เสียงสะท้อนจากฅนด้อยโอกาส : ความไม่เท่าเทียมที่ยั่งยืนในสังคมไทย


ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร ที่มีมากกว่า 500 ครอบครัว หรือหากจะนับเป็นจำนวนรายคน ก็จะมีคนเร่ร่อนไร้บ้านกว่า 1,000 คน ยังเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันจากคนในสังคม หรือจากรัฐที่ดูแลคนในสังคม แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานอย่างกรุงเทพมหานคร ที่พยายามจะเพิ่มลักษณะงานเพื่อให้เข้ามาดูแลคนเร่ร่อนไร้บ้าน แต่ในความเป็นจริงโอกาสนั้นก็ยังกระจุกตัวอยู่กับคนเร่ร่อนไร้บ้านเพียงไม่กี่คน หรือบางทีก็อาจจะไม่สามารถทำให้คนเร่ร่อนไร้บ้านตัวจริงเข้าถึงโอกาสดังกล่าวด้วยซ้ำไป

ความไม่เท่าเทียมที่ยั่งยืนในสังคมไทย 

          ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร ที่มีมากกว่า 500 ครอบครัว หรือหากจะนับเป็นจำนวนรายคน ก็จะมีคนเร่ร่อนไร้บ้านกว่า 1,000 คน ยังเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันจากคนในสังคม หรือจากรัฐที่ดูแลคนในสังคม แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานอย่างกรุงเทพมหานคร ที่พยายามจะเพิ่มลักษณะงานเพื่อให้เข้ามาดูแลคนเร่ร่อนไร้บ้าน แต่ในความเป็นจริงโอกาสนั้นก็ยังกระจุกตัวอยู่กับคนเร่ร่อนไร้บ้านเพียงไม่กี่คน หรือบางทีก็อาจจะไม่สามารถทำให้คนเร่ร่อนไร้บ้านตัวจริงเข้าถึงโอกาสดังกล่าวด้วยซ้ำไป 

          จากสถานการณ์ล่าสุดที่คนเร่ร่อนไร้บ้านที่อาศัยอยู่ที่สนามหลวงเสียชีวิตลงอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ ไม่มีเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับคนเร่ร่อนไร้บ้านเข้ามาประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวก หรือให้โอกาสสุดท้ายแก่คนเร่ร่อนไร้บ้านที่เสียชีวิตลงแต่อย่างใด การตายอย่างไร้โอกาส ไร้หลักฐานการยืนยันว่าเป็นใครมาจากไหน เป็นเครื่องยืนยันว่า ความด้อยโอกาสและความไม่เท่าเทียมเป็นสิ่งที่ยั่งยืนที่อยู่ในสังคมไทยอย่างเถียงไม่ได้ 

          เด็กที่เกิดใหม่ในสังคมไทย ถ้าบังเอิญเกิดในกลุ่มของคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่ไม่มีโอกาสพาตัวเองให้ไปคลอดลูกในโรงพยาบาลได้ โอกาสที่เด็กจะไม่ได้รับการรับรองความเป็นพลเมืองเป็นไปได้อย่างสูงมาก เพราะคงไม่มีใครกล้าที่จะรับรองว่า คนเร่ร่อนไร้บ้านที่คลอดลูกในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสนามหลวง คลองหลอด หรือที่อื่น ๆ ที่ไม่มีหลักฐานการรับรองความเป็นพลเมือง แต่หากเขาสามารถพาตัวเองให้ไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ เด็กที่เกิดมาก็จะโชคดีที่จะได้เลขประจำตัว 13 หลัก รับรองสถานภาพความเป็นบุคคลก่อนในเบื้องต้น นั้น ถือว่าเป็นเด็กที่โชคดีมาก แต่ก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ไม่ได้โชคดีอย่างนั้น 

          โอกาสทางการศึกษาที่คนเร่ร่อนไร้บ้าน ควรที่จะได้รับความเท่าเทียมกันกับคนอื่น ๆ ทั่วไปในสังคม แต่ในความเป็นจริง ก็ยังไม่ได้รับโอกาสเช่นกัน ก็สืบเนื่องมาจากการที่ไม่ได้รับการรับรองสถานภาพความเป็นพลเมืองตั้งแต่แรกเกิด ก็ทำให้ คนเร่ร่อนไร้บ้านส่วนหนึ่งเกิดความขลาดกลัวที่จะแสดงตัวและเรียกร้องสิทธิ์ให้ตนเองและคนรอบข้าง โอกาสทางการศึกษาที่เขาควรจะได้รับก็พลอยขาดไปด้วยในที่สุด 

          จากการทำงานอย่างต่อเนื่องกับคนเร่ร่อนไร้บ้านของอิสรชน อาจะกล่าวได้ว่า มุมมืดของสังคมไทย มุมที่ยังไม่มีใครมองเห็นและเข้าถึงยังมีอยู่จริง และที่สำคัญปัญหาเหล่านี้ ในบางครั้งกลับโดนละเลยโดยเจตนาจาก คนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือได้รับการเหยียดหยัน จากคนที่มีโอกาสมากกว่าในสังคม ทั้ง ๆ ที่เป็นคนไทยด้วยกันแท้ ๆ 

ตราบใดที่ เรายังมีวรรณะทางสังคมแบบแอบแฝงและไม่ยอมรับความจริงอยู่แบบนี้ ปัญหาความไม่เท่าเทียน และการเข้าไม่ถึงโอกาสของคนในสังคมไทยก็ยังจะมีอยู่ต่อไป  เพราะ โอกาสจะโดนปิดกั้นจากความเชื่อของคนที่มีโอกาสในสังคมว่า คนเร่ร่อนไร้บ้าน คือคนขี้เกียจ คือปัญหาของสังคม หากเราข้ามพ้นความเชื่อนี้ไปได้ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่เราจะขยายโอกาสให้เท่าเทียมกันในที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 107430เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท