หม่อน…ใช่เพียงแค่อาหารหนอนไหม
หม่อน (mulberry : Morus spp.) ในอดีต การปลูกหม่อนก็ มุ่งเน้นการนำใบหม่อนไปเลี้ยงไหม ปัจจุบันเมื่อวิทยาการด้านต่างๆเจริญก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จึงได้พัฒนาการใช้ประโยชน์จากหม่อนได้กว้างขวางมากขึ้น
1.อาหารและเครื่องดื่มมนุษย์
- เครื่องปรุงรสและผัก ชาวอีสานใส่ยอดและใบหม่อนในอาหาร เพื่อให้มี รสหวานแทนผงชูรส ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดกับน้ำมันหอย
- ชาใบหม่อน ใบและยอดหม่อนนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มได้ เช่นเดียวกับ”ชา” มีสารดีเอ็นเจ(1-deoxynojirimycin) ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสาร กาบา ( gamma-amino butyric acid ) ลดความดันเลือด
- ผงใบหม่อน ใช้ผสมในอาหารได้หลายชนิด เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ บะหมี่ ไอศกรีม เนื่องจากอุดมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด และ สารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยล์ ปริมาณสูง
- ผลหม่อน เป็นผลไม้ปลอดจากสารพิษในการผลิตใช้รับประทานสด แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม เยลลี่ ไอศกรีม และส่วนผสมของเบเกอรี่ อีกหลายชนิด
2.ยาและสมุนไพร
- ราก มีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลและความดันโลหิตในเลือด
- ลำต้น แก่น และลำต้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดตามข้อ แก้โรคเหน็บชา เปลือก แก้ไอหอบ และขับปัสสาวะ
- ใบ ขับเหงื่อ แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด สูบแก้ริดสีดวงจมูก
- ผล เป็นยาระบายอ่อนๆ ดับร้อน บำรุงไต สายตาและครรภ์ ทำให้ผมดกดำ
3.อื่นๆ
- อุปกรณ์กีฬา ไม้หม่อนมีความยืดหยุ่นดี เหมาะสำหรับใช้ทำอุปกรณ์กีฬา อาทิ ไม้เบสบอล คริ้กเก็ต-กระดาษเปลือกกิ่งและลำต้นหม่อนนำมาผลิตกระดาษสา คุณภาพดี จำหน่ายให้โรงงานกระดาษสาได้
- วัสดุเพาะเห็ด กิ่งและลำต้น ที่ผ่านเครื่องหั่นย่อยพืชให้เป็นวัสดุเพาะเห็ดแทนขี้เลื่อยยางพารา
- อาหารสัตว์ ใบหม่อนมีโปรตีนสูงถึง 22.6% ใช้เลี้ยงปลาและเลี้ยงโคนม เพิ่มโปรตีนในน้ำนม
- ไม้ประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ริมรั้ว หรือริมถนนเพราะหม่อนบางพันธุ์มีทรงพุ่มที่สวยงาม และให้ผลที่รับประทานได้ด้วย
ไม่มีความเห็น