งบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2550


มีพรายซึ่งเป็นแฟนประจำของบล๊อก "คนเป็นนาย" กระซิบบอกมาสองเรื่องครับ พรายตนแรกเป็นผู้สร้างรูปข้างล่าง บอกมาว่าทำเสร็จแล้ว และยกให้ชมรมศึกษาทฤษฎีการเมืองและพลวัตสังคมเผยแพร่; พรายตนที่สองเป็นผู้ดูแลเว็บของชมรมดังกล่าว บอกมาว่าได้นำผังงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2550 ที่พรายตนแรกสร้าง ขึ้นไปบนเครื่องแม่ข่าย และอนุญาตให้ผมเผยแพร่ได้ ขอขอบคุณพรายทั้งสองตนครับ อุทิศส่วนกุศลไปให้แล้ว

ผมเห็นว่าข้อมูลนี้ เป็นประโยชน์ในแง่ที่จะได้เข้าใจให้ชัด ว่ารัฐบาลจัดสรรทรัพยากรเพื่อการบริหารประเทศอย่างไร ขนาดพื้นที่ของแต่ละวง (ยกเว้นวงกลาง) เป็นสัดส่วนกับงบประมาณที่ได้รับ; งบในผังนี้ จัดเตรียมตั้งแต่ปีที่แล้วโดยรัฐบาลก่อนนะครับ

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาต CreativeCommons แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 (เผยแพร่ได้ด้วยเงื่อนไขการระบุแหล่งที่มา ไม่ใช้ในเชิงการค้า และไม่ดัดแปลงชิ้นงาน)

หมายเลขบันทึก: 100808เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

งบ  กระทรวงศึกษาได้มากที่สุด ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นค่ะ เพราะจุดอ่อนเราอยู่ที่การศึกษา

แต่ดูที่งบเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ก็เยอะมาก แล้ว ถ้าต่อไป คนเกษียณกันมากๆ รัฐบาลก็ยิ่งต้องเตรียมตัวหนักเลย

ไม่ใช่แค่นี้ค่ะ การบริการสังคมต่างๆอีกมาก ยังไม่นับเลย เห็นได้ข่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินการกันอยู่

น่าจะขยายอายุเกษียณออกไปอีกเป็น อายุ70 ปีนะคะ ถ้ายังworkอยู่ เดี่ยวนี้ คนสุขภาพดี อายุ 65 ปี ยังสบายๆค่ะที่จะทำงานต่อได้

โดยเฉพาะคนสูงอายุชนบทจะน่าห่วงมากค่ะ

ที่อเมริกา เห็นเขาให้ทางเอกชนจ้าง  คนสูงอายุที่การศึกษาไม่สูงนักไปทำงานpart time ได้ค่ะ เช่น ขายของ หรือ ทำอะไรเบาๆได้ค่ะ เขาก็ยังพึ่งพาตัวเองได้อยู่  แต่ก็เป็นงานที่มีศักดิ์ศรีนะคะ

ได้เห็น version ก่อนหน้านี้ (ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ) ค่ะ ขนาดว่าเห็นแบบไม่เต็มรูปแบบอย่างนี้ ยังนับถือคนทำเลย ทั้งต้องช่างเก็บข้อมูล ยังต้องเป็นคนละเอียดรอบคอบ แล้วถ่ายทอดตัวเลขที่เห็น โดยรูปแบบที่แปลกใหม่ (ดีกว่าเป็นกราฟแท่ง กราฟวงกลมแบบเก่าๆ เชยๆ) ภาครัฐควรมี creative แบบนี้บ้างนะคะ ไม่งั้นก็เป็นปู่ไดฯ หรือ ป้าไดฯ กันไปหมด

ผมเขียนเรื่อง ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ เอาไว้เมื่อหลายเดือนก่อนครับ -- เชื่อว่าในที่สุด ก็จะมีการยืดการเกษียณอายุออกไปเป็น 65 (ส่วนหนึ่งเพื่อลดภาระต่อการจัดสวัสดิการสังคม)

แต่เรื่องที่เป็นกังวลคือ บรรดาผู้ที่อยู่หัวแถว ที่คิดว่าตนเคยทำอย่างนี้มาจึงประสบความสำเร็จในวันนี้ จะไม่เปิดรับความคิดใหม่ ไม่ให้โอกาสแก่คนรุ่นหลังเท่าที่ควร แล้วจะทำให้เมืองไทยปรับตัวได้ช้าครับ ไม่ใช่ว่าปรับเปลี่ยนแล้วจะดี แต่การหยุดนิ่งนั้นไม่ดีแน่ครับ

พรายตนที่สอง เพิ่งกระซิบมาอีกเมื่อกี้นี้ครับ (ขออนุญาตแล้ว)

งบปี 50 จัดทำขึ้นโดยรัฐบาลที่แล้ว เป็นร่างจริงครับ
แต่มีการจัดแก้หลายครั้ง
http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=2304
ที่ผมเห็นว่าต่างจากรัฐบาลชุดก่อนมากคือ
1 จัดทำงบแบบขาดดุล
2. เพิ่มงบกระทรวงกลาโหมขึ้นไปมาก (37%, ปีที่ผ่านๆมา เพิ่มในอัตราเฉลี่ยราว 3-4% )
3. type ของแนวคิดเบื้องหลังการจัดงบเป็นคนละอย่าง
(ลองเปรียบเทียบงบ 49 กับ 50 ดูครับ)
งบ 50 มักจะอ้างว่า เศรษฐกิจพอเพียง....
งบ 49 มักจะอ้างว่า ตามแผนยุทธศาสตร์...
ส่วนที่อยากที่สุดของแผนภาพนี้ คือการหาโลโก้หน่วยงานครับ พอได้มาลองหาอย่างจริงจังแล้วพบว่าเว็บไซต์ราชการจำนวนมากขาดแคลนโลโก้คุณภาพสูง บางที่ยังดัดแปลงให้พิสดาร มีเอฟเฟคต์เฟี้ยวฟ้าวเต็มไปหมด
ฮ่า ฮ่า ฮ่า กดดันมากเลยครับ

สวัสดีค่ะ

ที่คุณconductorเป็นห่วงว่า ถ้าคนสูงอายุยังเป็นหัวแถวอยู่ อาจไม่ค่อยรับสิ่งใหม่ๆและอาจมีการหยุดนิ่งนั้น

ก็จริงค่ะ โดยเฉพาะคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว มักจะมีegoสูง  มีความมั่นใจในตัวสูงมาก

ดังนั้น ใครที่อายุ60-65 ก็น่าจะอยู่ในส่วนของคณะที่ปรึกษาก็ได้นี่คะ แต่ไม่ใช่ให้คำปรึกษาดีๆไป เขาไม่ฟังนะ ต้องมีการประชุมกันเปิดเผย ไม่ใช่ให้คำปรึกษากันส่วนตัว

ให้มีเขียนและสรุปกันอย่างเป็นทางการด้วยค่ะ

แต่ คนรุ่นใหม่ต้องเข้ามาทำงานเต็มที่ แสดงความสามารถให้เต็มที่ได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ

คนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้เก่งๆค่ะ 

เก่งแต่ต้องไม่ก้าวร้าวนะคะ

คุณconductorเห็น ญี่ปุ่นเขาดูแลเรื่องนี้เป็นอย่างไรคะ ญี่ปุ่น ก็คนสูงอายุเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท