การจัดการความรู้(KM)


การพัฒนาระบบราชการโดยการพัฒนาความรู้ในองค์กร

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 11 กำหนดให้ส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้ เพื่อ ให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างสม่ำเสมอโดยมีวัตถุประสงค์หลักใน การส่งเสริมและผลักดันส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยมีแนวทาง ปฏิบัติได้แก่การสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารให้กว้างขวาง ประมวลผล ความรู้ เพื่อนำ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ให้ข้าราชการ เป็นผู้มีความรู้ใน วิชาการ สมัยใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ มีคุณธรรม ตลอดจน สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกัน และกัน เพื่อนำมาพัฒนา การปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ

ความรู้...สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์รวมถึงการก้าวเข้าไปสู่ ระบบ เศรษฐกิจใหม่และสังคมฐานความรู้(Knowledge-based Society) เป็นผล ทำให้ ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน ต้องเร่ง ปรับ ปรุงและพัฒนาการทำงาน ของตนเอง ให้มีขีดสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้นโดยเฉพาะการให้ ้ความสำคัญ ต่อการ จัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Assets) อย่างเป็นระบบเช่นข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ความจงรักภักดี ต่อตราผลิตภัณฑ์ฯลฯเพื่อนำมา ใช้ในกระบวน การสร้างคุณค่า(Value Creation) และเสริมสร้างขีดความสามารถ ในเชิงการแข่งขัน ขององค์กร

ประเภทของความรู้               

         1.  ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในแต่ละบุคคล อันเกิดจากประสบการณ์การสอนงานการเรียนรู้หรือพรสวรรค์ซึ่งมักจะไม่ค่อยมี การถูกถ่ายทอด มาเป็น ลายลักษณ์อักษรแต่เป็นประเภทความรู้ที่สามารถ แบ่งปัน กันได้และเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์โดยตรง ต่อการปฏิบัติงาน
       2.  ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ทางวิชาการ มีความ เป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นเหตุผล มีการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการ ในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น หนังสือ ตำรา  บทความ เอกสาร คู่มือและรายงานต่าง ๆความรู้ ทั้งสอง ประเภทนี้สามารถ เปลี่ยนแปลง ถ่ายเปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยผ่าน กระบวนการปฏิสัมพันธ์  4 รูปแบบคือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการภายนอก (Externalization) กระบวนการผสมผสาน(Combination) และกระบวนการภายใน (Internationalization)

การจัดการความรู้คืออะไร?

การจัดการความรู้คือการแสวงหาและนำเอาความรู้ที่มีอยู่ทั้งในตัวบุคคล และองค์กร รวมไปถึงความรู้ที่ ขัดแจ้งบางส่วนมารวบรวมกลั่นกรอง และประมวล อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ ให้ทุกคนในองค์กรสามารถ เข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้เชี่ยวชาญ เกิดวัฒนธรรมของการ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันอันจะส่งผลทำให้องค์กรมีขีด สมรรถนะสูงขึ้น สามารถ ปรับตัวให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพ แวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็น องค์กรแห่ง การ เรียนรู้”  (Learning Organization) ในท้ายที่สุดการจัดการความรู้ที่ดี จะช่วยทำ ให้องค์กรและบุคลากรมีความเข้มแข็งเกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและวิธีการ ทำงาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันยังจะช่วยก่อให้เกิด ความเปิดเผย การยอมรับซึ่งกันและกันภายในองค์กรเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ และ การ ทำงานเชิงรุก แต่ละฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็น กันอย่างเต็มที่สร้าง นวัตกรรมและความคิดริเริ่มนอกจากนี้ การจัดการความรู้ที่ดียังจะช่วยผลักดัน ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กระบวนการจัดการเรียนรู้

การจัดการความรู้ในองค์กร เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่มา ใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ

1.  สำรวจความรู้ คือ การร่วมกันกำหนดบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ขององค์กร               
2.รวบรวมและพัฒนาคือการสร้างและแสวงหาความรู้ที่ต้องการโดยเฉพาะการ ระบุแหล่งความรู้ภายใน องค์กรเช่นการคัดเลือกบุคคลผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่าง ๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร
3.จัดเก็บสังเคราะห์คือการนำความรู้ที่รวบรวมได้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบรวมถึง การประมวล และกลั่นกรองความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกต่อการนำ ไปใช้ประโยชน์
4.ถ่ายทอดคือการทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้สร้างจิตสำนึก ให้เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้และเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

 การจัดการความรู้เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ

                 การพัฒนาความรู้ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นกับวิธีการสรรหา การ ถ่ายทอดและการแบ่งปันอย่างถูกต้องเหมาะสมดังนั้นการบริหารจัดการ ความรู้ที่ดี คือการ บริหาร จัดการให้บุคลากรสามารถ เข้าถึงข้อมูลนำไปใช้ตลอด จนแลก เปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอีกทั้ง องค์กรจะต้องสร้างบรรยากาศ และ วัฒนธรรม การ เรียนรู้กำหนดแนววิธีปฏิบัติงานรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น   อย่างไรก็ตาม การจัด การความรู้ในองค์กรจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ วัฒนธรรมขององค์กร ต้องยืดหยุ่น ต่อการจัดการความรู้และเสริมสร้างให้บุคลากรมี ทัศนคติทางบวก ต่อการจัดการ ความรู้และที่สำคัญ ผู้นำต้องส่งเสริม สนับสนุนอย่างจริงจังด้วย  นอกจากนี้ องค์กรที่จะก้าวสู่การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องมี วัฒนธรรมองค์กร ที่เปิดรับต่อความรู้ และข้อมูลใหม่ ๆ จากภายนอกองค์กรเสมอ องค์กรที่มี วัฒนธรรมองค์กรเปิดรับต่อความรู้และข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ย่อมส่งผล ทำให้บุคลากรภายในองค์กรได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองตลอดเวลา นั่นเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 103710เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท