ยิ้มของเด็ก คือ รอยยิ้มของหมู่บ้าน...


ผมไม่ค่อยได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ ... แต่ผมก็เชื่อว่าพวกเขาจะยังไม่สิ้นหวังต่อกระบวนการทางการศึกษา

วันจันทร์ที่ผ่านมา  (2  กรกฎาคม) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังเสร็จสิ้นภารกิจคุณพ่อที่ต้องไปส่งคุณลูกที่โรงเรียนเป็นที่เรียบร้อย  ผมก็ตัดสินใจเลี้ยวรถลงสู่หมู่บ้านในละแวกมหาวิทยาลัย  ..</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมได้รับการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการจากนิสิตที่จบการศึกษาไปแล้วว่ามีชาวต่างชาติปรารถนาจะมอบทุนและอุปกรณ์การศึกษาให้เด็กนักเรียน    ผมไม่คิดที่จะรอให้เรื่องดังกล่าวเข้าสู่ ระบบ   อีกทั้งยังเชื่อว่า  ความทุกข์ร้อน  ของผู้คนก็ไม่เคยมีฤดูกาล  และไม่มีวันหยุดรอให้เราเข้าไปเยียวยาเป็นแน่แท้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p>ผมใช้เวลาครึ่งวันอยู่ตามหมู่บ้านและโรงเรียน   โดยไม่ลืมที่จะโทรศัพท์มาบอกกล่าวมอบหมายให้ผู้ช่วยของผมจัดการเซ็นแฟ้มแทน      </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมมีโอกาสเข้าไปยังโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ห่างจากมหาวิทยาลัยร่วม  10  กิโลเมตร  และโรงเรียนแห่งนั้นมีนักเรียนระดับอนุบาล ประถม  6   แต่ยกเว้นชั้นประถม  3  เท่านั้นที่ไม่มีนักเรียน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โรงเรียนแห่งนี้,  มีครู  3  ท่าน   ยุบรวมห้องเรียนเป็น  2  ห้องใหญ่   โดยให้เด็กอนุบาล  1, 2  และ ประถม  1 – 2  เรียนในห้องเดียวกันพร้อมครูผู้ชายในวัย 40  ปลาย ๆ   ขณะที่อีกห้องทำการเรียนการสอนรวมกันของชั้นประถม 4 -  6  ซึ่งมีครูผู้หญิงในวัย 40  ต้น ๆ  เป็นครูประจำชั้น   ส่วนอีกท่าน คือ  ผู้อำนวยการโรงเรียนในวัย  50  กลาง ๆ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนขนาดเล็ก  40  ครัวเรือน   ท้องไร้ท้องนาได้ผลผลิตไม่ดีอันเป็นผลพวงของสภาพของดินและน้ำที่ไม่สมบูรณ์   ปีที่แล้วมีเด็กลืมตาดูโลก  1  ชีวิต  นั่นคืออานิสงส์ของการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผู้ปกครองส่วนหนึ่งเข้ามาทำงานในตัวจังหวัดจึงพ่วงเอาลูกเล็กเด็กแดงเข้ามาเรียนในตัวเมืองด้วย  อย่างน้อยพอเลิกงานก็สามารถรับลูกกลับบ้านได้พร้อมกัน   โดยไม่ต้องกังวลว่าลูกจะวิ่งเล่นรอพ่อแม่อยู่ที่หมู่บ้าน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โรงเรียนแห่งนี้ไม่ผ่านการประเมิน ฯ  ด้วยปัจจัยหลายประการ  ซึ่งผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้    แต่ก็เคยถูกนโยบายบีบให้ ยุบ  สถานศึกษาแห่งนี้เสีย   เพื่อนำนักเรียนอันน้อยนิดนั้นไปเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้ ๆ  ที่มีระยะห่างกันในราว ๆ  3  กิโลเมตร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชาวบ้านลุกหือทัดทานนโยบายนั้นอย่างแข็งขัน    พร้อมทั้งการกล่าวอ้างถึงความจำเป็นนานาประการ  รวมถึงการสะท้อนอย่างหนักแน่นถึงวิธีคิดดั้งเดิมของชาวบ้านว่า  ชุมชนแห่งหนึ่งจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างอันสำคัญ  คือ  บ้าน วัด สถานศึกษา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เช่นนั้น,  ผมเองก็เข้าใจว่า วัดและสถานศึกษา  เป็นเสมือนสิ่งอาภรณ์อันทรงคุณค่าในทางวัฒนธรรมที่แต่งแต้มและยกระดับชุมชนให้ดูดีและมี   ความหวัง  ในทุก ๆ มิติของชีวิตและชุมชน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่ค่อยได้เห็นรอยยิ้มของเด็กนักเรียนในโรงเรียนนั้นนัก   แต่ก็รู้ว่าพวกเขาลำบากยากแค้นอยู่ไม่น้อย   ค่ายหลาย ๆ ค่ายสัญจรไปสู่ดินแดนและหมู่บ้านอันแสนไกลจากมหาวิทยาลัย   ซึ่งหมู่บ้านและเด็กเหล่านี้ก็พลัดหลง  และถูกมองข้ามไปอย่างน่าสะท้อนใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่ค่อยได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ    แต่ผมก็เชื่อว่าพวกเขาจะยังไม่สิ้นหวังต่อกระบวนการทางการศึกษา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมอยากให้เขายิ้ม   เพราะรอยยิ้มของเขา  เป็นเสมือนรอยยิ้มของหมู่บ้าน  และเป็นเสมือนรอยยิ้มของโลก     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมจะมาเป็นส่วนหนึ่งของรอยยิ้มของเด็ก ๆ  เหล่านี้ในอีกไม่ช้า … ผมสัญญากับตัวเอง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 108456เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ช่วยอะไรได้บอกนะคะ ยินดีอย่างยิ่ง

เพราะโดยส่วนตัวคิดว่า วิทยาทาน คือสิ่งสำคัญประจำใจ ที่ยึดถือ และยึดปฏิบัติ และทำทุกเมื่อ เมื่อมีโอกาส

อาจจะช่วยได้ไม่มาก ไม่น้อย แต่ยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง บอกมานะคะ

  • เข้ามาเยี่ยมรอยยิ้มที่บริสุทธิ์
  • วันศุกร์นี้พี่มีกำหนดแผนที่จะไปสำรวจโรงเรียนและวัดเพื่อนำนักศึกษาไปทำกิจกรรมค่ะ

"ไม่ต่างจากโรงเรียนเก่าของดิฉันในอนาคตเลยค่ะ ขณะนี้คุณครูกำลังช่วยกันใหญ่เลย เอาใจช่วยนะคะ

        ผมต้องขอโทดพี่ด้วยนะค้าบที่ไม่มีเวลาเวะเข้ามาอ่านอารายดีๆๆอย่างนี้ เพราะรู้สึกว่าปี 3 งานก้อเยอะมากมาย รายงานส่งได้ทุกอาทิตย์ เวลาว่างให้ตัวเองแทบจะไม่มีค้าบ ขอโทษจิงๆๆนะค้าบ

        ตอนนี้ผมอยู่บ้านค้าบ ต้องกลับบ้านด่วนมากมายเพราะป้าอันเป็นที่รัก ที่เคารพ และที่เลี้ยงดูผมตอนแบเบาะนะได้เสียชีวีติเนื่องจากอุบัติเหตุ ผมไม่ค่อยได้กลับบ้านเท่าไหร่นัก ตอนนี้ผมก้อเลยได้กลับแต่กลับพร้อมน้ำตา และกลับด้วยความไม่เต็มใจในเหตุผลที่กลับ ผมกลับบ้านในคืนที่ท่านเสีย คือพ่อมารับอ่ะค้าบ ผมถึงบ้านราวๆ ตี 5 อันดับแรกคือผมวิ่งไปกราบศพป้าผมด้วยน้ำตาแห่งความเสียใจ หลังจากนั้นผมก้อได้ทำในสิ่งๆนึงให้กับแก คือ ผมนั่งพิมพ์การ์ดเชิญเองกับมือ โดยไม่ได้มีการจ้างร้านแต่อย่างใด การ์ดทุกใบจะมีชื่อ แขกที่เชิญ ผมบอกกับทุกคนว่าผมไม่ให้พิมพ์ซอง แต่ทำเป็นการ์ดเชิญแทน โดยไม่ต้องใส่ซอง ผมนั่งทำทั้งว้นตั่งแต่ราว 06.00 ไปเสดราว 17.46  นี่คือสิ่งที่ผมได้ทำให้ป้าผมค้าบ

        แต่พี่ค้าบสิ่งที่พี่เสนอวันนี้ผมอดที่จะสงสารเด้กพวกนั้นไม่ได้เลยเพราะต้องเรียนรวมกันทีโดยไม่รุ้อีโน่อีแหน่ พี่ว่าเราจะจัดค่ายลงไปสู่ รร. นั้นป่ะค้าบ ค่ายที่ผมอยากเหง และเชื่อว่าพี่เองก้ออยากเห็นมันเกิดขึ้น

        " ค่ายปัญญาชนคนค่าย สู่ปัญญาชนคนบ้าน "

หรือพี่อยากจะให้เหมือนกับวาทะกรรมที่ผมเคยพุดไว้

   " เด็กไทบ้าน : ปัญญาชนที่ไร้ตัวตนของคนค่าย "

       วันนี้ต้องขอโทษพี่อีกครั้งนะค้าบที่ผมพุดเรื่องผมมากเกินไปแต่ผมอยากระบายบ้างนะค้าบ เพราะมันอึดอัดนะค้าบที่ ป้าผมเสีย ไม่โกดผมนะค้าบ พี่ชายที่รัก

  • ขอเป็นกำลังใจ ให้เยาวชนของชาติและชาวบ้านชุมชนแห่งนี้จงเข้มแข็งทั้งใจและกาย

 

เหนื่อยนัก ก้พักบ้างนะ

http://gotoknow.org/blog/Mikhama/108489

เนี้ย เหนื่อยเหมือนกัน ท้ออีกต่างหาก ยังหาทางออกให้ตัวเองเลย

อย่าลืมนะ ไปนอนทุ่งนา ชมข้าวเขียวๆ เดี่ยวเดียวก็คงดีขึ้นนะค่ะ

เป็นกำลังใจให้

  • สวัสดีครับ 
    P
  • ช่วงนี้ผมมีความสุขกับการไล่ล่าความฝัน
  • มีหลายอย่างที่ต้องคำ  และคิดที่อยากจะทำ
  • และกำลังหาแนวร่วมทางความคิดอยู่ทุกขณะ  โชคดีมีนิสิตจำนวนหนึ่งที่พร้อมจะร่วมขบวนแห่งความฝันเหล่านี้ด้วยกัน
  • ......
  • ไว้มีความชัดเจนเมื่อไหร่ .....  จะขอความช่วยเหลืออีกครั้งนะครับ
  • จะได้เป็นส่วนหนึ่งของรอยยิ้มของเด็ก ณ ที่นั่น
  • .....
  • ขอบคุณครับ 
  • สวัสดีครับ พี่อัมพร
    P
  • เมื่อ  3  ปีที่แล้วก่อนวางจากกิจกรรมผมก็พานิสิตไปทำค่ายที่ชุมชนละแวกมหาวิทยาลัยบ่อยครั้ง  จนเป็นที่รู้จักมักคุ้นของชาวบ้าน
  • ทั้งค่ายสนามกีฬา,  การถวายเทียนพรรษาทุกวัด  (เกือบ 20  วัน)
  • ขณะที่ปกติก็มีกิจกรรมวันเด็กให้บริการต่อชุมชนอย่างเต็มที่
  • กลับมากิจกรรมอีกครั้ง   สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่ผมต้องการ "ต่อยอด"  ให้ชัดเจน  
  • ผมโชคดีที่มีนิสิตจำนวนหนึ่งมุ่งไปในทิศทางเดียวกันนี้
  • ....
  • ขอบพระคุณครับ
  • สวัสดีครับ  คุณวิราภรณ์ สะมะโน
  • ผมเชื่อว่าภาพเช่นนี้ปรากฏอยู่ทั่วทุกมุมสังคมของไทย
  • ตราบใดที่ครูยังไม่สิ้นหวังต่อกระบวนการการศึกษา
  • ผมเชื่อเหลือเกินว่า  เด็ก ๆ  ยัก็งไม่สิ่นหวังเช่นกัน
  • ผมเอาใจช่วยเช่นกัน ครับ !
  • ผมมาเยี่ยมมิตรรักครับ
  • ท่านยังทำงานหนักหน่วงอยู่เช่นเดิม และงานเหล่านั้นมีคุณค่า และทำเพื่อสังคมตลอดมา
  • สถานการณ์โรงเรียนประถมแถบชนบทคล้ายคลึงกัน หากมองไปยังโรงเรียนบนดอย สภาพแต่ละที่ก็อนาถาไม่แพ้กัน  ผมให้กำลังคุณครูเหล่านั้นด้วย อาจจำกัดด้วยงบประมาณด้วย ทำให้การจัดการศึกษาขัดสนเต็มที
  • ผมคิดว่าเราลงทุนด้านนี้กันมาก แต่ทำไมภาพการจัดการศึกษาที่ชนบทไกลปืนเที่ยง มันห่างไกลในเมืองมากกว่าเท่าตัวจากระยะทาง
  • คุณครูที่อยู่ท่านทำงานด้วยจิตวิญญาณแต่ก็ร่อแร่ด้วยกำลังใจที่ค่อนข้างขาดแคลน
  • เรื่องแบบนี้ผมคิดว่า เจ้ากระทรวงคงต้องหามาตรการช่วยเหลือ เรือจ้าง ที่อยู่ในชนบททั่วประเทศด้วย...
  • มาแบบบ่นๆนะครับ แต่เป็นเรื่องจริงครับผม
  • อย่าต่อว่าผมนะครับ...ที่มายึดพื้นที่บ่นตั้งแต่เช้า :)

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

            ก่อนอื่นก็ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ"   ประทับใจคำที่กล่าวว่า   ยิ้มของเด็ก คือ รอยยิ้มของหมู่บ้าน  เพราะว่า มันตรงกับโครงการการ์ตูนเพื่อน้องผู้กำพร้าที่หนูจัดขึ้นค่ะ   เด็กวันนี้ก็คือผู้ใหญ่ในวันหน้า  เด็กที่ยิ้มในวันนี้  ก็จะยิ้มต่อไปด้วยความสดใสในวันข้างหน้า  เป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  เด็กๆ มีรอยยิ้มที่บริสุทธิ์  และเด็กในชุมชนที่อาจารย์นำมาแบ่งปัน ก็น่าจะเป็นอีก 1 ชุมชนที่ยังคงเห็นเด็กๆ ที่ใสซื่อแบบนี้อยู๋ ซึ่งคงต่างกับเด็กในเมือง ใน กทม. จนนึกไปถึงลูกๆ ที่เติบโตท่ามกลางสังคมเมืองกรุง  มีแต่ความเร่งรีบ การแข่งขัน จนบางทีนึกท้อใจ อยากพาลูกๆ กลับไปอยู่ต่างจังหวัด เมื่อเห็นสังคมที่มันเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ จะปิดสังคมไม่ให้ลูกสัมผัสก็ไม่ได้ จะเลือกแต่สิ่งดีดีก็คงยาก  ยกเว้นแต่คอยพูด คอยบอกว่าสิ่งนี้ดีหรือไม่ดี คอยชี้แนะได้เท่านั้นเองค่ะ

อยากแลกเอาสังคมสดใสของต่างจังหวัด มาอยู่ในเมืองและเอาความก้าวหน้าทางการศึกษาเข้าสุ่ชนบทบ้างจังค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ  น้องสภา ...

  • คราวก่อนเราคุยกันเรื่องการสูญเสียพี่ชายของเธอในอุบัติเหตุ  ขณะที่พี่พูดถึงการเสียชีวิตของหลานชายจากอุบัติเหตุเช่นกัน
  • ไม่คาดคิดว่าครั้งนี้จะมารับรู้ข่าวการสูญเสียอีกครั้ง
  • แต่อย่างไรก็ต้องขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียนี้ด้วยนะครับ
  • ....
  • โรงเรียนแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจาก มหาวิทยาลัย  พี่คิดว่าเราน่าจะหากิจกรรมไปจัดที่นั่นสักครั้ง
  • นักเรียนเพียง 21  คนน่าจะจัดกิจกรรมได้ทั่วถึง  อย่างน้อยก็ตรวจสุขภาพให้เด็ก, มีสมุดหนังสือไปแจก
  • ไปสอนวาดภาพ, ไปเล่านิทานคุณธรรม,  ไปจัดห้องสมุด
  • ไปทำสื่อการเรียนรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ...
  • สิ่งเหล่านี้เชื่อว่า "เรา"  ช่วยกันได้
  • กลับมาเราลองมาร่วม "สร้างฝัน"  ด้วยกันสักครั้งดีมั๊ย   โดยการยกทีมสภาไปจัดกิจกรรมทำนองนี้บ้าง
  • หลุดไปจากกิจกรรมในห้องประชุมบ้างก็น่าจะดี นะครับ ...
สวัสดีครับ
P
  • ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ตอบบันทึกล่าช้า และยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมเยียน
  • ช่วงนี้ผมกำลังขับเคี่ยวกับการงานอันหนักหน่วง
  • ...
  • ดีใจครับที่ยังคงเห็นคนในสังคมไม่สิ้นหวังกับการสร้างคนหนุ่มสาวและสังคมอันเข้มแข็ง
  • และถึงแม้การสร้างนั้นจะต้องใช้กระบวนการอันหลากหลาย,  หลากหลายทั้งคน องค์กรและเวลาอันยาวนาน
  • แต่ทุกอย่างก็ต้องดำเนินต่อไป อย่างไม่สิ้นหวัง
  • ขอเพียงตัวพวกเขาเองมีสติและการตระหนักคิดที่ถูกต้อง
  • ผมว่าการ "สร้าง"  นั้นก็ไม่สูญเปล่า
  • หรือถ้าจะสูญเปล่า  ก็ถือว่าเราต่างทำดีที่สุดแล้ว  หรือแม้แต่ในมุมคิดที่ว่า การลงทุนกับคน ไม่ใช่เรื่องของการคุ้มทุนและเสียเวลา
  • หากแต่ยังไงเราก็ต้อง "ลงทุน"  กับคนอย่างไม่รู้จบกันต่อไป
  • ...
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

คุณพนัสบอกว่า

วัดและสถานศึกษา  เป็นเสมือนสิ่งอาภรณ์อันทรงคุณค่าในทางวัฒนธรรมที่แต่งแต้มและยกระดับชุมชนให้ดูดีและมี   ความหวัง  ในทุก ๆ มิติของชีวิตและชุมชน

เห็นด้วยมากๆค่ะ

เรื่อง วัด บ้าน โรงเรียน ชุมชน เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกื้อกูลกันมากค่ะ

วัฒนธรรมไทย เป็นอย่างนี้มาช้านานแล้วค่ะ และน่า จะมีต่อไป โดยเฉพาะ สภาพบ้านเมืองที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจมากๆขึ้นในทุกวันนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ..คุณแผ่นดิน..

อ่านแล้วก็นึกย้อนไปถึงตอนที่บรรจุครั้งแรกปี..41 ได้เลือกไปสอนที่โรงเรียนลักษณะอย่างนี้เด๊ะเลย..มีเด็ก 40 คนทั้งโรงเรียน..บางทีครูแอ๊วก็ได้วิ่งสอนยาวตลอดแนวไม้กระดานตั้งแต่อนุบาล1 ถึง ป.4 เลย..แต่มีความสุขนะคะ..ไม่รูเหมือนกันว่าทำไมถึงสุขได้โดยที่โรงเรียนไม่มีอะไรเลย..แต่คงเพราะได้มิตรภาพดีๆของครู1 คนกับครูใหญ่ที่ดูแลอย่างดีมากเหมือนพ่อเลย..และที่สำคัญเด็กๆและชาวบ้านน่ารักและเหมือนครอบครัวเดียวกัน..อบอุ่นอย่างที่นึกไม่ออกเลยว่าจะมีจริง..ในสังคมเมือง..สำหรับโรงเรียนเล็กๆชาวบ้านมีส่วนมากที่ทำให้โรงเรียนไม่ถูกยุบค่ะ..

ดีใจแทนเด็กๆโรงเรียนนี้นะคะ..ที่มีคนห่วงใยแวะเยี่ยมเยียน..หากทุกคนช่วยกันดูแลอย่างนี้ระบบการศึกษาต้องพัฒนาอย่างแน่นอนค่ะ..

สวัสดีครับ  คุณเอก
P
  • ขอบคุณมากเลยครับที่มาทักทายแต่เช้าเลย   ช่วงนี้ผมก็เข้าที่ทำงานเช้ามาก
  • และเช้า ๆ เช่นนี้ก็เป็นช่วงเดียวที่ผมพอมีเวลาได้เขียนบันทึกบ้างเล็กน้อย
  • สังคมคาดหวังกับกระบวนการทางการศึกษาในการแก้ไขปัญหาสังคม  และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน
  • เราลงทุนมหาศาลในทุก ๆ ปี   แต่ก็กลับกลายเป็นดังที่คุณเอกตั้งข้องสังเกต   คือ  ภาพความแร้นแค้นทางการศึกษายังคงปรากฏกายฉายชัดอยางน่าอัศจรรย์
  • เช่นเดียวกับสภาพจิตใจของครูก็ดูจะหยัดยืนอยู่ได้ด้วยหัวจิตหัวใจของความเป็นครูสถานเดียว
  • .....
  • เรายังไม่สิ้นหวัง ..ใช่ไหมครับ
  • ไม่สิ้นหวังกับเด้ก
  • ไม่สิ้นหวังกับตัวเอง
  • ไม่สิ้นหวังกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
  • ไม่สิ้นหวังกับครูดี ๆ
  • และไม่สิ้นหวังกับ "ความดี"   เพราะความดี  งดงามเสมอ
  • ....
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ
P
  • ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันนะครับ
  • ผมเองก็คิดและยังเฝ้าฝันว่าอยากทำโครงการที่เกี่ยวกับการเขียนการ์ตูนให้เด็กในหมู่บ้านในอ่านกัน
  • โดยเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับชุมชน,  เช่น ตำนานบ้าน, คุณธรรม  จริยธรรม  , นิทานชุมชน  ฯลฯ
  • และการ์ตูนที่ทำขึ้นก็จะมอบเป็นสื่อการเรียนรู้ในระดับชุมชนสืบต่อ ๆ กันไป
  • แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง  ซึ่งเป็นช่วยขายไอเดียเป็นสำคัญ
  • ....
  • ขอบคุณมากนะครับที่แวะมาทักทาย
  • และผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เช่นกัน
  • สู้ ... ครับ -  
สวัสดีครับ
P
โลกและชีวิตคนเรายังคงต้อง "ได้อย่างเสียอย่าง"  อยู่วันยังค่ำ   สังคมเมืองและสังคมชนบทคือภาพสะท้อนที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว   การเติมเต็มสู่กันและกันคือมิติที่ต้องดุแลและเอาใจใส่อย่างจริงจัง
ถึงแม้หลายครอบครัวเติบโตในสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยมลภาวะ    แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่า  หากครอบครัวอบอุ่นและมีบรรยากาศของการอยู่ร่วมที่ดี   ก็ย่อมเป็นเกราะป้องกันตัวอันสำคัญของการให้คนในครอบครัวสามารถเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างไม่ต้องหวาดวิตก  หรือมีภูมิต้านทานที่เข้มแข็งนั่นเอง
เด็กชนบท  ก็ใฝ่ฝันที่จะได้รับโอกาสเช่นเด็กในเมืองเสมอ   ทั้งโอกาสทางการศึกษา  เศรษฐกิจ ฯลฯ  แต่อย่างไรก็ตามคนบางคนอาจถูกกำหนดให้เกิดมาเพื่อเริ่มต้นในสิ่งที่ไม่เหมือนกันก็เป็นได้ .. 
ขอบคุณมากครับ -
สวัสดีครับ
P

หลายหมู่บ้านที่ผมสังเกตเห็น  ส่วนหนึ่งพบโรงเรียนและวัดตั้งอยู่ติดกัน  หรือแม้แต่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามเลยก็มี  ซึ่งทั้งสองส่วนก็เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  ยิ่งหากสามารถบูรณาการให้วัดและโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้อย่างจริงจังผมว่ายิ่งน่าจะเกิดผลดีต่อเด็ก ๆ ..

และนั่นอาจจะหมายถึงการวางรากฐานทางด้านจิตใจให้กับเด็ก ๆ  รวมถึงการปลูกฝังด้านวัฒนธรรมไทยให้ฝังรากลึกในตัวตนของเด็ก  

แต่ก็ใจหายไม่น้อยเหมือนกันครับที่บางหมู่บ้านไม่มีทั้งโรงเรียนและวัด !

สวัสดีครับ

P

อ่านแล้วก็นึกย้อนไปถึงตอนที่บรรจุครั้งแรกปี..41 ได้เลือกไปสอนที่โรงเรียนลักษณะอย่างนี้เด๊ะเลย..มีเด็ก 40 คนทั้งโรงเรียน..บางทีครูแอ๊วก็ได้วิ่งสอนยาวตลอดแนวไม้กระดานตั้งแต่อนุบาล1 ถึง ป.4 เลย..แต่มีความสุขนะคะ..ไม่รูเหมือนกันว่าทำไมถึงสุขได้โดยที่โรงเรียนไม่มีอะไรเลย..แต่คงเพราะได้มิตรภาพดีๆของครู1 คนกับครูใหญ่ที่ดูแลอย่างดีมากเหมือนพ่อเลย..และที่สำคัญเด็กๆและชาวบ้านน่ารักและเหมือนครอบครัวเดียวกัน..อบอุ่นอย่างที่นึกไม่ออกเลยว่าจะมีจริง..ในสังคมเมือง..สำหรับโรงเรียนเล็กๆชาวบ้านมีส่วนมากที่ทำให้โรงเรียนไม่ถูกยุบค่ะ..

....

ผมขออนุญาตให้ถ้อยคำข้างต้นเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ ในการสะท้อนภาพอันงดงามอีกสักครั้งนะครับ  แต่ภารกิจการสอนยาวตั้งแต่อนุบาล ถึง ป. 4  ก็ดูจะมากโข  แต่ก็คงเต็มไปด้วยบรรยากาศของการร่วมเรียนรู้ได้อย่างน่ารัก

 

การยุบโรงเรียนแล้วนำนักเรียนไปเรียนยังที่อื่น  ปัญหาการเดินทางก็เป็นตัวแปรหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความสำคัญกับลูกหลาน  ทั้งความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น   รวมถึงอีกหลาย ๆ อย่างที่ผมนั่งฟังอย่างเห็นใจ

 

ผมเคยใฝ่ฝันอยากเป็นครูสอนหนังสือตามชนบท  แต่ก็ไม่มีโอกาส  และรู้ดีว่า  การสอนหนังสือ  เป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ของผมเอง -

.....

ขอบพระคุณครับ 

 

 

       เลือกที่จะเข้ามาอ่านบันทึกนี้เป็นบันทึกแรกของคืนนี้เช่นกันค่ะ...

  • ครูไม่ครบชั้น...
  • เปลี่ยนผู้บริหารบ่อย...
  • เด็กที่เหลือแล้วจากโรงเรียนใหญ่ หรือไม่ก็ไม่มีทางไป จึงต้องมาเรียนที่นี่...
  • จำนวนเด็กน้อยลง น้อยลงทุกปี...
  • และ...โรงเรียนอาจถูกยุบ...


        เป็นปัญหาที่แฝงความเจ็บปวดไว้ในโรงเรียนขนาดเล็กเสมอมา...มีใครว่า "ปัญหามา ปัญญาเกิด" แต่เรากลับเห็นว่าในโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่ง กลายเป็น "ปัญหามา พาผู้บริหารและครูหนีเตลิด"


       ความจริงที่สะท้อนมุมหนึ่งของการจัดการศึกษา วันนี้ถือเป็นโชคดีของโรงเรียนขนาดเล็กบ้างแล้ว ที่มีผู้สนับสนุนจากหลายที่หลายแห่งให้การช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก จนโรงเรียนขนาดที่เรียกว่าจะเล็กก็ไม่เล็ก จะเป็นขนาดกลางก็ไม่เชิง เพราะมีปริมาณเด็กเกินกว่าที่กระทรวงกำหนดให้เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เห็นแล้วแอบอิจฉาตาร้อนกันเป็นทิวแถว


       ตอนนี้กลายเป็นโรงเรียนในกลุ่มนี้ทำท่าจะมีปัญหาแทนเสียแล้ว เหมือนถูกเมิน และเป็นจุดบอดที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐอย่างทั่วถึงเช่นโรงเรียนขนาดเล็กในปัจจุบัน


        บางโรงเรียนโชคดีที่มีผู้บริหารและครูใจสู้ พร้อมจะดิ้นรนเพื่อเด็กๆ หากสภาพตรงกันข้ามก็น่าเสียใจ อย่างไรเสีย พลังของชุมชน และน้ำจิตน้ำใจจากผู้คนในสังคมเป็นน้ำทิพย์ชโลมเลี้ยง ต่อความหวังให้กับพวกเขา

       ขอบคุณนิสิตเก่าและชาวต่างชาติที่อาจารย์พูดถึง ชื่นชมบทบาทของอาจารย์เอง และรอติดตามลีลาการเป็นส่วนหนึ่งในรอยยิ้มของเด็กๆ ค่ะ

       ....ด้วยความระลึกถึงอยู่เสมอ...

สวัสดีครับ แผ่นดิน

บันทึกนี้http://gotoknow.org/blog/sikharin/118213 น่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวกัน แตได้โอกาสที่ดีกว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร

สวัสดีครับ อ.ปวีณา .. ในความโชคดีและโชคร้ายของโรงเรียนเหล่านี้ก็วนเวียนเข้ามาเป็นระยะ // เข้าทำนองได้อย่างเสียอย่าง ..// เด็กในหมู่บ้านหลายคนเข้าไปเรียนในตัวเมืองที่อยู่ไม่ไกลนัก .. และส่วนใหญ่ก็ติดตามพ่อแม่ไปเนื่องจากผู้ปกครองไปทำงานในเมืองอยู่แล้ว /// ... โรงเรียนเหล่านี้ไม่ถูกยุบ แต่ก็ยังเผชิญกับปัญหาความขาดแคลนในหลายอย่าง และความขาดแคลนเหล่านี้เองที่เป็นปรากฏการณ์พบเห็นได้ทั่วไปในระบบการศึกษาไทยของเรา .../// ... ผมดีใจมากที่ล่าสุดนี้ ได้ช่วยเหลือพวกเขาบ้างแล้ว ถึงจะไม่ได้ลงมือด้วยตนเอง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งกับนิสิตเหล่านั้นด้วยเหมือนกัน .../// ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ ครูเสือ... ผมคลิกไปตามลิงค์ที่ให้ไว้แต่ไม่พบ.. ไว้จะลองสืบค้นดูนะครับ

ดีใจนะที่ได้รู้จักคุณครูผู้ที่ทุ่มเท.ทั้งจิตวิญญาณ

ให้แก่เด็กโดยไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย

ยามใดเหนื่อยล้า

มองใบหน้า ...เด็กน้อย

ฉาบด้วยรอยยิ้ม..มีความสุข

อีกหลากหลายคำถามจากเขา..ครู..?????

หนูรักครู....ผมรักครูครับ...ครูอย่าย้ายไปไหนอีกเลยนะ

ครู..อย่าทิ้งหนูไปนะคะ...อยู่ที่นี่....

ครู...หนูยังจำคำสอนของครูได้ทุกคำ...??

และอีกหลากหลายคำบอกกล่าว...ออกจากปากน้อย..

ที่เดียงสาไม่มีเสแสร้ง...เพียงนี้ก็หายเหนื่อยแล้วละ

สำหรับครู....ครูคนหนึ่งซึ่งเป็นเพียงครู.....

เป็นหนึ่งกำลังใจคุณครูทุกคน...จ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท