เชื่อเหนือศรัทธา


ศรัทธา ---------> เชื่อด้วยความรู้(สึก)

งมงาย ---------> เชื่อเพราะความไม่รู้

รู้ความไม่รู้ นั่นคือความรู้ที่แท้จริง

ธรรมมะ คือสภาวะความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้สอนให้คนยึดติดในตัวตน เพราะ "สิ่งที่ปิดกั้นเรา ก็คือตัวเราเอง"

แม้จุดประสงค์ของทุกศาสนาจะต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี แต่การยึดติดในตัวตนโดยเรียกนามสมมุติว่าพระเจ้าของตน แม้จะมีผลดีในตอนต้น คือ

  • ทำให้คนมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ไว้ต่อสู้และป้องกันความชั่วของตนเอง

แต่ก็มีข้อเสียในตอนปลายคือ

  • เมื่อไม่เดินทางสายกลาง ไม่เข้าถึงแก่นแท้ หรือนับถืออย่างสุดโต่ง ความนับถือนั้นจะกลายเป็นความหลงผิดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพราะต่างก็ยึดมั่นในพระเจ้าของตน ขอบของความเชื่อที่เลื่อมล้ำกันจะมีผลให้เกิดสงครามศาสนา หรือนำศาสนาลัทธิความเชื่อไปใช้ในทางที่ผิด เช่นลัทธิก่อการร้าย ที่ปัจจุบันเป็นปัญหาร้ายแรงระดับโลก และเป็นปัญหาของพวกเราทุกทุกข์คน โดยไม่แบ่งชนชาติ สีผิว หรือลัทธิศาสนา

"I am losing the illusion of self through self-control, er, uh, overcoming the self by the self, er, well, the me who needs to be enlightened is doing the self-denial necessary to overcome the illusion of the ego, only it is not supposed to exist, er.....arrgggggh!"

ทางสายกลาง

  • ความเชื่อ

ความเชื่อเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การปักใจเชื่อโดยไม่มีอิสระที่จะเลือกเชื่อโดยแท้จริงมันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าการเลือที่จะเชื่อของเรานั้นอยู่ภายใต้กรอบกรงขังแห่งอิสระ การเชื่อต้องมีมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอ เราจึงเลือกที่จะเชื่อ หากเราไม่เปิดทัศนคติให้กว้างพอแล้ว ความน่าจะเป็นในการพบมูลเหตุที่มีน้ำหนักก็จะน้อยลง ในเมื่อเรามีทางเลือก  การเชื่อที่เสมือนถูกบังคับให้เชื่อ ยังสมควรที่จะเชื่ออีกหรือ ?

  • กรงขังแห่งความเชื่อ
เรามีอิสระจริงหรือ อิสระใดๆคงจะไม่สำคัญเท่าอิสระในการเลือกจะเชื่อ

ปกติคนเราเกิดมา ก็ไม่มีอิสระในการที่จะเลือกเชื่ออยู่แล้ว สิ่งแวดล้อม สังคม และครอบครัว ต่างยัดเยียดความเชื่อใส่สมองเรา

คนอิสลาม เกิดมาก็ถูกปลูกฝังให้เชื่อในพระมูฮัมหมัด
คนคริตส์ เกิดมาก็ก็ถูกปลูกฝังให้เชื่อในพระเยซู
คนพุทธ เกิดมาก็ถูกปลูกฝังให้เชื่อในพระพุทธเจ้า มีพระพรหมณ์ให้เชื่อเป็นของแถม

เราเลยอยู่ในกรง ในกรอบกันหมด อิสระในการเลือกที่จะเชื่อโดยแท้จริงจึงไม่เกิดขึ้น 

mgu0009l

allwc8

 

 

 

  •  เชื่อมั่น

หลังจากการถูกบังคับให้เลือกเชื่อ ภายใต้ตัวแปรที่จำกัด จนพบมูลเหตุที่มีแนวโน้มสนับสนุนแนวความเชื่อนั้นๆ จากความเชื่อลอยๆ ก็จะกลายเป็นความเชื่อมั่น

  • ศรัทธา

แต่หลังจากการเห็นผลของความเชื่อมั่นปรากฎเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักชัดเจนขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นหลักที่ปักอย่างหลวมๆ หรือหลักที่มีฐานที่มั่นคงก็ตาม) โดยการประสบด้วยตนเองหรือรับรู้ข่าวสารมาก็ตาม ความเชื่อมั่นที่แรงกล้าซึ่งเป็นผลจากความเชื่อนั้นๆก็จะกลายเป็นศรัทธาในที่สุด  

ในขั้นตอนของความเชื่อมั่นที่จะกลายมาเป็นศรัทธานี้ มีเหตุที่เป็นหลักให้เกาะหรือยึดติดมากมายเหลือเกิน ตั้งแต่ ผีสางนางไม้ หมอดูหมอเดา หมอสเน่ห์ เทพ เจ้าเข้าทรง สิ่งศักศิทธ์ ไปจนถึง UFO ฯลฯ..   

ศรัทธา แปลตามรากศัพท์ จะมีความหมายง่ายๆที่แปลว่า "สนใจ" ทุกศาสนาลัทธิความเชื่อ จะสนใจเหมือนกันหมดแม้ว่าสิ่งที่สนใจนั้นจะต่างกันก็ตาม  ศรัทธาเปรียบได้ดังเชื้อเพลิงหลักของจรวดที่กำลังพุ่งขึ้นสู่อวกาศ หลังจากขึ้นสูงพอเชื้อเพลิงนั้นก็จะถูกปลดทิ้ง เชื้อเพลิงที่ทำให้ไฟลุกติดมีหลายชนิด สำคัญอยู่ที่ว่าชนิดของเชื้อเพลิงนั้นๆ จะแรงพอที่จะส่งจรวดให้รอดพ้นแรงโน้มถ่วงได้หรือไม่นั่นเอง   

จะบินสูงหรือเร็วแค่ไหนและจะถึงจุดหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงที่คุณเลือกใช้  ไม่แน่เชื้อเพลิงนั้นอาจะเป็นแค่น้ำที่ตรงกันข้ามกับไฟก็ได้.......ใครจะรู้    

 

หมายเลขบันทึก: 108392เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ เป็นหนึ่งในผู้แวงหา

แวะมาที่นี่และได้รับประโยชน์จากที่แห่งนี้มากพอควร

ขอฝากความขอบคุณไว้ด้วยค่ะ.......ขอบคุณจริงๆ

จาก คนตัวเล็กๆผู้ขลาดเขลาและเบาปัญญา

จริงครับต้องเชื่อด้วยความู้สึกของตนเอง และต้องมีมูลเหตุและผลประกอบด้วย ขอบคุณครับดีมีประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท