เก็บสาระจากวงสนทนา KM


“ทักษะ KM คืออะไร” อาจารย์วิจารณ์อธิบายว่าหัวใจลึกๆ คือการคิดเข้าสู่การกระทำ – Action thinking

เมื่อบ่ายวานนี้มีกิจกรรมพิเศษ คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ในฐานะนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพา ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่รู้เรื่อง KM และผู้ที่รู้เรื่องงานของหัวหน้าพยาบาลดี มาร่วมสนทนากลุ่มเพื่อให้ความเห็นต่อแผนขั้นตอนและกิจกรรมในงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของคุณไพฑูรย์ เรื่องการพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการชื่นชมความสำเร็จ สำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลในสังกัดภาครัฐ

ผู้เข้าประชุม อาทิเช่น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด คุณธวัช หมัดเต๊ะ คุณอ้อ วรรณา เลิศวิจิตรจรัส ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ ครูใหม่ วิมลศรี อาจารย์นวลขนิษฐ์ จากสำนักการพยาบาล หัวหน้าห้องผ่าตัด รพ.ราชวิถี รวมแล้วประมาณ  ๑๒ คน

ก่อนหน้านี้คุณไพฑูรย์ส่งเอกสารจำนวนหลายสิบหน้ามาให้ทาง e-mail ดิฉันอ่านดูคร่าวๆ เพื่อจับประเด็นมาก่อนแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่าจะให้ทำอะไร เมื่อเริ่มประชุมคุณไพฑูรย์ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการ ขั้นตอนต่างๆ ที่ทำเป็นไดอะแกรมมาอย่างละเอียดถึง ๔-๕ หน้า รวมทั้งรายละเอียดของกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน แต่ละสัปดาห์อีกนับสิบๆ หน้า

เดิมดิฉันเข้าใจว่าข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากที่คุณไพฑูรย์ดำเนินการมาแล้ว ผู้ร่วมวงสนทนาซักถามกันอยู่หลายคนหลายรอบกว่าจะรู้ว่าเป็นแผนที่คิดขึ้นมาจากข้อมูลที่ไปสัมภาษณ์หัวหน้าพยาบาลบางส่วนร่วมกับความรู้เชิงทฤษฎีที่ทบทวนมา เมื่อรู้ดังนี้จึงช่วยกันให้ความคิดเห็นได้

วงสนทนาทำความเข้าใจกับเรื่อง AI แล้วจึงให้ข้อเสนอแนะต่อขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ ที่ควรจะดำเนินการดังนี้
๑. ให้สร้างบรรยากาศ อาจารย์วิจารณ์บอกว่า “บรรยากาศเล่นๆ แบบเอาจริง”
๒. ให้ปลดล็อคเรื่องเวลา จากที่กำหนดไว้เดิมว่าสัปดาห์ที่เท่าไหร่ทำอะไรนั้นให้ปลดเสีย อาจารย์วิจารณ์อธิบายว่าการใช้ AI เพื่อกระตุ้น creativity อาศัยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ รู้สึกสบายๆ แต่ถูกกระตุ้นด้วย determination ความเร่งรีบและเวลาอันสั้นเป็น artificial ความคิดสร้างสรรค์ตามธรรมชาติจะไม่ออก
๓. จัดกิจกรรมให้อยู่ในงานประจำ ไม่ใช่นอกเวลา
๔. อาจารย์วิจารณ์เสนอให้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากหัวหน้าหอผู้ป่วยทีละคน อย่าเอามา group รวมกัน ดูว่าคนไหนสร้างความรู้ได้ไม่ได้ เพราะอะไร ผลจะไม่มี negative result แล้วจับมาคุยกัน คนเร็วจะ influence คนช้า
๕. ดิฉันเสนอให้เขียนแผนเป็นกรอบกว้างๆ ครูใหม่สนับสนุนและเสริมว่าให้คลุมเวลาไว้กว้างๆ ด้วย ปล่อยให้ไหลตามสภาพความเป็นจริง พร้อมยกตัวอย่างการทำแผนของครูที่โรงเรียน

ข้อสังเกตของอาจารย์ประพนธ์ และอาจารย์ยุวนุช น่าสนใจมาก อาจารย์ประพนธ์ยังรู้สึกไม่ชัดเจนนักว่าการสร้างความรู้ที่ว่านี้ เป็น tacit หรือ explicit ส่วนอาจารย์ยุวนุชสงสัยว่างานที่ทำ “มองหาโอกาสที่ AI จะเกิดหรือความรู้ที่จะเกิดกันแน่” ดิฉันมีความเห็นว่าคำถามของอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องตอบให้ชัดๆ

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการนั้น วงสนทนาเสนอให้เอามาจากข้อมูลเชิงคุณภาพของ participants แต่ละคน โดยอาจวิเคราะห์แบบ content analysis ส่วนที่คุณไพฑูรย์ได้รวมรวบไว้แล้วจำนวนหลายปัจจัยนั้น อาจารย์วิจารณ์เสนอให้เอาไว้ “ชำเลืองดู” ว่าตัวไหนเด่น ตัวไหนไม่เด่น หรือต่อไปอาจรวมเข้าด้วยกันให้เหลือจำนวนน้อยลง

เราสามารถจบการสนทนาได้ภายในเวลา ๑๖ น.มีเวลาเหลืออาจารย์วิจารณ์ขอให้คุณไพฑูรย์เล่าว่าได้ไปเห็นพลังของ AI มาอย่างไรบ้าง รวมทั้งประสบการณ์การจัด workshop มีการยกปัญหาที่พบ เช่น คนไม่ตั้งคำถาม ล้ำเส้นกัน

อาจารย์วิจารณ์อธิบายว่าเพราะชินกับการประชุมแบบ discussion สังคมไทยโดยเฉพาะชาวบ้านชินกับ dialogue และการเล่าเรื่อง ถ้าเป็นแบบนี้จะไม่ชนกัน จะทำให้ความเข้าใจชัดเจนขึ้น การเล่าเรื่องของจริงจะเล่าในบริบทของแต่ละคน ไม่ต้องเถียงกัน

เวลาแลกเปลี่ยนกัน คนนั่งฟัง ทำความเข้าใจ เมื่อวิญญาณ KM เข้าสิงได้ที่ จะต้องโยงเข้ากับสิ่งที่ตัวเองทำ จึงจะ productive แต่คนส่วนใหญ่เป้าหมายการมาประชุมลอยๆ จิตที่มาคนละ mode

ต่อคำถามที่ว่า “ทักษะ KM คืออะไร” อาจารย์วิจารณ์อธิบายว่าหัวใจลึกๆ คือการคิดเข้าสู่การกระทำ – Action thinking

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 114050เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2007 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ ที่บันทึกมาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท