ปุจฉา-วิสัชนา “ห้วปลา” ในโมเดลปลาทู


...ให้เริ่มต้นที่ “หัวปลา” เพื่อว่าจะได้ไม่ไป “ผิดทาง” ส่วน “ตัวปลา” ก็เป็นเพียงกุศโลบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็น Tacit กัน ส่วน “หางปลา” ก็เป็นข้อเตือนใจว่า จะต้องมีการบันทึก จัดเก็บ เผยแพร่ความรู้ไว้

         กัลยาณมิตรท่านหนี่งถามผมมาเรื่องการตั้งหัวปลาว่า สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา ควรตั้งหัวปลาอย่างไร? ผมขอใช้บันทึกนี้พูดคุยเรื่องนี้เพราะบางทีอาจเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ด้วย

         หัวปลา ที่เราพูดถึงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ โมเดลปลาทู ครับ ผมหมายถึงประเด็นหรือหัวข้อความรู้ที่จำเป็นสำหรับองค์กร ที่เราต้องพูดเรื่อง หัวปลา ก่อนที่จะเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ตัวปลา) และก่อนที่จะจัดสร้างคลังความรู้ (หางปลา) ก็เพราะเรากลัวว่าถ้า หัวปลา ไม่ชัดเจน เดี๋ยวจะไปเสียเวลา share หรือ จัดเก็บองค์ความรู้ที่ไม่สำคัญสำหรับองค์กร การตั้ง หัวปลา จึงเป็น กุศโลบาย ให้ช่วยกันคิดเรื่องประเด็นความรู้ให้ดีๆ ก่อน ที่จะก้าวเดินต่อไป

         ในหลายองค์กรผู้บริหารมักจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า อะไรคือความรู้ที่เป็น หัวใจ ขององค์กร ตัวอย่างเช่น สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา ก็คงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการประกันคุณภาพ อาทิเช่น เรื่องการเรียนการสอน ซึ่งผมถือว่าเป็น หัวปลาใหญ่ เพราะสามารถแบ่งย่อยลงไปเป็น หัวปลาเล็ก ได้อีกหลายหัว เช่น ซอยย่อยออกเป็น 1. เรื่องการเรียนการสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered) 2. การเรียนการสอนที่เน้นการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม และ 3. การใช้ ICT ในการเรียนการสอน เป็นต้น

         ในตัวอย่างนี้ หัวปลาใหญ่ แยกออกมาได้เป็นสาม หัวปลาย่อย ซึ่งหัวปลาย่อยเหล่านี้ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเด็นย่อยได้ต่อไปอีก เช่น เรื่องการใช้ ICT อาจมีหัวปลาย่อยเป็นเรื่อง 1. เทคนิคการใช้ Powerpoint เป็นสื่อการสอน 2. การใช้ Multimedia ในการเรียนการสอน และหัวข้ออื่นๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า หัวปลา ที่เราพูดถึงนี้เป็นสิ่งที่มาเป็นกลุ่มเป็นฝูง ไม่ใช่หัวปลาเดี่ยวหัวข้อเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ และนี่คือที่มาของโมเดลที่เรียกว่า โมเดลปลาตะเพียน

         โมเดลต่างๆ ที่ผมอ้างถึงนี้ เป็นเพียงสิ่งที่ใช้อธิบายเพื่อให้เข้าใจเรื่อง KM ได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้ศัพท์เทคนิคมากมาย แต่สิ่งที่ อันตราย อย่างยิ่งก็คือ การที่คนบางคน ติดโมเดล เหล่านี้มากจนเกินไป จนทำให้พวกเขาปฏิเสธโมเดลหรือหลักการ KM แบบอื่นๆ ไปหมด อ้างถึงแต่โมเดลปลาทูเพียงอย่างเดียว ไม่ยอมรับโมเดลอื่นเลย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโมเดลปลาทูเป็นเพียงโมเดลการใช้ KM แบบง่ายๆ เพื่อใช้อธิบายขั้นตอนสำคัญที่ถือว่าเป็น พื้นฐาน ของ KM โดยให้เริ่มต้นที่ หัวปลา เพื่อว่าจะได้ไม่ไป ผิดทาง ส่วน ตัวปลา ก็เป็นเพียงกุศโลบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็น Tacit กัน เพราะไม่เช่นนั้นจะมองข้าม Tacit ไปหมด ส่วน หางปลา ก็เป็นข้อเตือนใจว่า จะต้องมีการบันทึก จัดเก็บ เผยแพร่ความรู้ไว้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อไป

         หากเข้าใจขั้นตอนคร่าวๆ เหล่านี้ ก็จะใช้ KM ได้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ทำๆ ไป เพราะถูกใครบางคนสั่งให้ทำ!!
หมายเลขบันทึก: 113668เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประเด็นหัวปลา ตัวปลา หางปลา ผมไม่ค่อยติดใจเท่าไรครับ แน่นอนครับผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานเขตฯทราบดีว่าหัวปลาคืออะไร แต่ประเด็นที่สำคัญคือผู้บริหารมักไม่ตระหนัก(A1)เห็นความสำคัญของกระบวนการ KM อย่างแท้จริง สิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ของทุกๆเขตคือ งานทุกอย่างเริ่มที่ A2(สั่งการ,นำไปปฏิบัติเลยตามนโยบาย กลัวตกกระแส) ซึ่งผลที่ออกมาจะพบแต่ KM หลอกๆ มีครบหมดครับทั้งตัวปลา เพื่อรอส่งรอรายงานหน่วยเหนืออย่างเดียวครับ

  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ช่วยเสนอแนะ
  • แล้วออตจะเอาไปเล่าต่อให้เพื่อนฟังนะครับ
  • และคงได้รบกวนท่านอาจารย์อีกในคราวต่อไป

ขอบคุณค่ะได้ความรู้เพิ่มมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท