่อน ผมลาออกจากราชการผมมีบำนาญให้ภรรยา และบุตร ผมเดินลงไปในท้องนาในบ้านเกิด เอาเล้าหมูเป็นที่พัก อาหารอาศัยพี่ชาย เรียกว่ามีที่พิงหลัง ช่วง 4 เดือนแรกปลูกข้าว วิธีคิดของผม รู้ว่าต้องดึงลงสุด อย่างนี้เลือกที่ดินที่เลวที่สุดไม่ต้องการเป็นชาวนาอย่างเดียว ผมต้องการกระตุ้นผู้คนทั้งในสังคมไทยให้หันมาดูว่าคนอย่างนี้โอกาสการทำงานก็ดี อนาคตก็มี แต่ทำไมถึงลาออกมาเป็นชาวนา การที่จะกระตุกสังคมให้แรงโดยไม่มีทุนะทำอย่างไร แถมมีหนี้สิน (แต่เป็นหนี้ผ่อนบ้าน) วิธีคิดของผมคิดง่าย ผมเริ่มต้นว่าจะกินยังไงวันละ 3 มื้อกินข้าวกินกับข้าวกินขนมกินผลไม้ยังไง ผมยังอยากกินทั้ง 4 ส่วนทำอย่างไรจะมีกิน มีแรงทำนา ทำผัก ทำสวนสมุนไพร ทำบ่อปลา เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่วันหนึ่งสถานที่นี้ต้องเป็นที่ที่ให้คนทั้งประเทศได้มาศึกษาดูงาน

หมายเลขบันทึก: 114640เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 05:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท