การสอน(Teaching)นั้นจะมีความเฉพาะในเทคนิคและหลักการอยู่ที่ต่างไปจากการเรียนรู้(Learning) ดังนี้
Basic Principles of Teaching
หลักการพื้นฐานในการสอน ในหลักการต่อไปนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในการวางแผนและการสอนในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย (Lectures) การแลกเปลี่ยนทัศนะ (Discussion) การฝึกปฏิบัติการ (workshops) และการจัดสถานีเพิ่มทักษะ (Skill stations)
การสอนนั้นถือเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์อย่างมีการวางแผนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ( planed experiences, which brings about a change in behavior ) ดังนั้นความสำคัญของการสอนจึงอยู่ที่สองคำคือ planed และ change in behavior
เราทุกคนสามารถเรียนรู้ (Learn) จากประสบการณ์ แต่การสอน (Teaching) จะเป็นการวางแผนอย่างจงใจในการกำหนดรูปแบบการเรียนรู้อย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อให้มีผลในรูปแบบที่ต้องการของพฤติกรรมของผู้เรียน
หลักการพื้นฐานในการสอนที่ต้องพิจารณา มี 4 ปัจจัย คือ
- Environment สิ่งแวดล้อมของการสอนจะผนวกเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสอนทุกแง่ทุกมุมของสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นความร้อน แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในห้องเรียน สิ่งแวดล้อมจึงสามารถส่งผลอย่างมากต่อการสอนและการตีความของผู้เรียน เช่น การจัดเรียงโต๊ะเก้ออีเป็นแถวเรียงกันจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกถูกจำกัดการมีส่วนร่วม ในขณะที่การจัดเป็นวงกลมทุกคนจะรู้สึกมีส่วนร่วมมากกว่า ความร้อนที่มากเกินไปหรือแสงสวาสงไม่พอมีผลต่อความสนใจเรียน ผู้เรียนที่ไม่ได้ยินเสียงผู้สินหรือมองไม่เห็นการสิตก็เหมือนกับนักเรียนที่ไมได้รับการสอน ดังนั้นจึงต้องมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
- Set ถือเป็นส่วนแรกที่มีการสัมผัสกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เป็นกุญแจสำคัญของการสอนในทุกบทเรียน (Session) สิ่งเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นใน 2-3 นาทีแรกของการสอน Set ประกอบด้วย
- Mood เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศและเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียน
- Motivation จูงใจผู้เรียนโดยการกล่าวถึงเนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
- Objective บอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของบทเรียนนั้น
- Roles กำหนดบทบาทที่ชัดเจนของทั้งผู้เรียนและผู้สอน ว่าจะต้องมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ในการเรียนบทเรียนนั้นๆ
- Dialogue เป็นส่วนหลักของการถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีการวางแผนแล้วไปสู่ผู้เรียน มีความเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนที่จะโน้มนำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ มีหลายแนวทางที่จะนำไปใช้ในขั้นตอนนี้ เช่นอาจบรรยายทั้งหมด หรือใช้การแลกเปลี่ยนทัศนะหรือใช้หลายๆรูปแบบรวมๆกันก็ได้ อย่างไรก็ตามวิธีที่ผู้สอนนำมาใช้นั้นต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าได้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างชัดเจน เป็นรูปแบบที่ถูกหลักการและเข้าใจง่าย
- Closure การปิดการเรียนการสอนถือเป็นส่วนสุดท้ายของบทเรียนและมีความสำคัญ บทเรียนที่จบอย่างไม่ชัดเจน ไม่เพียงแค่สร้างความไม่พอใจแก่ผู้เรียนเท่านั้นแต่อาจก่อให้เกิดคำถามค้างคาใจของผู้เรียนตลอดไป การปิดการสอนที่ดีมี 3 ส่วน คือ
- Questions เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามปัญหา โดยที่ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอนุญาตให้ผู้เรียนถามปัญหาควรเป็นเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์
- Summary การสรุปภาพรวมของเนื้อหาที่สอนและการเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาที่สำคัญอื่นๆ
- Termination การยุติการสอน ที่พบว่ามีการใช้บ่อยๆคือการพูดโดยตรงจากผู้สอนพร้อมทั้งค่อยๆละการสัมผัสสายตาจากผู้เรียนแล้วก็เดินออกจากห้องเรียนไป