HAและมาตรฐานHA


มาตรฐานHA

งานคุณภาพของโรงพยาบาลคือต้องผ่านการประเมินHAซึ่งมี3ขั้น การพิจารณาHAต้องมีมาตรฐานต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรพ.หรือศูนย์สุขภาพชุมชนต่างก็ต้องทำงานคุณภาพ เป้าหมายคือต้องการให้ผู้รับบริการทุกคนไว้วางใจว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน งานคุณภาพต้องยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง " งานคุณภาพไม่ได้เกิดขึ้นได้ตามยถากรรม" 

           มาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา: บูรณาการภาพรวมระดับโรงพยาบาลนี้ แบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ, หมวดที่ 2 ทรัพยากรและการจัดการทรัพยากร,    หมวดที่ 3 กระบวนการคุณภาพ, หมวดที่ 4 การรักษามาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ, หมวดที่ 5 สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร,         หมวดที่ 6 การดูแลรักษาผู้ป่วย               ตารางข้างท้ายได้แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานในแต่ละบทได้มาจากส่วนใดของมาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก  และทีมประเภทใดควรจะมีบทบาทหลักในการประเมินและพัฒนาตามมาตรฐานแต่ละบท  ทั้งนี้พึงตระหนักว่าตารางนี้เป็นเพียงแนวทางสำหรับเริ่มต้นเท่านั้น                 หัวใจสำคัญของการพัฒนาตามข้อกำหนดในมาตรฐานคือการวิเคราะห์หาจุดอ่อนในระบบที่เป็นอยู่ และดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  วิธีการง่ายๆ ในการใช้มาตรฐานนี้ ได้แก่                                                         1. วิเคราะห์หาจุดอ่อนในระบบที่เป็นอยู่  คือการที่ทีมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแต่ละบทมาร่วมพิจารณามาตรฐานและเกณฑ์พิจารณา ว่าประเด็นใดคือสิ่งที่โรงพยาบาลทำได้ดีแล้ว  ประเด็นใดยังเป็นจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น  แยกแยะออกเป็นประเด็นที่ต้องปรับปรุงซึ่งสามารถทำได้ง่าย และประเด็นที่ต้องปรับปรุงซึ่งมีความซับซ้อนหรือยากลำบาก  กำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อปรับปรุงและทีมงานหรือบุคคลผู้รับผิดชอบ  ในช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายหรือประโยชน์ของข้อกำหนดในมาตรฐานด้วย  มีข้อเตือนใจว่าไม่ควรจะทำไปโดยปราศจากความเข้าใจในความมุ่งหมายหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น                                               2. ดำเนินการปรับปรุงหรือจัดวางระบบใหม่  โดยเลือกจากประเด็นที่สามารถทำได้ง่ายมาดำเนินการก่อน                 3. ทบทวนมาตรฐานและเกณฑ์พิจารณาเป็นระยะ เพื่อดูความก้าวหน้าในการปรับปรุง และหาโอกาสที่จะทำให้ดีขึ้น เป็นระบบมากขึ้น[1] เชื่อมโยงประสานกันได้ดีขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น ใช้นวตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนขึ้น  การทบทวนในช่วงแรกอาจจะถี่ทุก  2-3 เดือน  เมื่อเกิดความเข้าใจและมีแผนการปรับปรุงที่ชัดเจนแล้วก็จะเป็นการทบทวนตามแผนต่อไป                           4. จัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างสั้นๆ และง่ายต่อการนำไปใช้เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะธำรงระบบงานที่ปรับปรุงหรือจัดวางขึ้นใหม่นั้นได้ตลอดไป               การใช้ถ้อยคำบางคำในเอกสารนี้อาจจะแตกต่างไปจากถ้อยคำในมาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญานาภิเษก เพื่อลดความสับสนและเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น โดยความหมายมิได้เปลี่ยนไป เช่น ใช้คำว่า ความมุ่งหมายหรือเจตจำนง (purpose statement) แทนคำว่า พันธกิจ ในระดับหน่วยงาน (GEN.1.1), ใช้คำว่า เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ แทน เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (GEN.1.2), ใช้คำว่า การบริหารการพยาบาล แทนคำว่า องค์กรพยาบาล               เกณฑ์พิจารณาที่อยู่ในเอกสารนี้เป็นเพียงแนวทางเพื่อให้เห็นรูปธรรมของการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น  โรงพยาบาลควรจะเลือกและปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์   โดยยึดหลักสำคัญคือ (1) ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล รวมทั้งได้รับการพิทักษ์สิทธิและศักดิ์ศรี  (2) การที่สมาชิกของทีมทำงานด้วยใจ ร่วมใจกันทำ ทำด้วยใจที่มุ่งมั่น ทำด้วยความเข้าใจ  (3) การมุ่งออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามนโยบายหรือจุดยืนของโรงพยาบาลในแต่ละเรื่อง  หากปราศจากหลัก 3 ประการนี้แล้ว การนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติจะเป็นการปฏิบัติอย่างแกนๆ ไม่มีชีวิตชีวา และไม่เกิดประโยชน์



[1] คำว่าระบบอาจหมายถึง 1) ความต่อเนื่องของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกัน 2) การเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกับเป็นองค์รวมที่มีความซับซ้อน 3) ความสมบูรณ์ของการมีปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และระบบสะท้อนกลับ

คำสำคัญ (Tags): #งานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 114635เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 04:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราต้องทำงานอย่างมีฝีมือและเป็นมืออาชีพ ด้วยนะครับ เพราะว่า " งานคุณภาพไม่ได้เกิดขึ้นได้ตามยถากรรม"

  • เอาใจช่วยในการทำงานคุณภาพครับ

เพิ่งเริ่มเรียนรู้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท