แนะนำความหมายของ เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน หรือ Embryonic stem cell


    เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน หรือ Embryonic stem cell

          นับว่าเป็นเซลล์ที่มหัศจรรย์ที่สุดและเป็นความหวังใหม่ของโรคบางโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาได้ เนื่องจากมีความสามารถที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆได้ทุกๆเซลล์ (pluripotent stem cell, แต่นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มยังจัด Hierarchy ให้เป็น Totipotent stem cell)  เช่น เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กระดูก เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนถือว่ามีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นได้ดีกว่า Adult stem cell

   หลายท่านสงสัยว่าแล้ว เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน คือ อะไร?

         

         เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนได้มาจาก ตัวอ่อน (Embryo) เริ่มต้นโดยไข่ผสมกับอสุจิเกิดการ fertilize เป็น zygote (ซึ่งในกระบวนการนี้ตามหลักแล้วควรจะเกิดในครรถ์มารดา แต่หากจะทำการทดลองให้ได้เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนแล้ว ขั้นตอนการผสมกันให้ได้ตัวอ่อนต้องทำในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยเหตุผลทางด้านศีลธรรม) จากนั้น 4-5 วัน ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็น blastocyst มีรูปร่างกลวงข้างใน โดยด้านในมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Inner cell mass ซึ่งเซลล์กลุ่มนี้จะนำมาเลี้ยงในหลอดทดลองให้ได้ เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน อธิบายได้ตามรูปภาพข้างล่าง

แหล่งที่มา: http://www.csa.com/ 

        

        

         การเลี้ยงในหลอดทดลองใช่ว่านำเซลล์มาเลี้ยงก็จะได้เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนง่ายๆ ต้องมีการทดสอบคุณสมบัติต่างๆว่าเซลล์ที่เลี้ยงอยู่ในขณะนั้นมีคุณสมบัติเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนจริงๆ คุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนคือต้องไม่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะเจาะจงชนิดใดชนิดหนึ่ง เพิ่มจำนวนในหลอดทดลองได้อย่างไม่จำกัด และ สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดอื่นๆได้

         

         นอกจากนี้โดยคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน ที่เป็น pluripotent stem cell จะมีการแสดงโปรตีนบนผิวเซลล์ (cell surface markers) ที่จะพบเฉพาะในเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนที่ยังไม่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะเจาะจงใดๆ (undifferentiated cells) และเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะเจาะจงได้เองเมื่อทำการเพาะเลี้ยง และหากนำเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนฉีดเข้าไปในหนูทดลองที่กดภูมิคุ้มกันไว้ไม่ให้มีการต่อต้านเนื้อเยื้อจะทำให้หนูเกิดมะเร็ง (Teratoma)  

        

         โรคที่เป็นความหวังของการรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนได้แก่

  • โรคพาร์คินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคทางสมองและระบบประสาทที่มือ แขน ขา สั่น

  • เบาหวาน (Diabetes)

  • ไขสันหลังอักเสบ (Traumatic spinal cord injury)

  • เซลล์ประสาทเสื่อม (Purkinje cell degeneration)

  • โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม (Duchenne's muscular dystrophy)

  • โรคหัวใจ (Heart disease)

  • สูญเสียการมองเห็นหรือได้ยิน (Vision and hearing loss) อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือเป็นแต่กำเนิด

        

   โรคเหล่านี้มีความหวังว่าเมื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดไปปลูกถ่ายแล้วสามารถกระตุ้นให้มีการพัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่บกพร่องไปให้มีประสิทธิภาพคืนกลับมาดังเดิม

หมายเลขบันทึก: 105628เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับ
  • ได้ความรู้มากเลย
  • ต่อไปเราจะมีองค์ความรู้แบบนี้มากๆๆใน gotoknow
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับน้อง..นารี

น่าสนใจ สมัยที่พี่เรียน bio ยังไม่มีคำนี้เลย ปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก

อยากจะให้น้องลองเอาข่าวความก้าวหน้าทางด้านนี้มาเล่าสู่กันฟังด้วย และบ้านเราทำอะไรกับเรื่องนี้บ้างและก้าวไปถึงไหนแล้ว  อยากรู้ครับ

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณคะพี่ขจิตที่ขยันเข้ามาตลอด
  • สวัสดีคะพี่บางทราย ไว้โอกาสหน้าจะพยายามเพิ่มข่าวคราวความก้าวหน้าเรื่องนี้มาให้นะคะ
  • ขอบคุณคะ

 

เป็นสิ่งที่ดีมากเลยคะ คนเรานี้นะคะเก่งจังเลยคะ เพลงฟังแล้วดีจังคะ ขอบคุณคะที่นำสิ่งดีมาเสนอคะ

 

  • ตามมาขอบคุณ
  • พี่นกเข้ามาเมื่อไรน่า
  • คงได้พักผ่อนบ้างแล้วหลังการสอบเสร็จ
  • รออ่านเรื่องอื่นๆๆอีกครับ

ขอบคุณพี่นกและพี่ขจิตที่มาทักทายคะ

สอบเสร็จหมาดๆ เรื่องต่อไปจะตามมาติดๆคะ (comming soon)

เก่งจริงๆ นะเรา

 เข้ามา comment ให้แล้วนะ

เราเองไม่ได้ทำ blog นานแล้วเหมือนกัน

 ยุ่งมั่กๆ ตอนนี้ก็เร่งงานให้ออกทัน present ปลายปีก่อน ไม่ทัน หวั่นๆ จะโดนไล่ออกอ่ะ

คิดถึงเด้อ

ข้างล่างนี้ขอทดสอบลงรูปหน่อยนะ 

[img]http://tkfiles.storage.msn.com/y1pKq6bcJXTUOsK3bHcnwsxFhC5OlzMNCbuF072HL31EuzEdbi3pCDFCVsVeA8jw0Sg[/img]

ขอบใจนายฉุยที่เข้ามา comment ไว้มีโอกาสเข้ามาแจมใน G2K นะ

สงสัยตีพิมพ์ paper ไว้เยอะมากเลย ดีๆ นำเสนอผลงานดีๆให้กับสังคม

ขอบคุณมากนะ นะครับเพิ่งทำการบ้าน เมื่อวัน จันทร์ ที่26 พ.ค. 2551 ทำการบ้านได้พี่ กลมนารี อะครับขอบคุณมากคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท