สิ่งที่ผมเล่าในวันประชุมภาคีKM ภาคราชการ ครั้งที่ 8 ( TK :ของสิงห์ป่าสัก )


คิดได้(ปิ๊ง)ก็ทำเลย ทำKMอย่างเป็นธรรมชาติ ทำงานโดยใช้KMมาสนับสนุน

          เมื่อเช้าวันที่ 12  กรกฎาคม  2550 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมภาคีการจัดการความรู้ภาคราชการ  ณ กรมส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งวันนี้มีการ ลป.ประสบการณ์การนำ KM ไปปรับใช้ในการทำงานหลายๆ หน่วยงาน  ภาคราชการคือกรมอนามัย และกรมส่งเสริมการเกษตร  ส่วนภาคเอกชนก็คือการนำKMไปใช้ในบริษัท ไทย เยอรมัน สเปเชียลตี้ กลาส จำกัด

          สำหรับผม ได้ไปร่วม ลป.ประสบการณ์ต่อจากพี่สรณพงษ์  บัวโรย  จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม  ซึ่งบันทึกนี้ ผมขอสรุปสิ่งที่ผมได้เล่า (สดๆ) เพราะไม่ได้รู้ตัว/เตรียมตัว  จะว่าเป็นการบอกกล่าวเล่าความสิ่งที่ได้ปฏิบัติก็แล้วกัน เรื่องเล่าอย่างย่อๆ ของผมเกี่ยวกับ "การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังการนำ KM ไปใช้" สรุปได้ดังนี้ครับ

  • KM ไม่น่าจะเป็นของใหม่ทั้งหมด  ในอดีต ก็มีการนำการจัดการความรู้ไปใช้กันอยู่บ้างแล้ว
  • สถานการณ์เปลี่ยน  การทำงานส่งเสริมการเกษตร จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติ
  • นักส่งเสริมการเกษตร จำต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็น ผู้จัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (นักจัดการความรู้=คุณอำนวย ในความหมายของ สคส.)
  • เมื่อมีการจัดการความรู้เข้ามา  KM=KV+KS+KA มาช่วยเติมเต็มการทำงานให้สมบูรณ์มากขึ้น
  • เมื่อมีการนำKMมาใช้  เราก็จะไม่บอกว่าทำ KM แต่ต่อมามีการประกาศเป็นนโยบาย  ทำให้ต้องบอก  สุดท้ายจะทำอย่างไรที่จะทำโดยไม่บอกว่าทำKM ให้เป็นKMตามธรรมชาติ
  • นักส่งเสริมการเกษตร  เริ่มมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  เพราะต้องอาศัย/สร้างกระบวนการ/เครื่องมือให้เกิดการ ลปรร. เพราะคนลดลง  อายุมากขึ้น สถานการณ์เปลี่ยนแปลง
  • วิธีการเดิมๆ ที่ใช้ได้ผล  บัดนี้อาจจะไม่เพียงพอ-ไม่ได้ผล จำต้องคิดหาวิธีการทำงานส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง
  • สิ่งที่ KM มาช่วยเติมเต็มการทำงานส่งเสริมการเกาตรอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การบันทึกองค์ความรู้  จากอดีตไม่เคยบันทึก  การเขียนรายงาน (การเขียนเป็นยาขมสำหรับหลายๆ คน)
  • ปัจจุบัน เราสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นใช้เองได้  เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกับกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นต้น
  • KMเป็นเครื่องมือที่เหมาะสม  ถูกจริตกับงานส่งเสริมการเกษตร เพราะทำให้งานดีขึ้น สร้างการ ลปรร.ซึ่งต้องทำกันอยู่แล้ว
  • KM ต้องเข้าใจว่าบางทีเราจะกำหนดให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรตั้งแต่เริ่มต้นไม่ได้ทั้งหมด  เพราะการทำKMต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากเส้นทางที่ผ่านไปด้วย
  • คือไม่มองแต่เฉพาะดอกไม้ที่อยู่ปลายทางเท่านั้น  ดอกไม้ริมทางเราก็เก็บไปด้วย  บางครั้งทำ-เก็บเกี่ยวได้มากกว่าที่คิดไว้
  • ยกตัวอย่างที่กำแพงเพชร ทำการสอนงานเจ้าหน้าที่ โดย CKO ไฟเขียวให้ ขรก.บรรจุใหม่ฝึกงาน-ลงภาคสนาม 6 เดือน  ก่อนลงพื้นที่ไปปฏิบัติงาน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกสั่งให้ต้องทำ-ไม่ได้บอกไว้ว่าจะทำตั้งแต่ต้นปี
  • คิดได้(ปิ๊ง)ก็ทำเลย ทำKMอย่างเป็นธรรมชาติ ทำงานโดยใช้KMมาสนับสนุน

       สิ่งที่ผมได้เล่าเพื่อ ลปรร. ในงานประชุมภาคีKMภาคราชการ ครั้งที่ 8 ภายในเวลาประมาณ 10 กว่านาที ก็มีประมาณนี้แหละครับ


         ผมภาพบรรยากาศของการประชุมภาคีKMภาคราชการ  ครั้งที่ 8  ที่กรมส่งเสริมการเกษตร 


ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนการประชุมภาคีฯ


จ.สมุทรสงคราม นำนิทรรศการส้มโอปลอดสารพิษมานำเสนอ


ทีมสาวน้อย และยอดคุณเล่าจากกรมอนามัยครับ


ตัวแทนจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางมาแบ่งปันประสบการณ์


คุณดนัย  รักขิตตกรรม จาก บ.ไทยเยอรมัน สเปเชียลตี้ฯ นำเสนอKMของบริษัทฯ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  19/07/50

หมายเลขบันทึก: 112833เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

               แจงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังทำ KM เป็นข้อๆ...เป็นประโยชน์กับตนเองที่อยู่ กศน.ใช้เทียบเคียง...ขอบคุณนะครับ

              แต่แหม! KM ทีม จากกรมอนามัย ยอดนักเล่าทั้งหลาย ที่บอกว่าสาวน้อยนี่เขาจะว่ายังไงไม่รู้...เพ่งมองก็เห็นไม่ชัด ภาพไม่ชัด ไม่ทราบเป็นใครกันมั่ง

  • หวัดดี สิงป่าสัก
  • เป็นเวที national ราชการเลยครับ
  • ขอบคุณที่แบ่งปัน
ดีมากเลยค่ะ ที่ถ่ายภาพแล้วครูนงเห็นไม่ชัด เพราะน้องสิงห้ป่าสักเรียกสาวน้อย... กรมอนามัย เพราะถ้าสาวเหลือน้อยหล่ะ...เป้นฮึ่มกันแน่ๆ

สวัสดีครับคุณสิงห์ป่าสัก

  • ช่วงนี้ไม่ได้ค่อยแวะมาทักทายครับ
  • ผมชอบประโยคที่ว่า KM ตามธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับ KM นักส่งเสริมการเกษตรจริง ๆ ครับ

เรียน  ครูนงเมืองคอน

  • ยินดีครับหากจะมีประโยชน์ในการเทียบเคียง การเปลี่ยนแปลงฯ
  • ตอนนี้ทราบแล้วนะครับว่าใครเป็นใคร คุณหมอนนทลีช่วยลำดับรายชื่อของสาว...น้อย..ของกรมอนามัยทั้ง 4 ท่านแล้ว
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.

หวัดดีเจ้า

ได้แต่นั่งอ่านของคุณแต่ไม่รู้จะเริ่มเขียนแบบไหนขอสั่งสมองค์ความรู้ก่อนนะแล้วจะนำมาเล่าบ้างคนเมืองเขลางค์นครเจ้า

เรียน  เจ๊ศรีวิภา

  • บรรยากาศการเล่าดีมากเลยครับ
  • ครูนงอาจลืมใส่แว่นตามั้งครับเลยจำเจ๊ไม่ได้
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาทักทาย

เรียน   คุณหมอนนทลี

  • ขอบพระคุณมากครับที่ช่วยมาเพิ่มเติมข้อมูล...ครูนงทราบแล้วนะครับ 
  • เรื่องส้วมๆ น่าสนใจมากครับ มีเคล็ดลับจากเจ๊เล็ก(คนชุดเขียว) มาช่วยเสริมด้วยนะครับ
  • สวัสดีครับ คุณบอย  สหเวช
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาทัยทาย และให้กำลังใจ
  • ตามมาอ่าน
  • โห สาวน้อยจริงๆๆด้วย
  • ฮ่าๆๆๆ
  • ชอบการสรุปประเด็นของการประชุม
  • อยากดู KM ธรรมชาติครับ
  • ขอบคุณครับ

เรียน  อ.ศิริวรรณ หวังดี

      ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

เรียน  พี่  บุปผา - สันพะเยาว์  แห่งเมืองเขลางค์นคร

  • ไม่ต้องรอสะสมองค์ความรู้นะครับ
  • ลงมือลุยเขียนได้เลยครับ
  • ในเบื้องต้นบันทึกเล่าสั้นๆ พอให้ทราบรายละเอียดก่อนก็ได้ว่าแต่ละวันได้ทำอะไร-ทำอย่างไร และได้เรียนรู้อะไร
  • แล้วค่อยๆ พัฒนาครับ
  • เขียนเลยนะครับจะรออ่านบันทึกครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

ตามมาอ่านค่ะ....เห็นบรรยากาศเต็มไปด้วยมิตรไมตรีแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน...ขอบคุณค่ะ

 

ผมเองก็เก็บเกี่ยวบรรยากาศและความรู้ในวันนั้นไปเล่าต่อ..เรียกว่านำไปหากินได้ตั้งอักโข..ขอบคุณ อ.สิงห์ป่าสัก มั๊กมาก...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท