เสวนาฟลูออไรด์


"หวังผลใหม่ แต่ใช้วิธีการแบบเดิมๆ ก็จะเกิดสิ่งใหม่ๆ ได้ยังไง"

 

วันนี้ ท่านรองฯ โสภณ รองอธิบดีกรมอนามัย ได้นัดหมายชาวกองทันตฯ ทันตบุคลากรศูนย์อนามัย กลุ่มพัฒนาทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ และภาคีเครือข่าย อาทิ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และอาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ ละค่ะ มาเสวนากัน ในเรื่องที่ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับฟลูออไรด์ ... เพื่อที่ว่า ให้รู้เขา รู้เรา และรู้เรื่องกัน ว่าเราจะต่อยอด ในเรื่องฟลูออไรด์กันอย่างไรละค่ะ ...

ท่านรองฯ ได้เกริ่นนำก่อนค่ะ ว่า

  • ... มีคนว่าเรื่องฟลูออไรด์ เหนื่อยใจ เพราะว่ามีทั้ง pro และ con เรื่องนี้พยายามทำกันมานานแล้ว
  • ผมจึงว่า "เรื่องอย่างนี้สิดี ต้องเอามาเข้าประชุมวิชาการ ... เพราะจริงๆ แล้ว บางเรื่องของวิชาการมันไม่ได้ข้อสรุป ที่ว่าต่อให้ทุกอย่าง 100% แต่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ ข้อสรุปออกมาเป็นยังไง และเราทำกันยังไง ทำกันด้วยความระวังได้อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่ต้องเอามาคุยกัน ทั้ง pro และ con"
  • ข้อสรุปนี้ ถามว่า ทำไมต้องหาข้อสรุปที่ดีที่สุด เพราะพูดถึงปัญหาต่างๆ ของบ้านเรา เรายังใช้วิธีเดิมๆ กันหรือเปล่า
  • ผลของการทำงาน ... ก็ดีขึ้นบางเรื่อง บางเรื่องก็ไม่ดีขึ้น มีคนบอกว่า ถ้าเราหวังสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ใช้วิธีเดิมๆ เป็นเรื่องตลก … เพราะว่า "หวังผลใหม่ แต่ใช้วิธีการแบบเดิมๆ ก็จะเกิดสิ่งใหม่ๆ ได้ยังไง"
  • จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดว่า ณ ปัจจุบัน ฟลูออไรด์เกินคืออะไร ฟลูออไรด์น้อยไปจะทำยังไง หรือเรื่องของทันตฯ เรามีเรื่องที่ทำกันอยู่ก็คือ เรื่องพฤติกรรม เรื่องสภาพแวดล้อม เด็กไทยไม่กินหวาน เรื่องระบบบริการ เราก็ทำไม่ว่าจะเป็น Sealant หรือ วาร์นิช หรือ เคลือบหลุมร่องฟัน
  • ที่นี้ ... พอทำไปแล้ว มันเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ก็ต้อง surveillance ดู อาจด้วย 3 ระดับง่ายๆ คือ
    1. สภาพแวดล้อมที่จะส่งผลไปถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ขนมหวาน
    2. เรื่องพฤติกรรม กินขนมหวานไหม พฤติกรรมที่จะแปรงฟันกันยังไง พฤติกรรมกินฟลูออไรด์มีไหม และ
    3. เรื่องของที่เกิดกับคนเป็นอย่างไรบ้าง อาจจะเป็นเรื่องของทางแลป การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ หรือ clinical เป็นยังไง
  • ท่านอธิบดีได้มอบไว้ว่า เราต้องทำ 6 Keys Function ... เราก็มีทำเรื่องการสำรวจสภาวะทันตฯ ทุก 5 ปี หรืออื่นๆ อยู่แล้ว
  • อีกเรื่องหนึ่งคือ R&D ถ้ามองว่าบางเรื่องยังมีปัญหา ก็ต้อง R&D แน่ๆ ว่า เราจะทำยังไงกับเรื่องนี้ ประเด็นไหนยังมีปัญหา ต้องมีเครื่องมือ
  • กองทันตฯ คงไม่จำเป็นต้องหาองค์ความรู้อะไรใหม่ๆ แต่ต้องดูว่า องค์ความรู้ที่มีอยู่จะมา implement อย่างไร จะทำเป็น pilot ทำ case study หรือ implement ทั่วประเทศ
  • ... นั่นคือ บทบาทหลัก ซึ่งเป็นเรื่องของ innovation มากกว่า inventing (ก็คือคิดค้น แล้วไปถ่ายทอด) ... คงไม่ใช่อย่างนั้น เราได้ความรู้นั้นมาแล้ว มาทำ implement ในเรื่องของเราที่เกี่ยวข้องกับสังคม เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน
  • เรื่องที่จะทำนี้ ก็ต้องมี Basic knowledge คือ พื้นฐานความรู้ เทคโนโลยีที่จะตรวจสอบ วัดง่าย
  • เช่น เรื่องหมวกกันน็อค ต้องมีฐานองค์ความรู้ต่างๆ ว่า หมวกกันน็อคชนิดไหนใส่แล้วป้องกันสมอง ป้องกันกะโหลกได้
  • อันที่สอง คือ มีเทคโนโลยีที่จะตรวจวัดไหม ใส่เทคโนโลยีนั้นไป แล้วเกิด หรือไม่เกิดผลอย่างไร ... บางเรื่อง เช่น เรื่องกลิ่น เป็นตัวเลขที่วัดไม่ได้ ถึงบอกว่า เอ้าออกนโยบายว่า ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น แต่ไม่สามารถมีเทคนิคไปวัดกลิ่นเหม็นได้อย่างไร แต่ถ้าหมวกกันน็อคเป็นเรื่องพฤติกรรมก็วัดง่ายๆ
  • อันที่สาม คือ พฤติกรรมคนในสังคมนั้น ก็เป็น event ได้เหมือนกัน
  • เรื่องของทันตฯ เรามีเรื่องฟลูออไรด์ จะเอามาใช้ได้อย่างไร ก็ต้องมี basic knowledge
  • อันที่สอง คือ เทคโนโลยีที่จะตรวจวัด วัดที่สภาพแวดล้อม วัดในคน หรือวัดการได้ใช้ หรือไม่ได้ใช้เป็นอย่างไรบ้าง
  • อันที่สาม คือ เรื่องของพฤติกรรมเป็นยังไง เช่น ใช้เรื่องการอมฟลูออไรด์ แต่ว่าพฤติกรรมไม่พร้อมอม ก็ไม่เกิด พฤติกรรมเรื่องแปรงฟัน ถ้าทำให้เกิดในชีวิตประจำวันแล้วมันก็ยังได้
  • วันนี้เป็นวันที่เราจะมาคุยกันในเรื่องของการใช้ฟลูออไรด์ เป็นเวทีที่มี pro และ con แต่ละด้านว่ากันอย่างไร ณ ปัจจุบันนี้ที่ดีที่สุด ควรจะทำอย่างไรต่อ จะต้องไปทำต่อตอนนี้ หรือว่าไปลอง pilot หรือไปทำอย่างไรกันต่อไป
  • เรามาพูดกันเรื่อง
    1. ประเด็นที่ฟลูออไรด์ว่า pro เป็นอย่างไร con เป็นอย่างไร
    2. และถ้าเกิดว่าเราจะ manage ฟลูออไรด์ได้อย่างไร ถ้าฟลูออไรด์เกินจะทำอย่างไร ถ้าฟลูออไรด์น้อยจะต้องทำยังไง และใช้ในด้านสาธารณสุขได้ไหม ได้อย่างไร
    3. ถ้าเราใช้วิธีการที่ท่านอธิบดีพูดถึง คือ
    ... surveillance เป็น fluoride mapping ดีไหม
    ... เรื่อง M&E ได้ไหม ที่เราทำกันอยู่ ทั้งที่ไปทำให้ฟลูออไรด์จากสูงลงมาต่ำทำอย่างไรได้บ้าง หรือที่มันน้อยไปจะเติม แล้ว M&E เป็นอย่างไร คือ วัดในเรื่องของสภาพแวดล้อม ทั้งพฤติกรรม และผลที่เกิดขึ้น
    ... และเรื่อง R&D มีประเด็นไหนที่ต้อง R&D ต่อ
  • มันไม่หยุดนิ่ง และคงไม่ใช้ที่สุดท้ายที่จะจบตรงจุดนี้ ... ก็ต้องมองว่า ออกมาแล้วควรจะเป็นอย่างไร

ก็เป็นมิติใหม่ละค่ะ ที่เรามารวมตัวกันในเวทีนี้ เพื่อคุยเรื่องการใช้ฟลูออไรด์อย่างจริงๆ จังๆ

 

หมายเลขบันทึก: 106576เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท