(รายงานตอนที่ 2)
การที่สังคมจะมีเป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ต้อง “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถูกต้องตรงกันก่อน ด้วยหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่กล่าวถึง หลักความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนเงื่อนไขแห่งความรู้และคุณธรรมนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ได้เป็นรูปแบบสำเร็จรูปแต่เป็นความคิดเชิงสัมพัทธ์ ที่หมายถึง วิธีคิดในการทำสิ่งต่างๆ หรือการใช้ของที่มีอยู่ อย่างรอบคอบ ถูกต้อง และเหมาะสม ตรงตามคุณค่าแท้และจุดประสงค์ของสิ่งนั้นๆ โดยมีวิสัยทัศน์ในการคิดและกระทำว่า
วิสัยทัศน์: ประเทศไทยมีวิถีชีวิตและสังคมตามแนวทางพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีความสมดุลใน 5 ด้าน คือ การดูแลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสังคม การลดช่องว่างในสังคม ความสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างการพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีในประเทศและต่างประเทศ ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา และการมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
เป้าหมาย ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละภาคส่วนก็เพื่อการสร้างสมดุลในมิติต่างๆ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ
1. ความสมดุลด้านทรัพยากรธรรมชาติ
2. ความสมดุลด้านสุขภาวะ กาย จิตใจ สังคม (รวมถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
3. ความสมดุลด้านการพึ่งพาทุนในประเทศและต่างประเทศ
4. ความสมดุลด้านการพึ่งพาเทคโนโลยีในประเทศและต่างประเทศ
5. การกระจายอำนาจที่มีความสมดุลในบทบาทของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นและชุมชน
6. การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
{ ภาคส่วนของรัฐขับเคลื่อนความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
{ กำหนดหน่วยงานภาครัฐให้เป็นเจ้าภาพในการเผยแพร่องค์ความรู้ และดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
{ หน่วยงานภาครัฐดำเนินการภายในองค์กรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแบบอย่างก่อนที่จะเผยแพร่สู่ประชาชน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ ใน roadmap เศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ (Tags)#เศรษฐกิจพอเพียง#แผนที่เดินทางครั้งที่ 1#เป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียง
หมายเลขบันทึก: 100440, เขียน: 03 Jun 2007 @ 15:14 (), แก้ไข: 23 Jun 2012 @ 18:19 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก
ขอบคุงคร้า
พอดีจาเอาไปทามงานสังคมพอดีอ้านะ
คร้า