ตัวชี้วัดความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 2


ตัวชี้วัด สังคมแห่งการเรียนรู้

เรียน ชาวบล็อกและผู้สนใจทุกท่าน

            เมื่อบล็อกที่แล้วได้เชิญชวนให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ตัวชี้วัดสังคมแห่งการเรียนรู้ ว่าน่าจะมีอะไรบ้าง" แต่ไม่ค่อยมีคนสนใจ อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยก็เป็นได้ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของชาวบล็อกท่านหนึ่งที่ได้กรุณาเสนอแนะมาว่า "การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้น่าจะมีการสร้างค่านิยมหรือวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานร่วมกันและปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานร่วมกัน" จึงขอเชิญชวนพวกเราชาวบล็อกที่จะเป็นคนกลุ่มแรกๆที่จะมาร่วมกันดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว

             วันนี้ผู้เขียนขอเสนอ "ตัวชี้วัด" ที่บ่งบอกถึงความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  7 ข้อ ได้แก่  1. ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย   2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน/ประชาชน   3. องค์ความรู้ใหม่ในชุมชน  4. การพัฒนา/ขยายตัว/ความหลากหลายของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  5.การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนา/แก้ปัญหา  6.อัตราการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้  7.การเกิดนักนวัตกรรม นักจัดการความรู้/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง   ...............จึงขอเชิญชวนชาวบล็อกได้ร่วมแสดงข้อคิดเห็นต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อนำไปใช้ในการประเมินความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ขององค์กรหรือหน่วยงานของตน

หมายเลขบันทึก: 11394เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ความจริงเราต้องเข้าใจก่อนว่า  กศน.มีภาระกิจในการดำเนินการอะไร อย่างไร เช่น ถ้าเรายังเข้าใจในบทบาทของตัวเอง ว่า จัดการศึกษา เฉพาะ การศึกษา แบบ ขั้นพื้นฐาน อยู่ และกลุ่มเป้าหมายก็เป็น แค่ ผู้พลาดโอกาส เช่นนี้  กศน.เพื่อนเรียนรู้ ก็ดูจะอ่อนด้อย ในคุณค่าของตัวมันเอง แต่หากเรา บอกว่า กศน. เป็นการ จัดการศึกษาที่อยู่นอกรูปแบบ จัดให้กับคนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พลาดโอกาสเท่านั้น  คนไทยทั้งประเทศ สามารถที่จะแสวงหาความรู้ ได้จาก สถาบัน กศน. ไม่ว่า เขาเหล่านั้น จะมีพื้นความรู้เดิมอยู่ที่ระดับใดก็ตาม  เพราะการเรียนรู้ ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีวันจบสิ้น จบ ดร. มาก็ยังมีส่วนที่เขาไม่รู้ ก็ยังมี เช่น การหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับ พลังงานทดแทน (สบู่ดำ) มีใคร มีความรู้จริงแตกฉาน บ้าง ในทุกวันนี้ หรือ ความรู้ ในด้าใดด้านหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมา ในห่วงเวลาปัจจุบัน  นั้นคือ คนทุกคนยังจะต้องแสวงหาความรู้ ให้กับตนเองอยู่เสมอ แต่ในสภาพความเป็นจริง เรา เอา กศน. เข้าไปผุกติดกับ การศึกษา ขั้นพื้นฐานมากจนเกินไป เห็นได้จากการ ที่ กพร. กพ. หรือแม้นแต่ คณะ รมต. เอง ยังไม่เข้าใจ ในบทบาทภาระ หน้าที่ของ กศน. ชัดเจนเลย เพราะยังจะเอา กศน. ไปผูกติดกับเขตพื้นที่ ที่จัดการศึกษา ขั้นฐาน และยังมี กลุ่มเป้าหมายที่แคบ ไม่กว้างอย่าง ที่ กศน. ดำเนินการอยู่เลย คือ จะให้ความรู้คนได้แค่พื้นฐาน เท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้วเรากำลังพูดถึงสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งไม่สามารถ วัดเป็นระดับความรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็น ขั้นพื้นฐาน ขั้น อุดมศึกษา แท้จริงคือ การเรียนรู้ไม่รู้จบ น่าจะถูกต้องมากกว่า ฉนั้น ตัวบ่งชี้  ของ กศน.เพือนเรียนรู้ นั้น จึง ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการศึกษาที่มีชีวิต เคลื่อนไหวตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนได้ทุกเวลา โอกาส สถานที่
การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้น่าจะเป็นผลสัมฤทธิ์(results)ของกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้จะเกิดปัจเจกบุคคลต้องเรียนรู้ ทุกคนจะเรียนรู้ องค์กรนั้นๆต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(learning organization)องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นอย่างไร มีนักการศึกษาศึกษาเรื่ิองนี้หลายท่านเช่น peter m. sengeหรือstephen robbins องค์ประกอบหลักขององค์กรแห่งการเรียนรู้ได้แก่ ภาวะผู้นำ(leadership) การคิดเชิงระบบ(systems thinking) การเรียนรู้เป็นทีม(team learning)มีอีกล้วนแล้วแต่สำคัญและน่าสนใจ

เรียน อ.WAT

       1.   ถ้าจะเอา  Blog :  KORSORNOR  CHUMPHON มา Link กับ  blog  ของอาจารย์  ต้องทำอย่างไรคะ ?

        2.  สำนักฯ ควรเปิดชุมชนนักปฏิบัติการ ฯ..เพื่อชาว กศน.จะได้เปิด Blog มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน กศน. กันบ้าง

 

 

                 อยากเชิญคุณ ครู กศน. ร่วมเสวนาบนเวที เรื่อง

แนวทางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 16  กุมภาพันธ์ 25499  เวลา 9.00 - 16.30 น.

ที่ห้องประชุมอาคารรัชมังคลาภิเศก กระทรวงศึกษาธิการ

โดยแบ่งเวลาเป็น 3 ช่วง  คือ  ช่วงแรก เชิญคุณหญิงกษมา 

 วรวรรณ  กับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เป็นเรื่อง

นโยบายการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ช่วงที่ 2  เป็นเรื่อง

การประสานงานในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกรุงเทพมหา

นคร  โดยผู่อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. และผู้อำนวยการ

สำนักบริหารงาน กศน. และช่วงสุดท้าย  เป็นเรื่องของการนำ

นโยบายและแนวทางสู่การปฏิบัติจริง โดย ผู้เชี่ยวชาญ กศน.

  ผอ.กศน.สมุทรปราการ และ ผอ.กศน.กรุงเทพฯ1

               ถ้าคุณ ครู กศน.สามารถอนเคราะห์ร่วมรายการได้

กรุณาติดต่อ  ที่ 01 867 0625 หรือ  ที่ chiampuk_111@

hotmail.com ก็จักเป็นพระคุณอย่างสูง

                                       

 

ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษา กศน. คนหนึ่ง    ผมคิดว่า น่าจะทำให้ภาพของ กศน. ดูดีในแง่ของการศึกษาเสียก่อน    ทุกวันนี้เพื่อนๆ ที่เรียนอยู่ด้วยกัน    บางคนยังไม่กล้าที่จะบอกเพื่อนๆที่ทำงานเลยว่า   เค้าเองก็เรียน กศน.อยู่   ถามว่าทำไม   เพราะคนทั่วไปมองว่า กศน.ไม่มีคุณภาพทั้งคนที่เรียนทั้งสถาบันที่สอน  ไปเรียนกันบ้าง ไม่ไปบ้างก็จบได้  ข้อสอบก็ง่ายไม่ต้องเรียนรู้อะไรกันมาก  ผมอยากจะลบภาพเหล่านี้ให้หมดไป  อยากให้ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่างการศึกษา กศน.เสียใหม่  จะทำอย่างไร   อย่างนี้ครับ  ผมวิเคราะห์ดูแล้ว  การที่จะให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างทุกวันนี้   อาจารย์ที่สอน    สอนแต่เฉพาะในห้องเรียนมันไม่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้เลย   มันจะเกิดฃึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้เรียนรู้นอกห้องเรียน   หรือจากของจริง  ก็ที่ท่านบอกมาไงครับว่า   เพิ่มแหล่งการเรียนรู้    แหล่งการเรียนรู้มีอยู่รอบตัว     แต่เรียนกันเฉพาะในห้องเรียน   และบ่อยครั้งที่อาจารย์อ่านแต่ตัวหนังสือในหนังสือให้ฟัง   ความคิดมันไม่เกิด    และพออยู่กันแต่ในห้องเรียน    แหล่งเรียนรู้ข้างนอกห้องเรียนไม่ต้องพูดถึงเลยครับ   ไปกันไม่เป็นเลย    อาจารย์ก็ไม่ได้บอกว่ามีที่ไหนบ้าง    นักศึกษาเองก็ไมรู้อยู่แล้ว   การศึกษาก็ตันเลยครับ  บ้างคนมีความใฝ่รู้อยู่   แต่ตันที่ไม่รู้ว่าจะไปหาแหล่งความรู้ได้ที่ไหน  ผมไม่เข้าใจว่าจะต้องเรียนเฉพาะในห้องเรียนหรือไงเราถึงจะเรียนกันได้   ข้างนอกซิครับ   เป็นห้องเรียนที่ใหญ่ที่ไม่มีวันเรียนรู้ได้จบ    แล้วยิ่งเป็น กศน.ด้วยแล้ว  น่าจะมีทางเลือกที่จะเรียนรู้ได้หลายๆทางเรียนรู้   อาจารย์จะได้ไม่ได้แค่สอนอย่างเดี่ยว   เป็นผู้เรียนรู้บ้างในบางครั้ง  ทำการทัศนะศึกษาสถานที่ราชการทุกที่ก็ยังได้  เช่น  เรื่องกฎหมายที่ศารอายา  เรื่องวัฒนะธรรมไทยที่ศูนย์วัฒนะธรรม  เรื่องศาสนาที่วัด    เรื่องพัฒนาอาชีพที่ศูนย์พัฒนาอาชีพ  และอื่นๆ อีกมากมาย   หรือไม่ก็ทำเหมือนมหาลัยราม  มาเรียนหรืออ่านหนังสือก็ได้   แต่ต้องทำข้อสอบให้ผ่าน   นักศึกษาต้องไปค้นหาเรียนรู้เอง  ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้นักศึกษาแทบไม่ได้อะไรเลย   โดยเฉพาะอยางยิ่งโครงงานที่ท่านบอกว่าเหมือนงานวิจัยเล็กๆชิ้นหนึ่ง   นักศึกษาไม่ได้รู้ด้วยเลยครับว่าคืออะไร  แค่รู้ว่ามีอะไรมาส่งก็ได้แล้วไม่ได้มีการศึกษาอะไรกันเลย  และปัญหาใหญ่คือผู้ที่ต้องการศึดษาต่อในระดับสูงขึ้นไป   ไปตายกันข้างบนละครับ  เพราะไม่ได้พื้นฐานมาเลย   ผมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น    ผมคิดว่าในหัวผมยังมีอะไรต่ออะไรที่ท่านต้องการเพียบเลยนะครับ   ทำให้ กศน. เป็นที่ที่ใครก็อยากจะมาเรียนนะครับ  บางทีผมอาจจะเขียนไม่ค่อยเข้าใจ E-mail คุยกันได้นะครับ [email protected]

    การเป็นนักจัดการความรู้ คิดว่าไม่ยาก เปรียบเหมือนไฟล์ ที่กระจัดกระจายอยู่ เอามารวมเป็นโฟลด์เดอร์แล้ว ตั้งชื่อไว้ เข้าใจ ค้นหาง่าย.

                                                   ขอบคุณค่ะ

ประจวบฯประจันบาน

พิจารณาแล้วคำว่าสังคมนั้นใหญ่มาก มีขอบเขตและปริมาณคนมาก ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ ได้เลย จึงขอเสนอให้ใช้แค่ ชุมชนหรือหมู่บ้าน น่าจะทำให้ เราชาว กศน.เข้าไปทำงานโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ พัฒนาคนในหมู่บ้านให้เขาร่วมกันสร้างหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ขึ้นย่อม

เป็นการสร้างที่ เป็นไปได้ง่าย

ทำในขอบเขตที่เล็กไปสู่ใหญ่

เกิดการเรียนรู้กระบวนการสร้างหมู่บ้านการเรียนรู้ขึ้น

ส่วนตัวชี้วัดความเป็นหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ กำลังกลั่น(แกสโซเบรน)จะนำเสนอในคราวต่อไป

ประจวบฯประจันบาน

ตัวชี้วัด หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ...... 

1.ประฃาชนในหมู่บ้านเห็นประโยชน์และความจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและความสุข

2.ประชาชนรู้และเข้าใจว่าสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เช่น วัด เพื่อนบ้าน โรงเรียน กศน.,หน่วยงานต่างๆ ฯลฯ

3.ประชาชนที่สนใจเรื่องเดียวกันมีการรวมตัวกันเรียนรู้เป็นกลุ่ม ช่วยเหลือกัน รับผลประโยชน์ร่วมกัน

4.ผู้นำครอบครัว,หมู่บ้านส่งเสริมให้คนในครอบครัว-หมู่บ้านเรียนรู้เรื่องที่จำเป็นมาใช้ในชีวิตจริงเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาครอบครัว-หมู่บ้าน

5.การดำเนินกิจกรรมสำคัญต่างๆในหมู่บ้านใช้กระบวนการเรียนรู้วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลร่วมกันเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดำเนินงานและประเมินผล

วันนี้ขอจบการดัดแปลงเท่านี้ก่อนครับ คราวหน้าจะสร้างตัวชี้วัดใหม่ขึ้นบ้าง

ผู้มีจิตศัรทธา เลื่อมใส กศน.

กรุณาอ่านแบบสนุกๆๆนะ ลุงแก่แล้วต้องอ่านแบบ ปรอยฝ่าย มาลัยพร พูดนะรู้จักมัย

ตอบคุณ [email protected] ที่น่ารักนะ

ถึงแสดงความคิดเห็นซ้าไปแต่คงทำความเข้าใจ และชี้แจงให้ท่านได้ทราบถึงสวัตถุประสงค์ของการจักการศึกษานอกระบบ ( กศน. )

ประการที่ 1 การที่เราจะศึกษาจากที่ไหนนั้นของให้ท่านภูมิใจเถอะครับ ว่าเราคือนักศึกษา กศน.

ถ้าเราไม่ภาคภูมิใจแล้วใครเขาจะมาภาคภูมิใจแทนเรา อะไรที่ทำให้สังคมยอมรับ หรือเป้นตัวชี้วัด คือ ตัวผู้เรียนครับ ถ้าผผู้เรียนไม่แสดงความสามารถ ไม่ยกย่องสถาบันที่เรียนก่อน ใครที่ไหนจะเห็นความดีสถาบันเรา ดีเท่ากับตัวเราที่เลื่อมใสศรัทธา มาฝากชีวิต พัฒนาความรู้กับ กศน.

ประการที่ 2 คำโบราณว่าใว้ก็ยังใช้ได้ในบัจจุบัน ว่า จะดีจะชัวอยู่ที่ตัวทำ จะสูงจะตำอยู่ที่ทำตัว คำๆนี้ยังใช้ได้ดีเสมอ เพราะหากผู้เรียนมีความมุ่งมัน ว่าจะเรียน กศน. เพื่อพัฒนาความรู พัฒนาวุฒิทางการศึกษา เพราะเราได้พาดโอกาสทางการศึกษาเสียแล้ว ด้วยเหตุผลที่ต่างกันนั้น เราก็มาให้โอกาสตัวเอง นี้คือความภาคภูมิใจประการที่หนึ่งที่เราต้องมีในตัวตนของเรา

ประการที่ 3 ต้องขอชื่นชมท่านมากเลย ที่มีวิสัยทัศในการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ ของ การจัดการศึกษาของ กศน. คือ เรียนรู้ตลอดชีวิต , เรียนรู้ตามอัธยาศัย , หรือที่ครู ชอบบอกว่า กรต. เป็นช่อนทางการเรียนรู้หรือวิธีสอนของ กศน.ที่ดีที่สุด แต่ครูต้องชี้แนะ ช่องทางในการศึกษาเป็นการนำทางไว้บ้างก็จะดี เช่น แหล่งเรียนรู้ ช่องทางการเรียนรู้ นะ เพราะถ้าจัดการศึกษาแต่ในเนื้อหา หลักสูตรละก็ คงเรียนกันไม่จบแน่ เพราะฉนั้น นักศึกษาต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองบ้าง หากไม่เข้าใจให้มาถาม เพื่อน หรือครู ในวันพบกลุ่ม ( หากเป้น น.ศ. แบบพบกลุ่ม ) ไม่ใช่รอให้พ่อนก แม่นก มาป้อนอาหารใส่ปากให้ อย่างนี้ไม่ใช่วิธีการเรียน กศน.แน่แท้ ก็น่าเสียใจที่ท่านเจอปัญหานี้มา แต่รับรองได้ว่าท่านเป็นผู้ใฝ่รู้แน่แท้เลย น่ายกย่องมาก ๆ ขอให้เป็นกระบอกเสียของ กศน.ต่อไปนะ อย่าย่อท้อ เพื่อนำปัญหานั้นมาสู่ทางแก้ไขโดยเร็ว ลุงลืมว่าบอกไปว่า การศึกาของ กศน.นั้น ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากๆๆ นะจะได้ความรู้เยอะแยอะ มากกว่าแค่รอให้อ่านหนังสือแล้วรอให้สอบผ่านอย่างเดียว แล้วก็อย่าไปอายใครเลย คนที่ไม่ได้เรียนเท่านั้นที่จะมาคอยพูดว่าเรียนไปทำไม แก่แล้ว เรียนทำไม กศน. ถ้าว่าไปแล้วอายุขนาดนี้แล้วจะให้ไปนั้งเรียนกับลูกๆๆก็อายเขานะ ครูก็คงไม่รับเราเข้าโรงเรียนด้วยใช่ไม เพราะฉนั้นแล้วเราต้องภาคภูมิใจนะ เรียนแล้วก็พัฒนาตัวเราด้วย รอแต่ครูคงไม่ทันโลก เช่นคอมพิวเตอร์ , การพูด ใช้ภาษาอังกฤษ ครูกศน.มีน้อย แต่เขาตั้งใจจริง น่านับถือนะ ตอบแทน ,เบี้ยเลี้ยงก็ไม่คอยดี มีครูมาสอน นักศึกษาก็ดีแล้ว แต่ครู กศน.เขาคุณภาพคับแก้วนะจะบอกให้ รับประกันได้ ขอบใจนะที่ทุกท่านสนใจอ่าน ขอบใจทุกท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท