ทางสายใหม่ของไหม (A NEW SILK ROAD)


ทางสายใหม่ของไหม

ทางสายใหม่ของไหม (A NEW  SILK  ROAD) 

เรียบเรียงโดย 

สถาพร    วงค์เจริญวนกิจ  นักวิชาการเกษตร 

วิโรจน์      แก้วเรือง         นักวิชาการเกษตร             

..สมัคร  คอวนิช  ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯอุดรธานี

สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ 

คำว่า เส้นทางไห ม  (Silk  Road)  เป็นชื่อที่ตั้งโดยนายเอฟ วอน วิช โธเฟน (. Von Righthofen 1838-1905) นักภูมิศาสตร์ชาวเยอร์มัน ซึ่งใช้เรียกเส้นทางการข้ามผ่านเอเชียกลางในสมัยโบราณเส้นทางไหมนี้นับเป็นเส้นทางสำคัญ ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าระหว่างซิกโลกตะวันตกกับตะวันออก จนกระทั่งมีการพัฒนาการเดินทางทะเล ผ้าไหมและไหมดิบจากจีนได้ถูกส่งไปยังยุโรปและอาฟริกาทางด้านเอเชียตะวันตก ในขณะที่เครื่องแก้วและผ้าฝ่ายถูกนำเข้ามายังจีนพร้อม ๆ กับผักกาดหัวและแตงโมซึ่งนำเข้ามายังประเทศและญี่ปุ่นโดยเส้นทางสายนี้เช่นกันคำว่า ทางสายใหม่ของไหม

( A New Silk Road) ในที่นี้หมายถึง ทิศทางที่เราพยายามจะเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งถึงลักษณะและหน้าที่ของหนอนไหม และเส้นไหมเพื่อพัฒนาหาหาวิธีกาใหม่ ๆ ในการใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆหลังจากที่มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไหมมากกว่า 2,000 ปี ทำให้หนอนไหมและผีเสื้อไหมสูญเสียคุณลักษณะเดิม ในปัจจุบัน (Locomotive capacity) ไปหมดแล้วจน ทำให้การเลี้ยงไหมและการจัดการสะดวกสบายขึ้น เพราะเราสามารถควบคุมการฟักและการพัฒนาการของมันได้รับการพัฒนาจนกล่าวได้ว่า สามารถให้เส้นไหมส่วนที่เป็นโปรตีนเกือบถึง 40% ของน้ำมันหนักตัว หากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วหนอนไหมควรเรียกว่าแมลงเลี้ยง (Domesticated insect) มากกว่า สัตว์เลี้ยง (Domestic animals) เพราะเราสามารถใช้ประโยชน์จากหนอนไหมและเส้นไหมได้มากกว่า  

ไหมชนิดใหม่สำหรับเครื่องนุ่งห่ม (New Silk as Clothing )    

     หนอนไหมให้เส้นใยที่บางมากประมาณ 3 ดีเนียร์ เฉลี่ยเส้นใย 3 กรัมจะยาวประมาณ 9,000 เมตร รังไหม 1 รัง จะให้เส้นใยยาวประมาณ 1,000 – 1,500 เมตรเส้นใยดิบเป็นเส้นไหมที่ได้มาจากการรวมเส้นใยจากรังไหม 5-10 รัง ซึ่งยังคงเป็นเส้นไหมที่มีขนาดเล็กและเงางามเส้นด้ายฝ้ายและขนแกะ จะต้องใช้เส้นใยจำนวนหลายเส้น (ซึ่งมีขนาดสั้น)ในการปั่นและตีเกลียวจึงทำให้เส้นด้ายมีขนาดสั้นและหนา ไม่เหมือนเส้นไหมที่บางและเงางาม แม้ว่าจะมีการพัฒนาเส้นใยสังเคราะห์ได้ แต่ไหมก็ยังเป็นเส้นใยชนิดเดียวกัน ที่มีความสำคัญในการทำถุงน่องสุภาพสตรีและสิ่งทอ ที่มีความเบาบาง สวยงามเมื่อเวลาสวมใส่เส้นใยไหม มีรูปร่างตามขวางคล้ายสามเหลี่ยม (Triangle like crosssection) นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเส้นไหมดิบและสิ่งทอจากไหมจึงมีความเงางามเช่นไข่มุก ไหมได้ชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งเส้นใย (Queen of Fibers)”เพราะมีคุณสมบัติที่มีความวาว, เบา, ทนความร้อนและดูดซึมความชื้นได้ดี แต่ไหมก็มีข้อเสียในตัวของมันเองคือสามารถยืดหยุ่นได้น้อย , ยับง่ายและซักยาก แต่ข้อเสียเหล่านี้ก็ไม่มีความสำคัญสำหรับชุดกิโมโนชุดที่มีขนาดยาวและขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยปิดบังการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่แต่จะเป็นปัญหามากสำหรับการตัดชุดรัดรูปและจำเป็นต้องซักซับในบ่อย ๆ ในอดีตเรามีการใช้ไหมในขีดจำกัด แต่ถ้าเรากำจัดข้อเสียดังกล่าวข้างต้นมาได้ จะทำให้การใช้ประโยชน์เส้นใยไหมกว้างขึ้น ต่อมาได้มีการสั่งสารเรซิน (Resines) คอลลาเจน (Collagen) ซีริซิน (Sericine) และสารเคมีอีกหลายชนิด เพื่อนำมาใช้ในการทำให้ผ้าไหมซักง่ายขึ้นลดการยับและการทำให้ผ้าเหลืองลงได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเส้นไหมดิบที่มีคุณภาพยืดหยุ่นและมีขนาดใหญ่มากขึ้น โดยการตีเกลียวในทิศทางกลบกันและถี่ขึ้นรวมทั้งการควบและการลอกเส้นไหมตีเกลียว เส้นใยไหมชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดีและกำจัดข้อเสียต่าง ๆ ออกได้ นอกจากนี้ยังมีผ้าไหมและเส้นใยซึ่งใช้ไหมผสมกับฝ้าย ขนสัตว์หรือใยสังเคราะห์และล่าสุดได้มีการใช้เส้นใยไหมพันรอบเส้นใยชนิดอื่น ๆ                        

การพัฒนาเส้นไหมผสม (Development of Hybrid Silk)                       

    ในอดีต ถุงน่องสุภาพสตรีทำจากไหมเพียงอย่างเดียวเพราะเป็นเส้นใยชนิดเดียวที่บางและเงางาม ภายหลังใยสังเคาระห์ไนล่อนเข้ามาทดแทนไหมได้เกือบสมบูรณ์แบบในคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น แต่ในด้านการสัมผัส, การกันความร้อนและความปลอดภัย ไหมดีกว่าไนล่อนอยู่มาก ไหมผสมได้พัฒนารวมข้อดีของไนล่อน ข้อดีในการสัมผัสและความสวยของไหมมาไว้ด้วยกัน ซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นดีและมีความทนทานอย่างไนล่อนมีความสวยงามมีความนุ่มในการสัมพผัสและกันความร้อนได้ดีอย่างไหม การสร้างเส้นไหมผสมชนิดใหม่ต้องสร้างกลไกในการรวมเส้นใยไนล่อนจากเส้นใยไหมอีกทางหนึ่งคือ ได้มีการสร้างไหมพันธุ์ที่มีเส้นใยเล็กกว่าเส้นใยไหมทั่วไป 2 ใน 3 เท่า และขนาดเส้นใยไหมที่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเส้นใยที่มีไหมเป็นหลัก เช่นการทำให้เส้นใยไหมมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดการยับ โดยการไขว้เส้นใยให้เป็นรูปทรงกระบอก แล้วดึงเส้นใยจนคุณสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไปหรือเส้นใยไหมถูกห่อหุ้มด้วยเส้นใยชนิดอื่น เพื่อทำเป็นเส้นใยไหมผสม  

การใช้ไหมนอกเหนือจากการใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม

(Silk Use Clothing Areas)                        

      เป็นที่ทราบกันดีกว่าไหมใช้เป็นเส้นด้ายในการเย็บแผลผ่าตัด เพราะเส้นไหมประกอบไปด้วยโปรตีนที่เรียกว่า ไฟโบรอิน (Fibroin) ซึ่งสามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อของมนุษย์ คุณสมบัติไหมข้อนี้ทำให้เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างมาก เช่นการทำผิวหนังเทียม ท่อต่อเส้นเลือดเทียม หลอดที่ใช้แทงเข้าไปในผิวหนัง การทำวัสดุเหล่านี้ก็โดยการนำเส้นไหมมาหลอมแล้วทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นหลอด  

     โครงสร้างของไฟโบรอิน (Fibroin) จะมีรูพรุนอากาศผ่านได้ดี จากคุณสมบัติข้อนี้ได้การศึกษาเพื่อนำมาเป็นพาหนะตัวนำเอนไซม์ (Enzyme) อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ซึ่งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสารแขวนลอย (Suspension)                       

      ผิวหนังเทียมที่ใช้ในการแพทย์ (Medical Dialysis Membranes) และคอนแท็กเลนส์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวจับแอนตี้บอดี้ (Antibldies)ซึ่งใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง                       

   คุณสมบัติในการดูดซับความชื้น ปลดปล่อยความชื้นและยอมให้อากาศผ่านได้ดีจึงนำมาผลิตเครื่องสำอาง ในกรณีนี้แป้งไหมจะใช้ผสมในครีมรองพื้น ครีมแต่งหน้าและครีมทำความสะอาด ในญี่ปุ่นมีการโดยเฉพาะใช้ไหมเพื่อทำเครื่องสำอางถึงปีละ 5 – 6 ตัน                    

การใช้ประโยชน์จากหนอนไหม (Utilization of Silkworms)                   

    ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ไหมมาเป็นเวลานานแล้ว ในปัจจุบันไหมคือแมลงที่เลี้ยงด้วยใบหม่อนซึ่งจะให้โปรตีนอย่างมีประสิทธิภาพ แมลงชนิดนี้ก็เหมือนสัตว์หรือพชในการเกษตรซึ่งใช้พันธุ์ลูกผสมมาตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการพัฒนาด้านพันธุกรรมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับการทดลองในสัตว์ จนกระทั่งตำแหน่งของยีนส์ (Genes) หลาย ๆ ตัวบนโครโมโซมได้ถูกใช้จำแนกพันธุ์ไหม ในด้านเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ไหมที่ประสบความสำเร็จมาแล้วคือ ไหมพันธุ์ใหม่ที่แยกเพศได้จากลักษณะของหนอนไหม หรือสีของรังซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแยกเพศพันธุ์ไหมที่ใช้ในการผลิตเป็นอย่างมาก ประสบการณ์ที่ได้รับจากการพัฒนาพันธุ์ใหม่ ๆ เหล่านี้ยังได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาแนวทางสร้างพันธุ์ไหมที่ให้หนอนไหมเพศผู้เท่านั้น ซึ่งจะทำให้กำไรสูงและได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี โดยการทำให้เกิดยีนส์ตาย (Lethal genes) ในเพศเมียเหล่านี้นับว่าเป็นแหล่งพันธุกรรมของไหมเพื่อใช้ในการสร้างพันธุ์ใหม่ ๆ ไหมพันธุ์ใหม่หลายพันธุ์กินอาหารได้หลายชนิดเช่น แอปเปิ้ล กะหล่ำปลี นอกจากใบหม่อน การนำพันธุ์ไหมเล่านี้มาศึกษาเพื่อที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ ที่สามารถเลี้ยงได้ ด้วยอาหารเทียมซึ่งทำจากอาหารสัตว์ที่มีราคาต่ำ                                               

   ในการศึกษาด้านโรคของแมลงในสหรัฐอเมริกาเชื้อ (Bacillus Thuringiensis) ซึ่งแยกจากหนอนไหมได้นำมาใช้เป็นสารกำจัดแมลง (Microbial Insecticide) เชื้อรา (Filamentous Fungi) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อหนอนไหม พบว่าทำลายด้วงหนวดยาวจึงมีการใช้เชื้อรานี้กำจัดด้วงเจาะลำต้น ซึ่งป้องกันยากเพราะมันเข้าไปทำลายภายในลำต้นยังมีการศึกษาอีกมากมายในด้านสรีวิทยาและชีวเคมีของไหม เช่น การใช้ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ได้มีการใช้เซลล์ของหนอนไหมหลาย ๆ พันธุ์เป็นอาหารสัตว์ เชื้อไวรัสและจุลินทรีย์ที่สามารถใช้กำจัดแมลง การปลูกเชื้อไวรัสที่เจือจางในหนอนไหมสามารถใช้เป็นวัคซีนป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการเลี้ยงเชื้อไว้รัสและจุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคและสารที่มีประโยชน์ต่างๆ                       

    หนอนไหมมีความสามารถผลิตโปรตีนได้ถึง 40% ของน้ำหนักตัวไหม มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แมลงชนิดนี้เพื่อผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ยารักษาโรคและสารที่มีประโยชน์ โดยใช้เทคนิคการจัดเรียงตัวของยีนส์ (Gene Recombination  Technique) โดยใช้เชื้อไวรัสและเชื้อ (colon bacilli) เข้าไปในยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนของหนอนไหม ซึ่งต้องใช้กลไกพิเศษเช่น culture beds ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในกรณีของจุลินทรีย์การผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และขบวนการในการกลั่นกรองจะง่ายขึ้น ดังนั้นความหวังอันสูงสุดในการใช้ประโยชน์ใหม่ ๆ จากหนอนไหมก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคอันนี้ 

ที่มา:    A New Silk Road by Dr. Tsuyoshi Murakami in Farming Japan Vol.  2-3 1988

หมายเลขบันทึก: 112171เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท