เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (29.1)


Integrates National Health Framework เพื่อสร้าง National Health Strategy

               เช้าวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน ตื่นนอน 7 โมงครึ่ง  รีบอาบน้ำแต่งตัวไปทานอาหารที่ห้องอาหารของหอพัก อากาศค่อนข้างหนาว วันนี้ถือมาม่ากระป๋องไปด้วยไปเติมน้ำร้อนที่ห้องอาหาร วันนี้จึงได้กินอาหารถูกใจคือมาม่าจากเมืองไทยที่น้องเดือนเตรียมไปด้วย

                เวลา 9 โมงเริ่มเรียนแต่ไม่มีการสอนเป็นการอภิปรายกันเพื่อเปรียบเทียบระบบบริการของไทยและออสเตรเลียโดยมีอาจารย์เดวิด บริ๊กกส์ เป็นผู้นำกลุ่ม ให้มีการอภิปรายเพื่อหาประเด็นที่สำคัญและท้าทายของระบบริการสุขภาพของไทยที่จะมีการพัฒนาในอนาคต(Issues & Challenge) นอกจากพวกเรา 6 คน อาจารย์บุญชอบ อาจารย์ประวิทย์ อาจารย์เดวิดแล้ว ยังมีหมอจอห์น หมอแมรี่ ดิตตัน หมอลิน เออร์วิน เป็นทั้งการอภิปรายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจนถึงเวลาพักเบรคจึงเสร็จสิ้น

                หลังจากนั้น 11.00 น.ก็เริ่มเรียนบทต่อไปในเรื่องของ The Organization and Management of Health Service โดยอาจารย์เดวิด จนถึงเที่ยงครึ่งจึงได้พักทานอาหารกลางวัน ในการวางแผนกลยุทธ์นั้นจะมี Strategic Management Process ดังนี้

  1. Strategy Analysis มากรวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และความต้องการกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. Strategic direction กำหนดวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์และการกำหนดตัวชี้วัดผลงานอย่างชัดเจน
  3. Strategy choice สร้างข้อเสนอทางกลยุทธ์แล้วเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม
  4. Strategy implementation สร้างระบบที่เหมาะสม รับและใช้ทักษะและทรัพยากร พัฒนาโครงสร้างองค์การอย่างเหมาะสม จัดการวัฒนธรรม
  5. Strategy evaluation & Control วัดผลทางกลยุทธ์ ทำการแก้ไขสาเหตุของข้อผิดพลาด (Corrective action)

            ในการปรับตัวเข้ากับบริการสุขภาพในชนบทในอนาคตนั้น การบริหารระบบริการสุขภาพจะต้องมีการปรับตัว โดยEvidence-based change management strategy จะต้องอาศัย

  1. Data on Health status
  2. Community priority setting
  3. Provider priority setting
  4. Partners priority setting

นำสิ่งที่ได้จากทั้ง 4 กลุ่มมาทำResearch/evidence-based test สร้าง future research effortsและ Re-framed priorities

            Integrates National Health Framework เพื่อสร้าง National Health Strategy โดยอาศัยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ

  1. Education strategy
  2. Employment strategy
  3. Transport & Infrastructure strategy
  4. Communication and IT/IM strategy
  5. Environment strategy

                มี 3 ประเด็นหลัก (Dimensions) ที่เป็นกรอบที่ใช้ในการพิจารณาสุขภาพชนบทในอนาคต 8nv

  1. Resources การเมืองและนโยบายที่จะใช้ในการจัดสรรทรัพยากรทางด้านสุขภาพ
  2. Services การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ
  3. People ชุมชนชนบท บุคคล ครอบครัวและกำลังคนทางด้านสุขภาพ
            Driver of change for the future in Rural Health
  1. Key Drivers การถูกแยกทางประชากรและสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมือง ประชากรศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐาน
  2. Societal drivers การเปลี่ยนแปลงพลิกผันของชุมชนชนบท การเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของผู้บริโภค  ช่วงกว้างของการเข้าถึงบริการและความจริงที่ว่าการมีผู้สูงอายุมากขึ้น
  3. Health service drivers การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกำลังคนด้านสุขภาพและการรับรู้ ตัวแบบการส่งมอบบริการและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 11184เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2006 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท