วิธีสอนแบบหมวก 6 ใบ


วิธีสอน

พอดี ผมได้ทำวิจัยกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดการเรียนการสอนโดยใช้หมวก 6 ใบ

ข้อดีของวิธีสอนนี้

1. กระตุ้นคำถามให้นักเรียนเกิดการคิด

2. เรียงลำดับขั้นตอนการคิดไม่คิดกระโดไปกระโดดมา

3. ครูฝึกทักษะการสรุปและตั้งคำถาม

อีกมากมายลอง ค้นหาเรื่องหมวก 6 ใบ ใน google ครับ

คำสำคัญ (Tags): #การสอน
หมายเลขบันทึก: 104658เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เอกสารบางทีอ่านยากมาอ่าน powerpoint ก็ได้นะครับ load ได้เลย

http://www.tempf.com/getfile.php?filekey=1182263639.56582_bb.ppt&mime=application/msword

เพิ่มเติมสำหรับคนไม่มีเวลาอ่านเรื่องหมวก 5 ใบ

เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono) ได้นำเสนอ “วิธีคิด” เพื่อแสวงหาทางออกให้กับประเด็นต่างๆ ด้วยการไม่ตัดสินถูกผิด ไม่มุ่งเพียงแสวงหาความจริงอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ให้เราหาแนวทางหลายๆ แนวทาง หรือใส่หมวกหลายๆ สี เพื่อให้เห็นความแตกต่างของหลายๆ วิธีคิด ก่อนที่จะประมวลออกมาให้เป็นแนวทางที่ดีที่สุด
แนวความคิด “หมวกหกสี” นั้น นำมาใช้เพื่อให้เราสนุกกับการคิดและสามารถมองปัญหา มองชีวิตด้วยวิธีคิดแบบใหม่ บางครั้งแม้เราจะคิดหลายๆ แบบแล้ว แต่หากเรายังมีความคิดที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ก็จะนำไปสู่ความสับสนในการคิด วิธีการสวมหมวกหกสี จึงเป็นแนวทางในการคิด ซึ่งเมื่อรวมวิธีคิดของหมวกทั้ง 6 ใบ เราก็จะได้แง่มุมในการคิดที่เป็นทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึก และเหตุผล เลยทีเดียว

1. หมวกสีขาว หมายถึง ธรรมชาติ ความเป็นจริง เรียกได้ว่าปราศจากสี ไม่มีอคติ มีความเป็นกลาง ไม่ตีความและแสดงความคิดเห็น นำเสนอด้วยข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง หากเป็นการประชุม ผู้ที่สวมหมวกสีขาวก็ต้องให้ข้อมูลในทุกๆ ด้าน เอามาวางๆ ไว้ให้รับรู้โดยทั่วกัน แต่อย่าเพิ่งถกเถียงกันว่าเรื่องไหนเป็นอย่างไร

2. หมวกสีแดง หมายถึง อารมณ์ที่ร้อนแรง เต็มไปด้วยความรู้สึก ความอบอุ่น ความรู้สึกถือเป็นส่วนสำคัญของการคิด รวมไปถึงความละเอียดอ่อนที่เรียกว่า “สัญชาตญาณ” ความรู้สึกสำนึก เมื่อนักคิดสวมหมวกสีแดงนั้น ไม่พยายามจะตัดสินอารมณ์ความรู้สึก เพราะหากมีเหตุผลใดที่เข้าท่ากว่า อารมณ์ความรู้สึกก็อาจเปลี่ยนได้

3. หมวกสีดำ หมายถึง การวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ ข้อควรระวัง สิ่งที่อาจจะเป็นอุปสรรค หรือความเสี่ยงต่างๆ บอกถึงข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด การคิดแบบหมวกสีดำไม่ใช่การโต้เถียงแบบโค่นล้ม หักล้าง แต่เป็นความพยายามอย่างมีเป้าหมาย การใช้หมวกสีดำนั้นต้องอาศัยทั้งข้อมูลและความรู้สึก อย่างเช่นการยกความผิดพลาดในอดีต มาชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้ที่ประชุมเห็นเป็นข้อสังเกตไว้ แต่อย่างไรก็ตาม หมวกสีดำนั้นต้องมีขอบเขตในการใช้ เพราะหากใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อาจทำให้บรรยากาศเป็นไปในทางลบ

4. หมวกสีเหลือง หมายถึง ความสดใส การมองโลกในแง่ดี ทัศนะเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ และโอกาส หมวกสีดำและสีเหลืองคล้ายกันตรงที่ว่า เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นทางลบและทางบวก หมวกสีเหลืองจะทำหน้าที่ค้นหาคุณค่า ประโยชน์ ความหวัง และทัศนะในแง่ดีที่น่าเชื่อถือ มีเหตุผลสนับสนุน

5. หมวกสีเขียว หมายถึง ต้นไม้เขียวขจี ความอุดมสมบูรณ์ ความคิดริเริ่ม ความเคลื่อนไหว แรงท้าทายใหม่ๆ นักคิดที่สวมหมวกสีเขียวจะต้องเป็นผู้รังสรรค์สิ่งต่างๆ เมื่อคนอื่นๆ ช่วยกันระดมความคิด หมวกสีเขียวก็จะประมวลออกมา พร้อมจะริเริ่มและเคลื่อนไปข้างหน้า จากความคิดหนึ่งไปสู่ความคิดหนึ่ง เป็นขั้นตอน Creative ที่แท้จริง เป็นการแสวงหาทางออกร่วมกัน

6. หมวกสีฟ้า หมายถึง ความเยือกเย็น สามารถควบคุม และจัดระบบความคิด นักคิดหมวกสีฟ้า จะทำหน้าที่ประสานวิธีคิดให้สอดคล้องต้องกันอย่างราบรื่น กลมกลืนกัน เป็นเหมือนวาทกรที่นำและกำกับดนตรีทุกชิ้นในวงเพื่อให้เครื่องดนตรีทุกชิ้นประสานกันอย่างไพเราะ สำรวจความคิด ซักถาม และควบคุมให้เรื่องราวดำเนินไปด้วยดี ไม่นอกลู่นอกทาง คอยให้ความมั่นใจและยุติข้อโต้เถียง

หมวกทุกใบนั้นใช้ตามจังหวะและโอกาส หรือบางครั้งอาจต้องมีการขอร้องให้ใครคนใดคนหนึ่งช่วยสวมหมวกสีนั้นสีนี้ แต่ไม่ใช่ว่าแต่ละคนจะสวมหมวกได้สีเดียว บางจังหวะเราอาจต้องสวมหมวกสีขาว หากเรามีข้อมูลอยู่ในมือ อาจต้องสวมหมวกสีเหลือง หากเห็นช่องทางที่สดใส หรืออาจสวมหมวกสีดำหากเห็นช่องว่างหรือความเสี่ยง สิ่งสำคัญของการสวมหมวกทุกใบนั้น คือ การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยกันระดมความคิดออกมาอย่างรอบด้าน เพื่อการประมวลออกมาเป็นภาพรวมที่ดี

มนุษย์นั้นนอกจากจะคิดได้แล้ว ควรจะคิดเป็นด้วย และรู้จักคัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดไปใช้ อย่าดันทุรังเพราะเป็นความคิดของตัว อย่าตามคนอื่นถ้ายังไม่ได้ไตร่ตรอง ลองนำไปคิด นำไปใช้ดู คุณสมบัติของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ของมนุษย์ จะได้ไม่สูญเปล่า

ที่มา

http://thaicivicnet.com/6%20hat.htm

ครับผม

ครูคนหนึ่งที่อยากรู้และได้รู้แต่ยังไม่อยากทำ คศ.3 ฮิฮิ
ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้ เผื่อมีโอกาสจะทำบ้างค่ะ  คิดมากเหมือนกันเวลาสอนแล้วก็ยังซ้ำซากที่ครูกลายเป็นตัวเอกของเรื่องทุกที ให้เด็กเป็นตัวเอกทีไรไม่ได้เรื่องทุกที แต่จะพยายามค่ะ พยายามหากิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย (คิดในใจแต่จะพยายายามค่ะ) ขอบคุณค่ะ สำหรับเรื่อง หมวก 6 ใบ

ไม่ทราบว่ามีโรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบนี้มีบ้างหรือเปล่าคะ เพราะว่าตอนนี้กำลังศึกษาที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้อยู่และกำลังหาโรงเรียนที่ใช้วิธีสอนแบบนี้เพื่อที่จะไปศึกษาดูงานปลายธันวาคมนี้ จะขอบพระคุณมากเลยคะ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ธิติยา พงศ์ศิริไพศาล

รบกวนช่วยส่งไฟล์ให้หน่อยนะคะเพราะกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ค่ะ กำลังอยากทำวิจัยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท