ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้แล้วยัง ?


สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ KBS

 

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้แล้วหรือไม่ จงอธิบาย


ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้แล้วบ้างในบางมิติ แต่ก็ยังมีอีกหลายด้านที่ยังไม่ได้ปรับปรุงเพื่อเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้

มิติที่ได้เปลี่ยนแปลงจนเป็นสังคมเศรษฐกิิิจฐานความรู้แล้วมีดังนี้

 

 - ด้านสังคม-

ความรู้
    ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้แล้วในการนำเอาความรู้ที่มีอยู่ภายใน
และภายนอกองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทางธุรกิจ  เช่น  บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย  เป็นต้น


การศึกษา

    ในปัจจุบันประเทศได้ก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ในด้านการศึกษาแล้วคือการมีสถาบันที่จะ
สอนทักษะทางด้านใดด้านหนึ่งให้กับผู้เรียน  เช่นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จะมีการเน้นทัก
ณะการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง  บางบริษัทจะมีการส่งพนักงานเพื่อไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
เพื่อที่จะนำเอาความรู้นั้นมาพัฒนาองค์กรต่อไป  เช่น  บริษัทเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย  จำกัด  โดยการพัฒนา
ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เคมีด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Constructionism Chemical Engineering Practic School : C-ChEPS)  เป็นโครงการเรียนรู้ที่เครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมกล้าธนบุรี  จัดขึ้นสำหรับพนักงานระดับหัวหน้า  ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานในโรงงานได้มีโอ
กาสศึกษาหาความรู้ทางด้านวิศวกรรมเคมี  เต็มเวลาเป็นเวลา 1 ปี  ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Constructionism หรือ การให้ผู้เรียนรู้เป็นศูยน์กลาง  เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  การปฏิบัติจริงจากการทำ
โครงการ  โครงการที่ศึกษาจำนวนหนึ่งได้นำไปใช้แก้ปัญหาจริงภายในโรงงาน


สถาบันการศึกษา

    ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สถาบันการศึกษาในบางส่วน  ซึ่งส่วนมากจะเป็นทางด้านภาคเอก
ชน  ในทางด้านการเปิดกว้างทางการศึกษา  ให้มีเสรีมากขึ้น  มีการเปิดกว้างทางศึกษาในด้านการให้ทุกคน
สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้โดยการมีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นโครงการที่มาจาก
ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมทางการศึกษาของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา 

 

ด้านเศรษฐกิจ

การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ
    ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพราะประเทศไทยได้มีการรวมตัวกันกับอีกหลาย
ประเทศเพื่อทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี  เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่น  อีก
ทั้งยังเข้าร่วมการรวมกลุ่มทางเขตเศรษฐกิจอาเซียน  (APEC) 

 

-การบริหารจัดการ-


ระบบสารสนเทศ

    ในประเทศไทยถือได้ว่าทั่วทุกองค์กรได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงานทั่วทั้งองค์กร  ตั้งแต่
การเข้ารับพนักงานจนกระทั่งถึงงานระดับใหญ่ๆเช่นการตัดสินใจ  ระบบราชการซึ่งถือว่าเป็นระบบใหญ่ของ
ประเทศมีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน  อันจะดูได้จากการ
ปรับเปลี่ยนระบบราชการให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น  เพื่อรองรับความก้าวหน้าของโลก
 





 .มิติที่ประเทศไทยยังไม่ก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้มีดังนี้

ด้านสังคม


การศึกษา
    ด้านการศึกษาของไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับทักษะของผู้เรียนที่มากพอ  แม้มีบางสถาบันที่
เปิดสอนเฉพาะทาง  แต่ก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน  จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริม
ทางด้านการศึกษาเฉพาะทางให้มากขึ้น  เพื่อเพิ่มทักษะทางการทำงานของนักเรียน  อีกทั้งทางด้านการ
คิด วิเคราะห์  ทางตรรกะ  สังคมไทยยังไม่ให้ความสำคัญในส่วนนี้  การเรียนการสอนในส่วนใหญ่ยังเป็น
แบบท่องจำ  ซึ่งไม่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะของผู้เรียนมากนัก  จึงควรที่จะมีการปรับปรุงการเรียนการ
สอนให้ทันสมัยต่อเหตุการณ์  เน้นการคิดวิเคราะห์  ทักษะทางตรรกะให้มากขึ้น


สถาบันการศึกษา

    ประเทศไทยในส่วนของมหาวิทยาลัยภาครัฐนั้นยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาให้ทัน
สมัยทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยทางเอกชนหรือทางด้านต่างประเทศ  มีการดำเนินการนำมหาวิทยาลัย
ออกนอกระบบเพื่อเป็นการเปิดกว้างทางการศึกษามากขึ้น  ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ควรเร่งปฏิบัติ  เพื่อให้
การศึกษาของประชาชนภายในประเทศทัดเทียมกับประเทศอื่น



บทบาทครูและนักเรียน

    จากการที่กล่าวกันว่า  บทบาทครูและนักเรียนในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น จะเป็นการให้นัก
เรียนได้ศึกษาค้นหาความรู้ด้วยตนเอง  โดยครูเป็นผู้แนะแนวทาง  แหล่งความรู้  หรือผลักดัน  ให้กำลังใจ
แก่นักเรียน  แต่หากในปัจจุบันนั้นประเทศไทยยังไม่ได้ทำการศึกษาในแนวนี้มากนัก มีเพียงตัวแผนนโยบาย
แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ  ครูยังคงใช้การเรียนการสอนแบบในอดีต  การสอนแบบท่องจำ  ซึ่งเป็นการให้ความรู้
หากแต่เป็นการพันฒนาทักษะของนักเรียนไม่  จึงควรมีแนวทางให้ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองและ
การผสมผสานการเรียนการสอนแบบเดิม  เพื่อเน้นให้นักเรียนได้มีความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน  อีกทั้งควร
จะมีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  การเรียนการสอนแบบนี้ยังสามารถทำได้โดยการ
เรียนรู้แบบกลุ่มหรือการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Teme Learning)





ด้านเศรษฐกิจ


การเพิ่มผลผลิต
    ประเทศไทยถือว่ามีองค์กรใหญ่ๆหลายองค์กร  ได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงาน  นำเอาความรู้
ที่อยู่ภายในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน  เพื่อให้ลดสภาวะความเสี่ยงในการตัดสินใจ   แต่หาก
มองโดยรวมแล้วถือว่ายังมีอีกหลายองค์กรที่ไม่ได้นำเอาข้อมูลภายในองค์กรเข้ามาใช้ในการเพิ่มผลผลิต
นวัตกรรมทางด้านเครื่องจักรของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ก้าวหน้าเทียบเท่ากับประเทศทางฝั่งยุโรป  อาจเป็น
เพราะประเทศไทยไม่มีเงินทุนที่เพียงพอในการนำเข้าหรือผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัย  จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา
สร้างนวัตกรรมเครื่องมือที่ช่วยในการผลิต  โดยการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา  ตรวจสอบปัญหามาเพื่อสร้าง
นวัตกรรมเหล่านี้

คำสำคัญ (Tags): #kbs
หมายเลขบันทึก: 109401เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท