Bahasa Melayu : มาเรียนภาษามลายูกันเถอะ


แปลกนะครับที่พบว่าคนไทยสนใจเรียนรู้ภาษามลายูกันน้อยมากใน ขณะ ที่ฝรั่งกลับสนใจเรียนภาษามลายูมาก ผมได้เคยมีโอกาสเดิน ทางร่วมกับคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสามัญ เดินทางทัวร์ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ จัดโดยสำนักงานเขตการ ศึกษา 2 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษา ธิการ เขตที่ 12) ที่เมดาน ประเทศอินโดนีเซียนี่เองผมได้ พบกับนัก เรียนนักศึกษาชาวออสเตรเลียหลาย คนข้ามทะเลมาเรียนภาษาอิน โดนีเซียในช่วงปิดภาคการศึกษา เท่าที่ได้ พูดคุยกับนักศึกษาเหล่านั้น พวกเขาสามารถพูดสื่อสารภาษาอินโดนีเซียได้อย่างดีครับ

และสำหรับท่านที่สนใจเรียนภาษามลายูสามารถเปิดเข้าไปดูที่นี่ี่ครับ


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 100144เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
น่าจะมีสื่อการสาร ไทย-มลายู บ้างนะครับ ไม่รู้มีใครทำเปล่า?

เข้าไปดูตามลิงค์มาแล้ว น่าสนใจมากครับ ได้ทั้งมลายู/อังกฤษเลย

Terima Kasih 

  • สวัสดีครับคุณ
    P
    บ่าววีร์
  • ดีใจครับที่คุณบ่าววีร์แวะเข้าเยี่ยมครับ และ ดีใจที่สนใจภาษามลายูครับ ผมจะลอง ค้นให้นะครับว่า มีเว็บที่ทำเกี่ยวกับภาษา มลายู-ไทยบ้างหรือเปล่า  หรือผมจะลอง ประสานไปที่ สาขาวิชาใหม่ล่าสุด ของ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คือ สาขาวิชาภาษามลายูครับ
  • สำหรับที่เป็นหนังสือก็มีหลายเล่มครับ อย่างเช่น พจนานุกรมภาษามลายู-ภาษาไทย โดย อาซิซ บิน มูฮัมมัอ อีซา  สำนักพิมพ์อักษร วัฒนา จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ทำให้อ่านง่ายกว่าเดิมครับ
  • พจนานุกรมไทย-มาเลย์-อังกฤษ  โดวิเชียร ตันตระเสนีย์  เล่มนี้ 3 ภาษา
  • ปทนานุกรมไทย-มลายู โดย ดร.โมหัมมัด อับดุลกาเดร์ และนิมะ ประนอมวงศ์ เล่มนี้เหมาะสำหรับคนไทยที่จะฝึกพูดภาษา มลายูครับเพราะผู้แต่งเรียงคำจาก ก-ฮ แบบพจนานุกรมไทยครับ
  • อีกเล่มหนึ่งที่อยากจะแนะนำสำหรับคนที่พอ อ่านภาษาอังกฤษได้ คือ KAMUS DWIBAHASA OXFORD FAJAR เป็นพจนานุกรม 2 ภาษา อังกฤษ-มลายู และมลายู-อังกฤษครับ ขนาดเล็กพก สะดวกครับ
  • มีอะไรดีๆเกี่ยวกับภาษามลายูผมจะรีบนำมาลงในบล็อกครับ
  • ขอบคุณคุณ
    P
    บ่าววีร์
  • มากครับ
  • ขอบคุณอาจารย์
    P
    อัสสะกอมี
  • ที่แวะเข้ามาเยี่ยมครับ และดีใจที่อาจารย์สนใจครับ

เข้าไปอ่านมาแล้วคะ...

......Selamat pagi.... 

  • Selamat pagi เช่นกันครับคุณดอกแก้ว
  • Ribuan Terima Kasih "รีบูวัน ตรีมา กาซิหฺ"  ขอบคุณมาก (นับพัน) ครับที่คุณดอกแก้ว แวะมาเยี่ยม
  • Terima Kasih แปลว่า ขอบคุณ
  •  Ribuan- รีบูวัน -แปลว่า  นับพันครั้ง

มีแบบเจาะลึกมากว่านี้ไหมคะ....

เอาแบบยากๆๆไปเลย....

อยากศึกษาแนวยากๆๆ..งอาจารย์พอจะแนะนำให้ทราบเวปได้ไหมคะ....

ปล.รบกวนผิดที่หรือเปล่าคะ....

selamat petang cikgu....

  • จ้าหญิงครับ ถ้าจะเอาแบบเจาะลึกก็คง ต้องสมัคร เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชา "ภาษามลายู" คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ครับ
  • หรืออ่านพวกวรรณกรรมภาษามลายู ประมาณนั้นนะครับ ลองอ่านบทกลอน (Pantun) นี้ดูครับ
  • Air pasang menanam bayam,
  • Buyung diisi di dalam loyang;
  • Jangan diambil resmi ayam,
  • Bertelur sebiji riuh sekampung.
  • และแถมให้อีกบทหนึ่งครับ
  • Anak lembu ditambat orang,
  • Makan padi dalam sawah;
  • Bawa ilmu padi di ladang,
  • Tambah berisi tunduk ke bawah.                                                       

สนใจภาษามลายูมานานแล้วค่ะชอบเว็บไซด์นี้มากเป็นประโยชน์มากแต่อยากให้สอนเป็นภาษาไทย ีมลายูดีกว่า สนใจหาหนังสือมาอ่านเหมือนกันไม่ทราบว่าซื้อได้ที่ไหนค่ะช่วยบอกหน่อย

  • สวัสดีครับคุณอ้น
  • คิดว่าตามร้านหนังสือทั่วไปน่าจะมีครับ
  • แต่ถ้าที่ยะลาก็ไปหาซื้อได้ที่ร้านคลังบุคส์เฮาส์ และ้ร้านคลัง แถวสายกลาง  ร้านเว็นทรัลบุคส์ สายกลาง ปัตตานีก็ที่ร้านสุไลมานครับ
  • ตรีมากาซิฮฺ  แปลว่า  ขอบคุณครับ

ตอนนี้สอนวิชาภาษามลายูถิ่นอยู่ แต่ไม่มีสื่อการสอน และแนวทางในการทำการเรียนการสอน แผนการเรียนรู้ และหลักการสอน ใครก็ได้ช่วยแนะนำที

คุณฮูดาลองประสานไปที่สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ ๑๒ ซิครับ (เขตการศึกษา ๒ เดิม ที่ตั้งแถวคุรุฯ ติดกับมหาวิทยาลัยราชภุฎยะลาครับ) ทราบมาว่าทีมงานอิสลามศึกษาของสำนักฯร่วมกับผู้แทนโรงเรียนตาดีการและอุสตาซจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตรตาดีกา๖ปีซึ่งสามารถต่อยอดเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้เลย เข้าใจว่าสิ่งที่คุณฮูดาต้องการจะมีที่นั่นหรือติดต่อตามที่อยู่ต่อไปนี้

สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ 12 / ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
เลขที่ 3 ถ.อาคารสงเคราะห์ ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000
โทรศัพท์/โทรสาร 0 7321 6129 , 0 7321 2323 , 0 7321 3569 เครือข่ายมหาดไทย(กด) 75413
website : www.inspect12.moe.go.th / www.coad3.org email : [email protected]

อยากทราบว่าจะไปทำธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียนอกจากภาษาแล้วต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติมบ้างใคร

ใครแนะนำได้ช่วยบอกทีครับ หรือถ้ามีท่านใดพอพูดภาษาได้ก็ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ 0891299799 เก๋ครับ

ลองติดต่อไปที่[email protected] ท่านทำธุรกิจกับประเทศอินโดนีเซียอยู่ครับ

วัสดีค่ะค่ะอาจารย์

  • มาติดตามดูคนเรียนภาษามลายูค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีครับครูคิม

  • ขอบคุณครูคิมมากครับที่แวะมาเยื่ยม
  • ผมสบายดีครับ รีบูวันตรีมากาซิส (พันคำขอบคุณ)

ขอขอบคุณมากๆได้สาระมากเลยคะ

สวัสดีครับคุณกุ๊กไก่

ดีใจครับที่บล็อกนี้พอจะเป็นประโยชน์กับคุณกุ๊กไก่ ภาษามลายู จีน และภาษาอื่นๆในอาเซียนกำลังทวีความสำคัญเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆครับ

จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ ณ "Position" ที่เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุดในวันที่อาเซียนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ก็เหมือนกับการปั่นจักรยานขึ้นภูเขาครับ เราคงต้องเริ่มปั่นแต่ไกลเพื่อให้สามารถข้ามเนินเขานั้นให้ได้ แต่ถ้าเริ่มเอาตรงตีนเขาคงไม่มีแรงมากพอที่จะข้ามมันพ้นไปได้

ดีมากเลยครับ เตอริมากาซิฮฺ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท