เรื่องเล็ก ๆ ที่ช่วยให้เรื่องใหญ่กลายเป็นดี


ถึงอาหารอร่อย แต่บรรยากาศแย่ หรือจะรื่นรมย์เท่ารสชาติพอกลาง ๆ แต่บรรยากาศเยี่ยมยอดได้


           การอบรมพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ รุ่นที่
1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
สำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวานนี้ ส่วนวันนี้เป็นวันสุดท้ายของบรรดาผู้ขอยื่นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

          ทั้งนี้ผู้ขอรับการประเมินสองวิทยฐานะนั้น จะต้องผ่านการประเมินจากกรรมการ
3 ท่าน โดยพิจารณาจาก 3
ด้านคือ

                   
1) ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  = 100
คะแนน
                   
2) ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน  = 100
คะแนน
                   
3) ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ = 100
คะแนน

          ซึ่งในด้านที่
3 นี้ จะแบ่งย่อยการประเมินออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ การรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ กำหนดไว้อยู่ระหว่าง 5-10 หน้า (ควรเขียนให้ได้ 10 หน้า ไม่ต้องใส่ภาพประกอบ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ แบบราชการ) ส่วนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องนำเสนอ 20-50 หน้า (ควรเขียนอยู่ระหว่าง 40-50 หน้า หรือเฉียด ๆ 50 หน้า จะดี) ส่วนนี้มีคะแนน 100 คะแนน อีกส่วนย่อยหนึ่ง คือ ผลงานทางวิชาการ คะแนนเต็ม 100 คะแนนเช่นกัน จากนั้นจึงนำทั้งสองส่วนมาหารเฉลี่ยเป็นคะแนนรวมของข้อ 2
นี้

          และในวันสุดท้ายของการอบรมพัฒนานี่เอง ที่วิทยากรท่านได้มาให้ความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน โดยได้ช่วยชี้แนะแนวทาง (
Trip
ในการจัดทำเอกสารเพื่อเตรียมประเมิน) ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ ซึ่งถือเป็นการนำประสบการณ์ของท่านวิทยากรเองนำมาถ่ายทอดเสนอแนะให้แก่พวกเรา ซึ่งท่านนั้นได้ผ่านการจัดทำผลงานมาแล้ว และมีโอกาสได้ตรวจผลงานของผู้อื่นมามาก จึงทำให้มีเกร็ดน้อยในการเสนอแนะแก่พวกเรา

          ในด้านที่
3
ที่มีการประเมินแบ่งเป็นสองส่วน เราควรให้ความสำคัญกับการเสนอรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้มาก ๆ เพื่อจะได้เป็นคะแนนในการช่วยดึงค่าเฉลี่ยคะแนนเมื่อนำไปคิดรวมกับคะแนนที่ได้จากผลงานทางวิชาการ

          สำหรับผลงานทางวิชาการ เขายังจัดแบ่งสัดส่วนคะแนนออกเป็น
2 ส่วน ส่วนแรกคือ คุณภาพผลงานทางวิชาการ (50 คะแนน) พิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (20 คะแนน) ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (15 คะแนน) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (10 คะแนน) การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม (5
คะแนน)

          ส่วนที่สอง คือ ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (
50 คะแนน) จะดู 3 ด้าน นั่นคือ ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ/วิชาชีพ (15 คะแนน) ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน ชุมชน (25 คะแนน) และการเผยแพร่ในวงวิชาการ ซึ่งอาจเป็นในที่ประชุมวิชาการ ในวารสารของทางสมาคมวิชาการต่าง ๆ หรือจะเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ก็ได้ทางใดทางหนึ่งหรือหลายทางก็ตาม (ส่วนนี้มีคะแนน 10
คะแนน)

           หากดูสัดส่วนของคะแนนแล้ว เราจะเห็นว่าการพิมพ์และการจัดทำรูปเล่มนั้นมีคะแนนน้อยที่สุดในส่วนนี้ แต่กลับมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้การพิจารณาในส่วนอื่นเป็นไปด้วยความราบรื่น ลองคิดดูว่าหากกรรมการท่านต้องอ่านผลงานที่พิมพ์ตก ๆ หล่น ๆ จัดหน้าจัดรูปแบบการพิมพ์ที่ไม่ค่อยจะคงเส้นคงวา หรืออะไรก็ตามที่ส่อให้เห็นว่าเจ้าของผลงานไม่ใส่ใจต่อความประณีตเหล่านี้ ถึงผลงานจะดีเพียงไรก็คงทำให้กรรมการผู้ตรวจหงุดหงิดอยู่ไม่น้อย ดังนั้น ตามหลักจิตวิทยาแล้ว น่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการลดทอนคะแนนของผลงานอยู่ได้บ้างเหมือนกัน

          ในทางตรงกันข้ามหากผลงานของเราพอจะไปวัดไปวาอยู่ได้บ้าง (อย่าให้ถึงขนาดขี้เหร่ซะก็แล้วกัน ถ้าถึงขนาดนั้นอะไรก็คงช่วยไม่ได้) รูปแบบการพิมพ์ที่ดูเนี๊ยบ ไม่มีคำผิด สมบูรณ์ไม่ตกหล่น ก็ช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้กับผู้ตรวจผลงานได้เหมือนกันนะคะ

          ลองนึกถึงเวลาที่เราไปนั่งรับประทานอาหารในร้านที่บรรยากาศแย่ ๆ ดูสิคะ ถึงอาหารจะปรุงได้อร่อยลิ้น ก็คงไม่รื่นรมย์เหมือนกับการนั่งรับประทานอาหารที่มีรสชาติกลาง ๆ ในบรรยากาศที่เยี่ยมยอดได้หรอกนะคะ

          คิดถึงประเด็นนี้แล้วอดนึกโยงไปหาลูกศิษย์เราไม่ได้ ท่านลองนึกดูนะคะว่าระหว่างลูกศิษย์ที่เรียนเก่ง มีความรู้ความสามารถที่เรียกได้ว่า หากจับมายืนเรียง ลูกศิษย์คนนี้ก็จะอยู่เป็นคนแรกเลยทีเดียว แต่ปรากฏว่า คนเก่งของคุณครูคนนี้พูดจาไม่ค่อยไพเราะ มารยาทก็ไม่ค่อยจะดี ผิดกับอีกคนหนึ่งที่มีผลการเรียนอยู่ระดับกลาง ๆ ไม่โดดเด่น แต่เป็นคนที่มีมารยาทสุภาพเรียบร้อย รู้จักกาลเทศะ พูดจาไพเราะสุภาพ ทั้งสองคนนี่...ท่านว่าถ้าพวกเขาเรียนจบไป ใครน่าจะมีเปอร์เซ็นต์ที่ดี..ที่นายจ้างจะรับเข้าทำงาน

          ดิฉันว่าน่าจะมีนายจ้างหลายคน พิจารณาลูกศิษย์คนหลังของเรานะคะ ซึ่งถ้าคุณครูสามารถปลูกฝังกล่อมเกลาให้ลูกศิษย์แต่ละคนของเรามีส่วนดี ๆ ที่เป็นคุณสมบัติของลูกศิษย์ตัวอย่างสองคนที่ดิฉันหยิบยก ก็คงจะยอดเยี่ยมสมบูรณ์ น่าชื่นใจอยู่ไม่น้อย เปรียบได้เช่นเดียวกับการตั้งอกตั้งใจจัดทำผลงานทางวิชาการให้สมบูรณ์ในทุกภาค...คนส่งผลงานสบายใจ...คนตรวจผลงานก็สบายใจด้วย เพราะตัวผลงานไม่สร้างปัญหาให้กับใคร...


 
หมายเลขบันทึก: 103944เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2007 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอแบบทั้งรสชาติแสนอร่อยที่เข้ากับบรรยากาศสุดโรแมนติก  ขอแถมด้วยความสดสะอาดของอาหารพร้อมภาชนะด้วยนะครับท่าน ศน.
  • หมายถึง ไม่คัดลอก ไม่ตัดแปะ  ไม่สอดใส้เพิ่มเติม  เลขหน้า บรรณานุกรม จุดนี้ต้องระวังให้มากๆ   เหมือนสโลแกนที่ว่า "อยากทานอาหารอร่อย ต้องใจเย็นๆ"
  • สวัสดีค่ะ คุณพี่ สะ-มะ-นึ-กะ
  • ประเด็นนี้ใช่เลยค่ะ แล้วก็ตกกันมาเยอะแล้วด้วย
  • มุขตลกที่ว่า เผยแพร่ เป็นเผยน่าน ยังเป็นมาทุกยุคสมัยค่ะ
  • ด้วยระยะเวลาเป็นตัวกำหนด บางท่านอาจจะรอทานอาหารอร่อยแบบใจเย็น ๆ ไม่ได้ซะแล้ว
  • วิทยากรท่านก็ชี้ช่องให้ค่ะว่า ให้เราพยายามไปรื้อค้นงานเดิมของเรามา แล้วเอามาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยซะ อย่าไปคิดงานใหม่ให้เสียเวลา เราจะได้มีฐานของการทำงานค่ะ
  • ฝากความคิดถึงไปยังคุณครูอ้อย และน้องขวัญด้วยนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • เวลาไปประเมินใคร ผมมักถูกดุจากพี่ๆว่าให้คะแนนเยอะ
  • คงเคยตัวเวลาสอนนักเรียนผมให้คะแนนเยอะ
  • ตัดเกรดเกรดก็ดีมาก
  • ดังนั้นถ้าผมถุกแต่งตั้งให้ประเมินใคร คุณครูช่วยผมด้วยก็แล้วกัน อย่าให้เขาว่าเราทั้งสองคน
  • ว่าผู้ประเมินก็ไม่เก่ง ผู้รับการประเมินก็ไม่ขยัน
  • เรามาช่วยกันพัฒนางานของเราให้ทุกฝ่ายยอมรับนะครับ
  • แล้วผลก็จะตกไปสู่เด็กโดยปริยาย
  • จริงไหมครับศน.กุ้ง

 

สวัสดีครับ

ผมเองเป็นคนดูใจแข็ง  แต่ประเมินลุกน้องเมื่อไหร่ให้คะแนนสูงมาก  ไม่เคยมีใครที่ผมประเมินให้ต่ำกว่าดี  บางทียังมานั่งนึกว่า   ทำผิดหรือเปล่า...  ให้โอกาสมากเกินไปหรือไม่

....

คิดถึงประเด็นนี้แล้วอดนึกโยงไปหาลูกศิษย์เราไม่ได้ ท่านลองนึกดูนะคะว่าระหว่างลูกศิษย์ที่เรียนเก่ง มีความรู้ความสามารถที่เรียกได้ว่า หากจับมายืนเรียง ลูกศิษย์คนนี้ก็จะอยู่เป็นคนแรกเลยทีเดียว แต่ปรากฏว่า คนเก่งของคุณครูคนนี้พูดจาไม่ค่อยไพเราะ มารยาทก็ไม่ค่อยจะดี ผิดกับอีกคนหนึ่งที่มีผลการเรียนอยู่ระดับกลาง ๆ ไม่โดดเด่น แต่เป็นคนที่มีมารยาทสุภาพเรียบร้อย รู้จักกาลเทศะ พูดจาไพเราะสุภาพ ทั้งสองคนนี่...ท่านว่าถ้าพวกเขาเรียนจบไป ใครน่าจะมีเปอร์เซ็นต์ที่ดี..ที่นายจ้างจะรับเข้าทำงาน

....

ผมเชื่อในทำนองเดียวกันนี้ คือ  นายจ้างจะเลือกคนที่สองเข้าทำงาน

...

เก่ง  ดี  มีความสุข

...

ขอให้มีพลังในการใช้ชีวิตและทำงานสืบต่อไปนะครับ

  • ขอบคุณพี่ พิสูจน์ มากค่ะ
  • ในการประเมินใด ๆ ก็ตาม แม้ว่าจะมีเกณฑ์การประเมินเป็นกรอบในการให้คะแนนก็ตาม แต่สิ่งที่ยังส่งผลอยู่มากต่อผลการประเมิน ก็คือ ตัวของผู้ประเมินนั่นเองค่ะ
  • งานไหน เจอผู้ประเมินใจดี มีทีท่าเป็นกัลยาณมิตรหน่อย ก็โชคดีไป
  • แต่ถ้างานไหน จับพลัดจับผลูไปเจอผู้ประเมินที่ท่านนิยมการจับผิด หรือพยายามจะหักคะแนนเข้าไว้ งานนั้นก็โชคร้ายค่ะ
  • ให้ชัวร์..ชัวร์...กันเลย ก็คือ ผู้รับการประเมินต้องเตรียมผลงานให้พร้อมและสมบูรณ์มากที่สุดนั่นแหละค่ะ...สบายใจ
  • เป็นกำลังใจให้สำหรับการประเมินภายนอกที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ของโรงเรียนบางลี่วิทยานะคะ มีอะไรพอช่วยเหลือกันได้ เรียกใช้ ศน.กุ้งได้เสมอค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจจาก อ.พนัส (แผ่นดิน) ค่ะ
  • การให้คะแนนสูง ๆ ลูกน้องชอบอยู่แล้วล่ะค่ะ และเชื่อว่าคงเป็นลูกน้องที่ใช้ได้ หรือค่อนข้างใช้ได้ มากกว่าที่จะเป็นลูกน้องเกเรมังคะ
  • ถ้าให้คะแนนสูง ๆ แล้ว ลูกน้องคนนั้นมีผลงานด้วย ... ดิฉันหมายถึงผลงานที่อิงเกณฑ์ ไม่ใช่อิงกลุ่มนะคะ ... ก็ให้ไปเถอะค่ะ
  • ลูกน้องจะได้มีกำลังใจทำงานให้ลูกพี่ค่ะ
  • แต่ถ้าไม่ได้เป็นไปอย่างที่ดิฉันพูดไปทั้งหมดนั่น ก็ดูจะไม่ค่อยดีกับภาพพจน์ของลูกพี่เท่าไหร่ แถมบั่นทอนกำลังใจฝ่ายลูกน้องดี ๆ ด้วยนะคะ

สวัสดีครับ
มาทักทายครับ
และร่วมเป็นกลังใจ
ทั้งเป็นผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน
แบบกัลยาณมิตรครับ

สวัสดีค่ะ

ศน.กุ้งคะ การประเมินก็มีแนวทาง มีเกณฑ์ที่ชัดเจน

ดิฉันคิดว่า ถ้าทุกคนมุ่งทำผลงานให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่คอยห่วงว่า เราจะเจอกรรมการใจดีไหมนะ กรรมการจะใจร้ายกับเราไหมนะ โหดไหมนะ ทำให้เต็มที่ สุด ๆ ไปเลย คงช่วยให้ผลที่เกิดกับผู้เรียน คุณภาพการศึกษารุดหน้าไปไกลนะคะ

ขอชื่นชมในความมุ่งมั่น ช่วยเหลือเพื่อนร่วมวงวิชาชีพของท่านค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท