รวมพลคนรักมัน..ฯ (เมื่อผมเป็นพ่อสื่อ ภาค 2)


เวทีเครือข่ายกลุ่มอาชีพ การเกษตร (กลุ่มพัฒนาประสิทธิภาพมันสำปะหลัง)

          ท่านใดที่เคยติดตามอ่านบันทึก มื่อผมเป็นพ่อสื่อ คงจะยังจำกันได้  ว่าบันทึกนั้นผมทำหน้าที่ของการเป็นพ่อสื่อ ให้นักส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดกำแพงเพชร  ได้มาพบปะแลกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลัง

          บันทึกนี้เมื่อผมมีโอกาสเป็นโปรโมเตอร์ประกบคู่  เฮ้ยไม่ใช่..ล้อเล่นน่า  เมื่อมีกิจกรรมที่จะต้องจัดให้คนทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนนักส่งเสริมการเกษตรแต่ละอำเภอ และตัวแทนกลุ่มอาชีพที่ปลูกมันสำปะหลัง ได้ ลปรร.เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพมันสำปะหลัง  ผมเลยใช้ของดีที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์  งานนี้เรียกชื่อโก้ๆ ว่า การจัดเวทีเครือข่ายกลุ่มอาชีพ การเกษตร (กลุ่มพัฒนาประสิทธิภาพมันสำปะหลัง) ของจังหวัดกำแพงเพชร  อิอิ...ชื่อยาวจัง(ตั้งเองให้มันโก้)

          เมื่อจะต้องจัดให้นักส่งเสริมการเกษตรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานส่งเสริมการปลูกมัน  ได้เลือกเอากรณีของคุณสวัลย์  ขาวทอง นักส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลานเป็นกรณีศึกษา  ซึ่งผลงานและเกษตรกรการปฏิบัติเป็นเลิศก็คือ คุณสุชานันท์  จันทร์ปลี เกษตรกรที่ปลูกมันได้ดีที่สุดเท่าที่เราจะค้นหาได้ในขณะนี้ของจังหวัดกำแพงเพชร

          ผมเป็นคนออกแบบและดำเนินกระบวนการร่วมกับพี่สายัณห์  ปิกวงค์ หรือลุงเขียวมรกตของเรา  ไม่ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้าแต่คุยกันว่าให้เป็นไปตามสถานการณ์ ดูบริบทและสถานการณ์ แล้วค่อยว่ากันสดๆ แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้นก็รื่นไหลไปด้วยดี  กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปจากต้นจนจบ คร่าวๆ ดังนี้ครับ

  • ช่วงเช้า  นักส่งเสริม 15 คน เกษตรกร  22 คน เรานัดพบกันที่ซุ้มเรียนรู้ของสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน ให้คุณสวัลย์  ขาวทอง เล่าประสบการณ์ในการส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วยการออกแบบทดสอบ  ทดลองทั้งลงมือทำเอง และร่วมกับเกษตรกร ภาษาสมัยใหม่เขาเรียกว่า R2R นั่นเหละครับ

  • จากนั้นก็จะเดินไปชมแปลงทดลองพันธุ์ - ระยะปลูก - การดูแลรักษา ของคุณสวัลย์  ที่หลังสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน

  • เสร็จแล้วก็จะสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จนถึงเที่ยงก็จะรับประทานอาหารร่วมกัน

  • ช่วงบ่ายทั้งหมด จะเป็นการเดินทางไปดูแปลงปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร คือคุณสุชานันท์  จันทร์ปลี หมู่ที่ 5 บ้านมอมะปรางทอง ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน เพื่อดูแปลง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสรุปบทเรียนร่วมกัน

          ชมกิจกรรมต่างๆ ได้ดังภาพด้านล่างนี้ครับ 

 

 
บรรยากาศสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลานยามเช้า..

 

 


ซุ้มเรียนรู้ข้างสำนักงานเกษตรอำเภอ สถานที่นัดหมายของเรา

 

 


เริ่มต้นเวทีฯ ด้วยคุณสายัณห์  ปิกวงค์ คุณอำนวยรุ่นเก๋าของเรา

 


ต่อจากนั้นคุณสวัลย์  ขาวทอง เล่าประสบการณ์ การทำงานส่งเสริมการปลูกมัน

 


เห็นผลผลิตแล้วทุกคนร้อง...อื้อหื้อ...

 


จากนั้นลงไปดูแปลงวิจัยมันฯ หลังสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน

 


ทุกคนสนใจแลกเปลี่ยนและสอบถามจนต้องขอร้องให้กลับมาคุยกันต่อที่ซุ้มเรียนรู้

 

หลังจากคุยกันแล้ว  ต่างสนใจพันธุ์มันที่ทดลองปลูก ทีนี้ก็ถึงคิวขอท่อนพันธุ์กลับบ้านครับ

 

ช่วงบ่ายเดินทางเข้าชมแปลงปลูกของเกษตรกร

 

 

ไทยมุงครับ..เพื่อรอชมหัวมันที่อายุประมาณ 3 เดือน

 

 

อีกมุมหนึ่ง....รอลุ้นครับ ปรากฏว่ามีหัวแล้วเกือบท่อนแขน แถมคอนโด 3 ชั้น

 

จากนั้นก็เดินดูแปลง ซึ่งมีการทดลองรูปแบบต่างๆ มากมาย บรรยายไม่หมด

 

          บันทึกหน้าคอยติดตามต่อนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

สิงห์ ป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 456351เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2011 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ชื่นมชมกระบวนการที่ออกแบบให้เรียนรู้ร่วมกัน โดยเแพาะการเรียนรู้ผ่านความสำเร็จนั้น จะสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างยิ่งยวด เป็นการเรียนลัด แต่กลับไปก็ยังต้องลงมือทำแบบไม่ลัดขั้นตอน...

ชื่นชมครับ

  • สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน
  • ยิ่งทำก็ยิ่งมีความสุขครับ
  • เห็นรอยยิ้มของผู้รับและผู้ให้
  • ขอบคุณครับ

บรรยากาศน่าเข้าร่วมเรียนรู้จังเลยค่ะ

คุยกันใต้เพิงหญ้าและหน้าสวน

คงเป็น R2R ที่ผู้ร่วมแลกเปลี่ยน

สัมผัสได้ถึงความเป็นกันเอง

  • สวัสดีครับคุณ ใบไม้ร้องเพลง
  • เป็น R2R ที่เป็นธรรมชาติมาก
  • เพราะคนทำก็ทำแบบไม่รู้ตัว
  • ขอบคุณที่แวะมาเยียมเยียนครับ

ฮ่า ๆชอบคำนี้จังเลยค่ะ

"คนทำก็ทำแบบไม่รู้"

เหมือนคนทำเต็มไปด้วยพลังแห่งความตั้งใจ ไร้ซึ่งความคาดหวัง

สุดยอดแห่งกระบวนการวิจัยคือ ลงมือทำ แล้วก็เรียนรู้ผลทุกสิ่งที่เกิดขึ้น

ข้าน้อยขอคารวะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท