เพลงอีแซว "วิธีจัดการเรียนรู้" ศิลปะพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี


ศูนย์การเรียนรู้เพลงอีแซว แบบฐานการเรียนรู้ครบวงจร

 

เพลงอีแซว

วิธีการจัดการเรียนรู้

 (ศิลปะพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี)

          ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีใดถ้าจุดประสงค์ปลายทางคือ  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcome) มีพฤติกรรมการเรียนรู้ครบ 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะและเจตคติจึงจะสมบูรณ์ ในการเรียนรู้เพลงอีแซว มีรูปแบบ วิธีการเรียนรู้หลายวิธี  ได้แก่    

              1.    จัดการเรียนรู้แบบตัวต่อตัว  เป็นวิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ โดยการบอกกล่าวเนื้อหา บทกลอน  หรือให้ท่องคาถาอาคม เป่ามนต์ให้ครูหมอฟังจนถูกต้องแม่นยำ แล้วจึงมอบวิชา (ครอบครู) ให้ศิษย์ ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการรักษา เยียวยา ไปใช้ในการแสดงเพลงพื้นบ้าน  วิธีการนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบครูสอนนักเรียน  พี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน  เช่น ครูสอนวิธการเรียนรู้ในการฝึกหัดเพลงพื้นบ้านให้กับนักเรียนคนหนึ่งเมื่อได้รับความรู้จากครูไปแล้วนักเรียนผู้นั้นก็นำความรู้ไปแนะนำเพื่อน ๆ ต่อ ๆ ไปอีก จนสามารถร้องได้ 

      

             2.    จัดการเรียนรู้แบบศึกษาด้วยตนเองตามขั้นตอน  วิธีนี้เป็นการฝึกปฏิบัติแบบฝึกหัดอย่างมีขั้นตอน หรือมีกระบวนการในการฝึกหัดโดยซ้ำ ๆ จนเกิดความชำนาญแล้วนำความสามารถไปแสดงให้ครูได้พิจารณา ชื่นชมและเสนอแนะ ตลอดเวลาของการฝึกปฏิบัติจะต้องอยู่ในความดูแลของครู อาจารย์อย่างใกล้ชิด เมื่อนักเรียนมีแนวทางที่ถูกต้องจึงแนะนำให้ไปฝึกหัดหรือศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง  เช่น การฝึกหัดเพลงอีแซว  5 ขั้น (อาจปรับเป็น 7 – 9 ขั้นก็ได้) ได้แก่ 

                     2.1     ขั้นการฝึกหัดร้องเกริ่น ขึ้นต้น ร้องลง และร้องรับ

            2.2     ขั้นฝึกหัดทำท่าทางตามบทเพลง

            2.3     ขั้นรำประกอบการแสดง

            2.4     ขั้นฝึกหัดพูด และพูดโต้ตอบตามบทเพลง

            2.5     ขั้นฝึกการให้จังหวะ ร้อง รำ พูด ในการฝึกหัดแต่ละขั้นตอน 

         ผู้ฝึกจะต้องพยายามฝึกหัดตามแนวทางในชุดฝึกแนะนำและฝึกซ้ำจนเกิดความพอใจ ในระหว่างการฝึกหัด    อาจจะใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย  เช่น  ภาพการแสดงเพลงพื้นบ้าน  เทปเสียงร้องเพลงพื้นบ้าน  วีดิทัศน์การแสดงเพลงพื้นบ้าน  วีซีดีการแสดงเพลงพื้นบ้าน เป็นส่วนประกอบด้วยก็ได้ 

       

        3. จัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนครบวงจร เป็นแหล่งการจัดการเรียนรู้ด้านใดด้านหนึ่งที่มีการวางแผนในการพัฒนาความรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีระบบ เช่น การจัดศูนย์การเรียนรู้เพลงอีแซว ด้วยคอมพิวเตอร์ ภายในศูนย์การเรียน จัดแบ่งออกเป็น 3-5 ฐานย่อย เพื่อแสดงการพัฒนาอย่างเหมาะสม  

           3.1 ฐานการร้องเพลงอีแซว (ร้องเกริ่น ร้องเนื้อ ร้องลง) 

           3.2 ฐานการร้อง รำ ทำท่าทางประกอบตามบทเพลง 

           3.3 ฐานการร้องและเจรจาโต้ตอบ

           3.4 ฐานรวม (พิเศษ) ฝึกหัดเพลงอีแซวเป็นทีม ร้องนำ ร้องรับเป็นกลุ่ม 5-7 คน

         

          เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจนมีความสามารถ เห็นคุณค่า เข้ามาฝึกซ้อมเป็นประจำโดยไม่ต้องบังคับ ชี้นำ (ฐานใดผู้เรียน ไม่ผ่านการประเมิน ให้ย้อนกลับไปฝึกซ้ำใหม่ได้ จนผ่านการประเมินไปยังฐานรวม)

 นายชำเลือง มณีวงษ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม การแสดงเพลงพื้นบ้าน

                             รางวัลราชมงคลสรรเสริญ (พุ่มพนมมาลา) ปี 2547)

                             โทร. 035-591271 และ 084-976-3799

 

 

หมายเลขบันทึก: 112838เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท