amazon13


โทรทัศน์การศึกษา

    ความหมาย''โทรทัศน์การศึกษา"

  "โทรทัศน์'' หมายความว่า "การเห็นในระยะไกล"หมายถึง การส่งภาพและเสียงจากสถานีส่งไปยังผู้รับซึ่งเป็นมวลชนในที่ต่างๆเพื่อสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ให้ชมพร้อมๆกันเมื่อมีการนโทรทัศน์มาใช้วงการศึกษาจึงเรียกว่า"โทรทัศน์การศึกษา"สำหรับคำว่า"โทรทัศน์การสอน"หมายถึงการใช้โทรทัศน์เป้นสื่อเพื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะ

 ระบบการแพร่สัญญาณของโทรทัศน์

1.การแพร่สัญญาณในระบบวจรเปิดระบบนี้ส่ภาพและเสียงออกไปยังเครื่องรับต่างๆได้ตามแรงรัศมีซึ่งแยกออกเป็น2ระบบย่อย คือ

1.1ระบบ VHF ( Very High Frequency )ส่งคลื่นออกอากาศทางโทรทัศน์12ช่องใช้เพื่อความบันเทิงและการค้า

1.2ระบบ UHF ( Ultra High Frequency )ส่งคลื่นออกอากาศทางโทรทัศน์70ช่องใช้เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิล

2.การแพร่สัญญาณในระบบวงจรปิดเป็นการแพร่ภาพและเสียงในบริเวณจำกัดกว่าในระบบแรกเนื่องจากแพร่ภาพตามสายแทนออกอากาศ

ประเภทของรายการโทรทัศน์

1.รายการโทรทัศน์เพื่อการค้าเป็นรายการเพื่อความบันเทิงและธุรกิจโฆษณา

2.รายการโทรทัศน์การศึกษาเป็นรายการเพื่อความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ

3.รายการโทรทัศน์การสอนเป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อหลักสูตรทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียนเพื่อเสนอบทเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

วัสดุบันทึกที่ใช้กับโทรทัศน์

วีดิทัศน์

วีดิทัศน์หรือวีดีโอ แบ่งเป็นวัสดุคือแถบวีดิทัศน์และอุปกรณ์เครื่องเล่นวีดิทัศน์แถบวีดิทัศน์สามารถเลือกดูภาพตามต้องการได้โดยการบังคับแถบเทปให้เลื่อนเดินหน้าถอยหลังดูภาพช้าหรือหยุดดูเฉพาะภาพก็ได้แต่ภาพที่หยุดดูไม่คมชัดเท่าที่ควร

แผ่นวีดิทัศน์

แผ่นวีดิทัศน์หรือ"แผ่นบันทึกภาพ"หรือ"แผ่นภาพ"สามารถบันทึกภาพและเสียงจากฟิลม์ภาพยนตร์หรือแถบวีดิทัศน์ได้โดยการบันทึกจากแหล่งผู้ผลิตแผ่นวีดิทัศน์มีชื่อเรียกใหม่ว่า "laseer disc"

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอน

ข้อดี

1.สามารถใช้โทรทัศน์ในสภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัด

2.เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อประสม

3.เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์ได้

4.สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจน

ข้อจำกัด

1.การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบได้

2.ผู้เรียนจะต้องศึกษาบทเรียนจากสื่ออื่นๆเพิ่มเติมการใช้สื่อโทรทัศน์

3.อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสารเช่นกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

4.การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ

ระบบการส่งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอน

1.การส่งรายการโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอน เป็นรายการที่ให้ความบันเทิงหรือให้ความรู้ข้อมูลแก่บุคคลทั่วไปและในขณะเดียวกันสามารถดัดแปลงให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ในการสอนของครูในห้องเรียนได้

2.การส่งรายการทางสถานีโทรทัศน์ที่มิใช้เพื่อการค้า

เรียกได้ว่าเป็นรายการเพื่อปรุแต่งและเสริมคุณค่าการศึกษาซึ่มีบทบาทเพื่อ

2.1ช่วยอธิบายเพิ่มเติมประกอบวิชาที่ยากแก่การสอนของครู

2.2ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของการสอนในห้องเรียนในวิชาที่มีสื่อและทรัพยากรจำกัด

2.3เสริมแรงกระตุ้นของเนื้อหา

3.การส่งโทรทัศน์วงจรปิด

โทรทัศน์วงจรปิด หมายถึง ระบบการส่งโทรทัศน์ที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถเชื่อมดยงติดต่อกันด้วยสายแทนการออกอากาศตามธรรมดาของสถานีโทรทัศน์ซึ่งมีอยู่3รูปแบบคือ

3.1การใช้กล้องโทรทัศน์กล้องเดียวถ่ายทอดการสอน

3.2การใช้กล้องโทรทัศน์กล้องเดียวถ่ายทอดการสอนหรือเหตุการณ์ในที่นั้นส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หลายเครื่องที่ติดตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือในห้องอื่นๆ

3.3การใช้โทรทัศน์หลายกล้องและเครื่องวีดิทัศน์เพื่อแพร่ภาพแก่ผู้เรียนที่อยู่ในตึกต่างๆ

4.การส่งโทรทัศน์ทางสายเคเบิลหรือเคเบิลทีวี

ระบบการส่งโทรทัศน์ทาสายเคเบิลเริ่มมีมาตั้งแต่พ.ศ.2493ในเมือกแลนส์ฟอร์ด รัฐเพนซิลเวอเนีย สหรัฐอเมริกา เพราะเมืองนี้ตั้อยู่ในหุบเขาทำให้มีเงาภูเขาปกคลุมเมืองเป็นอุปสรรคต่อการรับสัญญาณด้วยความคิดติดตั้งเสาอากาศขนาดใหญ่โดยการต่อสายเคเบิลไปยังที่ต่างๆในชุมชนจึงเรียกขบวนการนี้ว่า "โทรทัศน์เพื่อชุมชน"ใช้เพื่อการเรียนการสอนหรือเพื่อความบันเทิง

5.การส่งโทรทัศน์ด้วยคลื่นไมโครเวฟ

เป็นการส่ระบบเดียวที่ใช้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Instruction Television Fixedservice (ITFS)ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาในสถาบันต่างๆดดยเฉพาะและเป็นที่รู้จักกันไม่แพร่หลายมากนักการส่งระบบนี้เริ่มขึึ้นเมื่อพ.ศ.2506โดยใช้คลื่นไมโครเวฟความถี่2500-2690เมกะเฮิรตซ์โดยไม่จำเป็นต้อต่อสายไปยัห้องเรียนต่างๆเหมือนกับระบบการส่งโทรทัศน์ทาสายเคเบิล

6.การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม

มาจากแนวความคิดในเรื่องของสมรรถนะของเทคโนโลยีที่สามารถให้การติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชาติในที่ต่างๆคนสามารถติดต่อส่งข่าวสารถึกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วจึงได้นำมาใช้ในวงการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้เรียนที่อยู่ต่างทวีปสำหรับดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะดวงแรกได้แก่ดาวเทียมชื่อ"เอทีเอส-6"ในปีพ.ศ.2517

การใช้โทรทัศน์การสอน

1.เตรียมตัวผู้สอนมี3กรณีคือ

1.1ในกรณีที่ผู้สอนเสนอการสอนสดทาโทรทัศน์วงจรเปิดหรืองจรปิดผู้สอนต้องเตรียมเนื้อหาและสื่อมีการใช้ภาษาถูกต้องการแสดงสีหน้าท่าทางมีบุคลิกดี

1.2หากเป็นการนำโทรทัศน์มาใช้สอนควรตรวจตารางออกอากาศของรายการโทรทัศน์อธิบายส่วนที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและตรวจการปฎิบัติงานของผู้เรียน

1.3ในกรณีเป็นการนำรายการที่บันทึกไว้มาใช้สอนผู้สอนต้อดูรายการนั้นก่อนว่ามีส่วนสำคัญและน่าสนใจอยู่ตรงจุดใจเพื่อสามารถแนะนำผู้เรียนก่อนการเรียนได้

2.เตรียมสถานที่และสภาพแวดล้อม

2.1จัดห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ

2.2ไม่ควรตั้งเครื่องรับโทรทัศน์ใกล้หน้าต่าง

2.ขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เรียน

ความกว้างของการจัดแถวที่นั้งชมไม่เกิน45องศา

2.5ควรจัดเก้าอี้นั้งใกล้กันไม่ควรนั้ใกล้กว่า7ฟุต

2.6ระยะนั้งใกล้สุดจากจอโทรทัศน์ต้อไม่เกินขนาดของจอ

3.เตรียมชั้นเรียน

4.การสอน

5.การติดตามผล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11176เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2006 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท