หัวใจดี เริ่มที่เอวลดลง 1 นิ้ว


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องอ้วนลงพุงมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีข่าวดีที่ว่า การลดเส้นรอบเอวลงอย่างน้อย 1 นิ้วไปนานๆ มีผลต่อสุขภาพหัวใจมากกว่าที่คิด…

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องอ้วนลงพุงมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีข่าวดีที่ว่า การลดเส้นรอบเอวลงอย่างน้อย 1 นิ้วไปนานๆ มีผลต่อสุขภาพหัวใจมากกว่าที่คิด…

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์เบเวอร์ลี บัลคัน และคณะ แห่งสถาบันวิจัยสุขภาพฝรั่งเศส (INSERM) ทำการศึกษาพบว่า

คนที่มีขนาดเส้นรอบพุง หรือเส้นรอบเอว (waist line) เพิ่มขึ้น 3 นิ้วนาน 9 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) เพิ่มขึ้น

กลุ่มอาการเมทาโบลิคเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนอ้วน (ดัชนีมวลกาย / body mass index สูง) หรืออ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน / ปกติผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร / ผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร)

กลุ่มอาการเมทาโบลิคพบมากเป็นพิเศษในคนที่มีโรคอ้วนลงพุง…

กลุ่มอาการนี้มีองค์ประกอบหลายๆ อย่างที่เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เช่น ความดันเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือด(ไตรกลีเซอไรด์)สูง ฯลฯ

การศึกษานี้พบว่า ผู้หญิงที่ลดเส้นรอบเอว หรือเส้นรอบพุงลงได้อย่างน้อย 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) ไปนานๆ มีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมทาโบลิคลดลง 4 เท่า

แนวทางในการลดเอวให้ได้ 1 นิ้วที่สำคัญได้แก่

  1. ระวังอย่าให้อ้วน หรือถ้าอ้วนแล้ว… ควรลดน้ำหนัก โดยเน้นการควบคุมอาหาร ลดอาหารทอด เพิ่มผัก ถั่ว เห็ด งา ปลา และผลไม้ที่ไม่หวานจัด และออกแรง-ออกกำลังทุกวัน
  2. ระวังอย่าให้อ้วนลงพุง… ป้องกันโดยการออกกำลังเทียบเท่าการเดินเร็วอย่างน้อยวันละ 30 นาที ถ้าน้ำหนักเริ่มขึ้นหรืออ้วน ควรออกกำลังเทียบเท่าการเดินเร็วอย่างน้อยวันละ 60 นาที
  3. ลดน้ำตาล ข้าวขาว และแป้งขัดสี(แป้งขาว)… เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง
  4. ออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส ดึงสปริงหรือยางยืดออกกำลัง ฯลฯ เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อซึ่งช่วยเผาผลาญน้ำตาลได้มากกว่าเนื้อเยื่อไขมัน
  5. งด-ลด-ละ-เลิกเหล้า เบียร์ ไวน์… เนื่องจากเหล้า(แอลกอฮอล์)ให้กำลังงาน(แคลอรี)สูงมาก และทำให้ขาดสติ และทำให้กินมากเกิน

 

อาหารที่มีส่วนช่วยป้องกันกลุ่มอาการเมทาโบลิคจะเน้นไปทางอาหารธรรมชาติ ซึ่งไม่ผ่านการขัดสี และไม่เติมน้ำตาล เน้นการเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และไม่กินแป้ง-น้ำตาลมากเกิน

เป็นที่น่ายินดีว่า อาหารดีๆ หลายกลุ่มมีส่วนป้องกันกลุ่มอาการเมทาโบลิค เช่น อาหารแบบชีวจิต อาหารแบบแมโครไบโอติค ฯลฯ เป็นที่นิยมกันมากขึ้นทั่วโลก

ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี ไม่มีกลุ่มอาการเมทาโบลิคไปนานๆ ครับ

ข่าวประกาศ...                                                  

  • ผู้เขียนขอปิดส่วนความคิดเห็น และงดตอบปัญหา เพื่อปรับปรุงคำหลัก (key words) บันทึกย้อนหลังไปพลางก่อน

ขอแนะนำ...                                                    

  • ขอแนะนำให้อ่านเรื่อง "ป้องกันอ้วนลงพุง+กลุ่มอาการ metabolic"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ลดความอ้วน"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "เบาหวาน"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                       

  • Many thanks to Reuters > Amy Norton > Trimming the waist may trim diabetes, heart risks > [ Click ] // source: Diabetes Care. July 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 13 กรกฎาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 111468เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท