กรอ.คืนชีพ (หรือเปล่า)


ความหวังของคนจนกับโอกาสทางการศึกษา

  ข้าพเจ้าได้รับ ข้อมูลจากศูนย์เรียนรู้แห่งหนึ่งในภาคอีสาน เกี่ยวกับเรื่อง การให้ฟื้นกองทุนกรอ. (ข้อมูลในน.ส.พ. ไทยรัฐ ฉบับ 18062 วัน พฤหัสบดีที่ 5 ก.ค. 2550 ข่าวการศึกษา ) ฟังดูแล้วก็มีความหวังขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็ยังสงสัยว่า ให้ น.ศ. ในชั้นปี2 ของรุ่น 2549 สามารถกู้กรอ.ต่อไปได้ แต่ต้องเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นของ กยศ. ฟังดูแล้วแปลกๆเพราะกองทุนกรอ.กับกยศ. มันคนละเรื่องกันเลย เงื่อนไขคนละอย่าง อย่างนี้ผลกระทบต่อน.ศ.ก็ยังมีเหมือนเดิม ท่านต้องอย่าลืมว่าการตัดสินใจสมัครเรียนของ น.ศ.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ขาดโอกาสทางการศึกษา บางคนมีตำแหน่งในหมู่บ้านเช่น เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นสมาชิก อ.ป.ท. ซึ่งการตัดสินใจก็เพราะด้วยเหตุผลของ กรอ.แทบทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า เขาเห็นโอกาสที่จะพัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นชุมชนได้ หรือจะเรียกว่าติดอาวุธทางปัญญาให้ชาวบ้านให้ฉลาดขึ้น ให้รู้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น หรือให้รู้เท่าทันต่อบรรดานักการเมืองทั้งหลายที่หลายๆครั้งที่ผ่านมา มองเห็นชาวบ้านเป็นแค่เครื่องมือในการได้มาซึ่งตำแหน่งเท่านั้น พอถึงเวลาก็ให้เขียนโครงการขอเงิน เรียกว่าจะพัฒนาทีก็ต้องรองบประมาณที พอมีงบประมาณก็มาแนะนำให้ชาวบ้านเขียนโครงการไปขอเงินกัน  พอเงินหมดก็เลิก ต้องยอมรับว่าการเรียนในหลักสูตรนี้ (สหวิทยาการเพื่อการพัมนาท้องถิ่น) เป็นการเรียนที่เน้นการปฎิบัติต่อท้องถิ่น และชุมชนอย่างมาก เช่น เมื่อ ภาคเรียนที่ผ่านมา น.ศ. ต้องทำรายงาน เกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทชุมชน การบริหารจัดการแผนฯ ซึ่งต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับชาวบ้านจริงๆ และแผนแม่บทฉบับนั้นต้องสามารถนำกลับมาใช้ได้จริงๆ ซึ่งที่ผ่านมาการพัฒนาท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังต้องทำตามนโยบายเบื้องบนอยู่ (ทางการเขาสั่งมาว่า) การพัฒนาจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่สามารถรู้ถึงปัญหาและความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง หรืออย่างการทำประชาคมของ องค์การปกครองท้องถิ่นบางแห่ง ในช่วงก่อนจะพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อเอาความต้องการเข้าข้อบัญญัติ ก็เน้นแต่ความต้องการพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า นำปะปา ซึ่งสิ่งนั้นมันเป็นหน้าที่หลักของ อปท. อยู่แล้วไม่ต้องไปถามชาวบ้านหรอก หน้าที่คือต้องทำให้เขา แต่สิ่งที่ต้องถามก็คือ ว่าเขาอยากจะทำอาชีพอะไรเพื่อพัฒนารายได้ หรือจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น และยังมีอีกหลายๆอย่างที่อยากพูด แต่ไว้โอกาสหน้า เพราะเวลาน้อย แต่อย่างไรก็ขอฝากไปถึงน.ศ. ในสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทุกท่านได้ช่วยกันตืดตามข่าวสารในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะตอนนี้มีหลายศูนย์ใด้ทำหนังสือถึงรัฐบาลให้ทบทวนมติ ครม.เมื่อวันที่ 1  พ.ค. 2550 เกี่ยวกับการยุบรวมกองทุน กรอ.กับ กยศ.เสียใหม่ อย่างน้อยก็ให้ผ่านรุ่นปี 2549 ไปก่อนเพราะได้อนุมัติมาตั้งแต่แรกแล้ว อยู่ๆมาเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เหมือน น.ศ. ถูกมัดมือชก เป็นการร้องขอความกรุณาจากท่านนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี การลงทุนทางการศึกษา ไม่ได้หวังผลที่กำไรเป็นตัวเลขหรอกครับ แต่มันวัดกันที่ความเข้มแข็งของคนในท้องถิ่น ความสามัคคี ความรู้เท่าทันของคนในท้องถิ่น และความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวบ้านในท้องถิ่น เชื่อว่าท่านผู้รู้ทั้งหลายคงมองเห็น อนาคตของสังคมไทย อย่างที่ควรจะเป็น

                                                     นายอัครชัย  อมัติรัตนะ

                                        สมาชิกกลุ่มประทาย 1 ศูนย์ฯ อ.ประทาย

                                                           9 ก.ค. 2550  ( 9.16 น.)

 

หมายเลขบันทึก: 109798เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท