@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์, ร่างประกาศการจัดเก็บข้อมูลจราจร และร่างประกาศอื่นๆ #1


กฏหมายเป็นเรื่องยาก แต่ทุกคนจำเป็นต้องเข้าใจ

อยากจะบอกเล่าว่า มีคนเขียน comment เกี่ยวกับ พรบ. ฉบับนี้ใน gotoknow หลายที่ หลาย blog แต่ดิฉันขอเขียนในแง่ที่ว่า เป็นคนๆ หนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรับรู้ ร่วมร่าง ร่วมแก้ไข พรบ. และ ประกาศต่างๆ ด้วย

ต้องขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า พรบ. คอมฯ นี้ เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว เป็นความจำเป็นที่ผู้ร่างซึ่งเป็นนักกฏหมาย (ไม่ใช่ ICT นะคะ) เห็นว่า เมื่อความเจริญของคอมพิวเตอร์มาถึงจุดเสื่อม (คือ ผู้ใช้เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด) จึงจำเป็นต้องกำหนดกติกาในการเตรียมปราบผู้กระทำความผิด

ความผิดทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ hacking, phishing, DDOS, SPAM การลบ copy หรือ edit ข้อมูลคอมพิวเตอร์, การเข้าสู่ระบบไม่ถูกต้อง (access) เป็นต้น และอนาคต ความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ก็จะมีเพิ่มไปเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าด้าน technology ด้าน IT

กฏหมายที่มี จึงมีวัตถุประสงค์หลัก ให้มีไว้เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด และเนื่องจากความผิดที่อาจจะรุนแรงได้ จึงบัญญัติให้เป็นกฏหมายอาญา

กฏหมายอาญา คือ กฏหมายที่มีบทลงโทษ ไม่เพียงแค่ปรับเป็นเงิน แต่รวมไปถึง การคุมขัง และ การตัดสินโทษประหารชีวิต

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ติดตามการพัฒนากฏหมายนี้มาตลอดต่อเนื่องหลายปี เท่าที่ทราบจากปากผู้ร่างกฏหมาย พรบ. ฉบับนี้ เสร็จในยุคอดีตนายกทักษิณ แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น คุณทักษิณตัดสินใจเลื่อนการนำ พรบ. นี้เข้าสู่ ครม. เพราะเกรงจะเป็นที่ครหาว่า ออกกฏหมายมา เพื่อบังคับคนอินเทอร์เน็ต ตราบจนมีการรัฐประหาร และมีการผลักดันกฏหมายฉบับนี้ (ซึ่งค้างเติ่งอยู่แล้วนั้น) ออกมาให้ สนช. พิจารณา จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในที่สุด

จากปัญหาเรื่องความยุ่งในการออกกฏหมาย ซึ่ง take time, ความก้าวหน้าล้ำสมัยของ technology จนยากจะเขียนเป็นตัวอักษรได้อย่างทันต่อสถานการณ์ ทางกรรมาธิการผู้แปรร่าง จึงมีมติให้กฏหมายฉบับนี้ (ฉบับแม่) ให้เขียนด้วยถ้อยคำที่เปิดกว้าง ไม่ระบุเจาะจงถึง technic หรือ technology เฉพาะ เผื่ออนาคตของการก่ออาชญากรรมที่ยังคาดเดาไม่ได้นั่นเอง

และเพื่อให้การทำงาน ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการบัญญัติ กฏหมายลูกตามมาด้วย ซึ่งถูกเรียกว่า ประกาศกระทรวง เป็นประกาศที่ให้อำนาจต่อรัฐมนตรีกระทรวง เป็นผู้มีสิทธิลงนามเพื่อเพิ่มเติมแก้ไขประกาศเหล่านั้นได้ -- ซึ่งจะเห็นว่า การปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติม ลบทิ้ง จะทำได้เร็วกว่า จะปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์มากกว่า

 

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาเล่าต่อ เรื่องของรายละเอียด ในร่างประกาศฯ ที่กำลังพิจารณาอยู่ละกันนะคะ     

หมายเลขบันทึก: 109761เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท