GotoKnow

โครงการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะเรียนต่อ.....แต่ไม่เรียน ใช้เทคนิค focus Group

suree nakniyom
เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2548 13:50 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:53 น. ()
เพื่อทำความเข้าใจ..ความรู้สึก นึกคิด..พฤติกรรม..รวมทั้งปัจจัยที่มึต่อพฤติกรรมนั้น..

 เรียน.ชาวชุมชนและผู้อ่านทุกท่าน  

                 ท่านเคยสงสัยบ้างมั๊ย ว่า...ทำไม..คนบางคน ไม่อยากจะเรียนต่อ..ทั้งๆที่มีโอกาส..หรือควรจะเรียน

ต่อแต่ทำไมไม่เรียน..... พวกเราชาวกศน.  ก็สงสัยเหมือนท่าน  เราก็เลยชักชวนชาวบ้าน เขตอำเภอท่าแซะ มานั่งคุยกัน  15  คน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิด จิตใจ พฤติกรรม รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่เข้าเรียนต่อ.. ทั้งๆ ที่ควรจะเรียน  กลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกเข้ามาเป็นบุคคลที่คิดว่าสามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้คือ..ตัวแทนของคนที่ทำงานในโรงงาน  5  คน  อบต. จำนวน  5  คน  ผู้นำชุมชน  จำนวน 5 คน 

               เรานัดสนทนากลุ่มกันที่  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าแซะ..12  กรกฎาคม 2548  มีอาจารย์ พัชนี  สงไตรรัตน์  แห่ง ศบอ. ท่าแซะ เป็น  moderator..และทีมงานของอ. เบญจมาศ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และ  Notetaker.......  บรรยากาศเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง  ทุกคนมีส่วนร่วม..พูดคุยแสดงความคิดเห็นอย่างมีอิสระ........ประเด็นคำถามหลัก..และประเด็นคำถามย่อย ซึ่งพวกเราได้เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการชวนคุย.. บางคำถามก็ไม่ได้ใช้..ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในวงสนทนา.. แต่คำถามหลัก ๆประเด็นหลักๆ นั้นถามได้ครบเพราะทุกคน..ช่วยกัน  กระซิบบอก  Moderator  อย่างนี้เราเรียนว่าเป็นการแบ่งปันการเรียนรู้ อย่างเอื้ออาทรกัน.. ฝากเรียนถาม อ. พรสกล.. อาจารย์ใหญ่ของชุมชนเราด้วย..แล้วจะเขียนมารายงานตอนต่อไปจ้า........

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

wantanee
เขียนเมื่อ

อยากรู้รายละเอียด เทคนิค  focus  Group

สุรีย์
เขียนเมื่อ

 การสนทนากลุ่ม  (focus Group)  เป็นวิธีการอันหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ..เป็นการวิจัยเพื่อให้เกิดความรูความเข้าใจเกี่ยวกับการนึกคิด จิตใจ และพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ๆ ...คำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่มจะเป็นคำถามที่ถามถึงความรู้สึก  การตัดสินใจ..การให้เหตุผล..แรงจูงใจ.. การสนทนากลุ่ม มีลักษณะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างกว้างขวาง ระหว่างผู้เข้าสนทนากันเอง  และกับนักวิจัย  การถกเถียงประเด็นการสนทนามึความเป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการโต้แย้ง

      การเลือกสรรบุคคลที่จะมาร่วมสนทนากลุ่ม ควรเป็นบุคคลที่สามารถให้คำตอบในเรื่องที่เราสนใจจะศึกษาเช่น..หัวข้อที่พวกเราชาว กศน. สงสัยว่า ทำไมคนที่น่าจะเรียนต่อ.แต่ไม่เรียน..เราคัดเลือกเอาพนักงานในโรงงาน..อบต...ผู้นำท้องถิ่น.ที่ไม่ได้เป็นนักศึกษา คือยังไม่เรียน ทั้งที่ในโรงงานเจ้าของโรงงาน..ก็สนับสนุน..ให้ครู กศน. ไปเปิดศูนย์การเรียนในโรงงาน..อบต. และผู้นำชุมชนบางคนอายุก็ยังไม่มาก..ยังไม่จบการศึกษาม.ต้น ม. ปลาย..แต่เขาก็ยังไม่เรียนต่อ  เขาคงจะมีเหตุผล ที่ฝังลึก เราจึงพยายามเข้าไปถอดรหัส.เพื่อเป็นข้อมูลวางแผนจัดกิจกรรมการศึกษาให้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาทุกที่..ทุกเวลา..อย่างทั่วถึง

พรสกล ณ ศรีโต
เขียนเมื่อ

ขอชื่นชม

            นี่คือรูปธรรมของการเชื่อมโยงกิจกรรมKMเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติงานจริงแล้วครับ  ยังไงช่วยสังเคราะห์เป็นขุมความรู้จากการปฏิบัติงาน(Knowledge Assets)แล้วเผยแพร่ให้เพื่อนในชุมชนฯรับรู้ด้วยนะครับ.....ขอปรบมือให้ครับ

                                             พรสกล  ณ ศรีโต

                                             14/7/2548

sureenfe
เขียนเมื่อ

อยู่ในขั้นตอนสรุปและถอดบทเรียนอยู่ค่ะ  กำลังวิเคราะห์ข้อมูล..ซึ่งก็ต้องเอา KM  มาเป็นเครื่องมือช่วย.... ทำเป็นภาพรวมของทั้ง14 จังหวัดภาคใต้..ราวต้นเดือนหน้าคงนำผลมาเสนอ. กำลังจะเอาจิ๊กซอว์ไปต่อกัน........มือใหม่  ผิดพลาดประการใดชี้แนะด้วยนะคะ

เทียมพบ
เขียนเมื่อ

  น่าสนใจดีครับ  เสร็จเมื่อไรขออ่านด้วยนะครับ  ขอแสดงความขอบคุณในการทำงานครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย