การศึกษา ความเชื่อและความรุนแรง


บางทีเราก็อาจจะอยู่ในความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งที่กำลังสร้างความรุนแรงให้กับเพื่อนมนุษย์

สืบเนื่องจากBlogครูนงว่าด้วยพรบ.กศน. ผมเห็นด้วยว่าควรแยกออกมาจากสพฐ. ขณะเดียวกันควรมองภาพรวมเรื่องการจัดการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ของประเทศด้วย

ผมเห็นว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญของชีวิตในทุกยุคทุกสมัย
ในยุคปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าตลาดเป็นแหล่งเรียนรู้และให้ความหมายของ"ความรู้"อย่างสำคัญ

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนเป็นเพียงส่วนน้อยนิด และหากว่าสถานศึกษาเหล่านี้ไม่มีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ ทั้งแบบอย่างของครู และการอยู่ร่วมกันในชุมชน(โรงเรียน มหาวิทยาลัย)ก็จะมีนัยะสำคัญต่อชีวิตของผู้เรียนไม่มากเท่าไร

สิ่งที่นักเรียน นักศึกษาจะได้รับจากสถานศึกษาคือ ความรู้ที่ครูอาจารย์เก็บเนื้อหาในหนังสือมาพูดให้ฟัง(ภาษานักวิจารณ์คือสำรอกออกมา)
การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งรอบตัวของผู้เรียนทั้งจากผู้ปกครอง
(ซึ่งลดความสำคัญลงตามช่วงวัย) สื่อต่างๆ และเพื่อนยังเป็นแหล่งเรียนรู้หลักที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตลอดมา

คำถามคือ ใครคือผู้จัดการศึกษาและควรมีบทบาทอย่างไรในฐานะ
ตัวแปรหนึ่งของการศึกษา

ผมเห็นว่า รัฐถือว่าเป็นความรับผิดชอบของตน โดยกำหนดมาตรฐานเรื่องการศึกษาเอาไว้ โดยที่พรบ.การศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้ส่วนอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้วยทั้งครอบครัวและเอกชนโดยใช้กรอบการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรฐาน

ดังนั้น ไม่ว่าใครจะจัดการศึกษาก็ต้องผ่านกรอบมาตรฐานของการศึกษาภาคบังคับ12 ปีที่รัฐกำหนดไว้

เมื่อเช้าผมฟังข่าว พลเอกสนธิ ประธานคมช.บอกว่า รัฐปล่อยปละละเลยเรื่องการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดการเผยแพร่ความคิดผ่านเยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาที่ไม่มีการศึกษาขั้น     พื้นฐานคู่ขนานไปด้วย

ผมเดาว่า การทำร้ายครู นักเรียนในสายตาของผู้ก่อการร้ายนอกจากทำได้ง่ายแล้วก็เพื่อทำลายค่านิยมที่จะแทรกซึมเข้ามาผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ
รูปธรรมที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงในความสูญเสีย พลัดพรากจึงไม่มีอยู่ในจิตใจของนักรบ
ผมคุยกับดร.เลิศชาย ศิริชัยในเรื่องนี้ อาจารย์มีความเห็นลึกลงไปว่า นักรบเหล่านี้อาจไม่ได้คิดถึงโลกนี้ซึ่งเป็นมายา แต่คิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องเพื่อโลกหน้า ความตายของผู้คนจึงไม่มีค่า แม้ตนเองก็เถอะ ซึ่งเป็นที่มาของระเบิดพลีชีพ(แต่ภาคใต้ยังฆ่าได้ง่าย จึงไม่ต้องทำถึงขั้นนั้น)

โดยเฉพาะเงื่อนไขจากการสร้างสถานะการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมือง การฉวยโอกาสของนายทุน นักเลงหัวไม้ และราชการที่มีผลประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากความรุนแรง(เรื่องนี้ผมได้ยินกับหูตัวเอง)

ถ้าเป็นเช่นที่เดามา ความรุนแรงก็ยากที่จะยุติได้โดยง่าย

ความเชื่อจึงเป็นความรุนแรงที่สามารถถ่ายทอดผ่านการศึกษา

ดังตัวอย่างที่เรารู้จักกันดีเรื่อง องคุลิมาล ที่ฆ่าคนนับพันโดยไม่สะทกสะท้าน

บางทีเราก็อาจจะอยู่ในความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งที่กำลังสร้างความรุนแรงให้กับเพื่อนมนุษย์

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา#ภาคใต้
หมายเลขบันทึก: 104457เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

เป็นบทความที่ดีค่ะ  มีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น

เพราะการศึกษาในระบบแปลกแยกจากวิถีชีวิต  โรงเรียนวัดป่ายางจึงมีนักเรียนเหลือไม่กี่คน

ด้านหนึ่ง คงเป็นแรงผลักจากการเรียนการสอนที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในชุมชน

อีกด้านหนึ่ง คงเป็นแรงดูดจากการเรียนการสอนในเมืองที่อาจจะดูดีกว่า เพียงเพราะตอบสนองต่อความคาดหวังในการใช้ชีวิตแบบคนเมืองนอกชุมชน

จะปรับใช้โรงเรียนในระบบที่ว่างเปล่ามาเป็นศูนย์เรียนรู้นอกระบบ (เพื่อชีวิต)อย่างไร

ส่วนความเชื่อที่สร้างความรุนแรง (ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ) อาจเกิดจากการเรียนรู้นอกระบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงมากกว่า 

 

การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสิ่งรอบตัวของผู้เรียนทั้งจากผู้ปกครอง(ซึ่งลดความสำคัญลงตามช่วงวัย) สื่อต่างๆ และเพื่อนยังเป็นแหล่งเรียนรู้หลักที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตลอดมา

      ประเด็น นี้ น่าสนใจดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท