กระบวนการเขียนบันทึกของผม ใน Gotoknow.org .. (เล่าให้ฟัง)


"กระบวนการเขียนบันทึกของผม ใน Gotoknow.org" ให้ท่านได้ฟังกัน ซึ่งอาจจะทำให้ท่านรู้จักตัวตนของผมมากขึ้น จากกระบวนการจัดการชีวิตของผม

ผมเขียนบันทึกที่ Gotoknow.org เป็นเวลา 6 เดือน เป็นจำนวน 174 บันทึกผ่านไป จากสมุดบันทึกถึง 9 เล่ม

 

ขอเล่าความคิดส่วนตัวเกี่ยวกับ "กระบวนการเขียนบันทึกของผม ใน Gotoknow.org" ให้ท่านได้ฟังกัน ซึ่งอาจจะทำให้ท่านรู้จักตัวตนของผมมากขึ้น จากกระบวนการจัดการชีวิตของผม

 

สมุดบันทึก (Blog) และ บันทึกแต่ละหน้า

สมุดบันทึก (Blog) เสมือน การสร้างโฟลเดอร์ หรือ ไดเรกทรอรี่ เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการเก็บไฟล์ข้อมูลที่เป็นเฉพาะเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง เช่น ผมเก็บงานข้อเขียนจากหนังสือไว้ในสมุดบันทึกที่ชื่อ หอมกลิ่นหนังสือ  เหมือนกับโฟลเดอร์ชื่อ หอมกลิ่นหนังสือ เช่นกับระบบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และไฟล์ข้อมูล ก็คือ บันทึกที่เขียน นั่นเอง

สมุดบันทึก (Blog) เสมือน วารสารทางวิชาการเล่มหนึ่ง ที่ภายในประกอบไปด้วยบทความทางวิชาการหลาย ๆ บทความ ดังนั้น สมุดบันทึก คือ วารสาร และ บันทึกแต่ละเรื่อง คือ บทความแต่ละบทความ นั่นเอง

ดังนั้น ผมจึงเลือกสร้างสมุดบันทึก ถึง 9 เล่ม เก็บเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผมอยากเขียน อยากเก็บ อยากบันทึกเอาไว้

 

การตั้งชื่อสมุดบันทึก (Blog)

สำหรับผมแล้ว การตั้งชื่อสมุดบันทึก (Blog) ... เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมจะใช้เวลาในการตั้งชื่อสมุดบันทึกค่อนข้างมากครับ บางเล่มก็คิดหลายวัน หลายสัปดาห์ก็มี ถ้าไม่ลงตัวก็ไม่ยอมตั้งสักที

โดยเริ่มแรก คือ การคิดชื่อที่เป็นที่อยู่ของสมุดบันทึกก่อน คือ http://gotoknow.org/blog/ .........

ต้องใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ โดยตั้งชื่อให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับชื่อบล็อกภาษาไทยและวัตถุประสงค์สำหรับการเขียนบันทึกในสมุดบันทึกเล่มนี้

เช่น สมุดบันทึก ชื่อ มหาวิทยาลัยชายเขาของคนชายขอบ  ผมใช้ชื่อที่อยู่ของสมุดบันทึกว่า http://gotoknow.org/blog/university-of-foothills

ซึ่งแปลตรงตัว อาจจะมีความยาวมากหน่อย แต่ก็สื่อความหมายได้เข้าใจดีและตรงเรื่องราว

ผมถือว่าสำคัญ เพื่อการสื่อความหมายที่ถูกต้องกับเพื่อน ๆ หรือ ผู้ผ่านทางที่ไม่รู้จักกัน เขาจะเข้าใจว่า สมุดบันทึกนี้เป็นเรื่องราวของอะไร

ผมจึงไม่พยายามตั้งชื่อสมุดบันทึกแบบไร้ความหมาย เช่น ชื่อตัว ชื่อเล่น เบอร์โทรศัพท์ เลขทะเบียนรถ ชื่อแฟน ชื่อหมา ชื่อแมว ชื่อช้าง เป็นต้น

หลักการเหล่านี้ นำมาจากการตั้งชื่อไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ในระบบการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ครับ

 

การตั้งชื่อบันทึกแต่ละเรื่อง

เมื่อมีเรื่องที่เราอยากเขียน อยากบันทึกแล้ว เรามักจะตั้งชื่อไปก่อน บางทีก็ไม่ใช่ข้อสรุป ไม่ใช่ประเด็นที่สื่อความหมายกับเนื้อเรื่องที่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่อง

ตั้งชื่อบันทึกได้น่าสนใจ สื่อความหมายได้ดี ... ผู้เข้าเยี่ยมชมที่สนใจประเด็นที่เราเขียน จะเข้ามาได้อย่างถูกต้อง และถูกใจตนเอง และยิ่งสนใจมาก ก็ยิ่งอยากแสดงความคิดเห็นของตนเองเอาไว้เช่นกัน

นี่ไม่ใช่หลักการตลาด แต่เป็นหลักการตั้งชื่อปกติ ตั้งชื่อไฟล์ โฟลเดอร์ก็เหมือนกันครับ

เหมือนเราอยากจะซื้อหนังสือสักเล่ม เราก็มักจะต้องเปิดดูสารบัญก่อนใช่หรือไม่ครับว่า มีเรื่องราวที่เราสนใจ อยากอ่านหรือไม่ เช่นกันกับการตั้งชื่อบันทึกใน Gotoknow ครับ

 

การเตรียมข้อมูลและแหล่งข้อมูล

เนื้อหาที่เขียน มักจะมาจาก ...

  • ประสบการณ์ตรงที่พบประสบเจอด้วยตนเอง จะเหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง แต่ยากกว่าพูด เพราะต้องเขียนให้เห็นภาพ ผู้อ่านจึงจะเข้าใจตรงกับผู้เขียน
  • ข้อมูลเฉพาะของเรื่องราวที่เราเขียน เช่น ประวัติ ซึ่งโดยปกติ ผมมักจะใช้ข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์เสียส่วนใหญ่ เช่น หนังสือ บทความจากวารสาร ฯลฯ ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ (ขอย้ำ เชื่อถือได้ ต้องใช้ประสบการณ์จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยว่า มั่วหรือไม่)
  • ข้อมูลที่ผมไม่เคยใช้เลย คือ FORWARD MAIL <-- ไม่เคยใช้ ครับ

รูปภาพที่ต้องใช้ประกอบ

  • ชอบใช้ภาพถ่ายที่ตัวเองเป็นคนถ่ายเอง หรือกราฟิกที่ตัวเองสร้างเอง
  • หรือ ถ้า Scan จากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ก็ต้องอ้างอิงให้ถูกต้องในบันทึกด้วยครับ
  • นาน ๆ จะใช้จากเว็บไซต์ของคนอื่น แต่ต้องอ้างอิงให้ถูกต้องด้วย ถือเป็นการให้เกียรติกัน

 

กระบวนการเขียน

  • เวลาผมเขียนบันทึกลงใน Gotoknow นั้น ผมมักจะพิมพ์สด ๆ กันเลย ... ประมาณว่า ไม่กลัวการติดต่อสื่อสารของผมจะหลุด จะหาย ซึ่งก็หายหลายครั้ง แล้วต้องทำใจมาพิมพ์ใหม่อีกที
  • การพิมพ์สด ถ้ามีข้อเขียนที่ผมต้องคัดลอกลงประกอบ ผมก็เปิดหนังสือที่หน้าจอ แล้วพิมพ์เลย ไม่ค่อยมีการเปิดเว็บไซต์แล้ว COPY และ PASTE เลย เหมือนผมตรวจงานนักศึกษา ถ้าผมเจอ ผมให้ข้อกล่าวหาเป็น COPY หมด ดังนั้น ผมจึงรู้สึกว่า ผมจะไม่ COPY แบบนี้มากนัก แต่ไม่ใช่ความหมายว่า ไม่ได้ทำนะครับ มีบ้าง ตามความเหมาะสม และต้องอ้างอิงเสมอ
  • การพิมพ์สดได้นั้น เพราะผมใช้เน็ตของมหาวิทยาลัยไงครับ นี่ถ้าใช้ GPRS ที่บ้านล่ะก็ เสียดายเวลาแย่เลยครับ
  • เพราะว่า พิมพ์บันทึก ๆ หนึ่ง ผมใช้เวลาเกิน 30 นาทีเสมอครับ ยกเว้น บันทึกไหนที่ต้องใช้ความคิดในการประมวลผลเยอะ แบบนั้นล่ะก็นานเป็นชั่วโมงเลยครับ
  • ยิ่งถ้าเป็นบันทึกพาเที่ยวล่ะก็ ผมก็ต้องนำไฟล์ขึ้นไฟล์อัลบั้มก่อนครับ แล้วจึงค่อยเขียน เวลาก็บวกมากขึ้นอีก
  • เมื่อพิมพ์เสร็จ จึงค่อยกลับมาตกแต่งข้อความอีกครั้ง จัดเอกสารให้อ่านง่าย แล้วจึงค่อยบันทึกครับ

 

การตอบความคิดเห็น

  • มีใครเข้ามาแสดงความคิดเห็น ผมก็จะทักทายเสมอ หรือถ้าทราบก็จะต่อยอดออกไป
  • มีหลายครั้งที่ผู้เข้ามาตอบ อ่านแล้วไม่เข้าใจในการสื่อความหมายของผม มักจะเข้าใจผิดเป็นอีกประเด็น ผมต้องทำการชี้แจงให้เขาฟังทีละนิด ๆ แต่ผมจะไม่บอกว่า "ลองกลับอ่านบันทึกที่ผ่านมาสิ" "อ่านใหม่อีกครั้งสิครับ" ไม่มี ... ผมถือว่า เสียมารยาทเกินไป
  • เพราะถ้าเป็นตัวเอง แล้วตัวเองอ่านไม่ดีแล้วมีคนมาเขียนแบบนี้ เราก็ไม่ชอบเช่นกัน
  • เลือกปฏิบัติกับเขาอย่างที่อยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา ครับ
  • ประเด็นใดที่ผมไม่ทราบ เขาให้ความรู้มา ผมขอบคุณ
  • ประเด็นใดที่เขาทักทายมา ผมยินดี
  • ประเด็นใดที่เขากวนโอ๊ยมา แบบเจตนาไม่ดี ผมจะลองคุยก่อน แต่ถ้าไม่ดีขึ้น ผมเลิกตอบโต้ เพราะเสียลมหายใจไปเปล่า ๆ ถ้าไม่มีเหตุผลพอ
  • กรณีศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ ผมจะเล่าให้ฟังในบันทึกต่อ ๆ ไปนะครับ

 

กระบวนสำรองข้อมูล

  • ยังไม่เคยทำเลย ครับ
  • ทำได้แต่ว่า ถ้าเขียนบันทึกใหม่ ๆ แล้วบันทึกขึ้นเป็น "บันทึกล่าสุด" ล่ะก้อ ผมจะใช้ SnagIT หรือ Hypersnap-DX จับภาพเก็บไว้เป็นไฟล์ JPEG เสมอ แต่บางทีก็จับภาพไม่ทัน เพราะสมาชิกท่านขึ้นก็เขียนบันทึกล่าสุดเหมือนกัน ครับ
  • อนาคต ... คงต้องทำแล้วล่ะ กลัวมันเยอะจนเก็บไม่ทัน

 

สำรวจความต้องการสำรองข้อมูล >> บันทึกที่สมาชิก Gotoknow เขียนไว้ ควรจะมีระบบสำรองข้อมูลส่วนตัวหรือไม่ อย่างไร ?

 

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะครับ เดี๋ยวถ้าผมมีประเด็นใดเพิ่มเติม ผมจะนำอัพเดทบันทึกนี้ทันทีเลยนะครับ

บุญรักษา ทุกท่านครับ :)

หมายเลขบันทึก: 171038เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นด้วยทุกกระบวนการเลยค่ะ  เพราะตัวเองก็พยายามทำอย่างนี้เหมือนกัน  โดยเฉพาะการตั้งชื่อ Blog ชื่อบันทึก เห็นด้วยมากๆ
  • แต่ด้วยความที่เป็นคนพิมพ์ไม่คล่อง พิมพ์ได้ช้า จึงต้องพิมพ์เรียบเรียงเนื้อหามาจาก word ก่อน แล้วจึงนำมาวางในบันทึก จึงได้สำรองข้อมูลของตัวเองเอาไว้ตั้งแต่ตอนนั้นเลยค่ะ 

ดีจังค่ะ ที่ได้แนวคิดว่ากระบวนการเขียนบันทึกใน g2k ของคนอื่นเป็นอย่างไร

กระบวนการเขียนของดิฉัน ส่วนมากจะคล้ายกับอาจารย์ค่ะ

แต่มีบางบันทึกที่เขียนสดๆ พอบันทึกมันหายไป เสียดายมาก ตอนหลังก็ Coppy ไว้ก่อน ถ้าบันทึกได้ก็แล้วไป

ถ้าบันทึกไม่ได้ เราก็นำข้อมูลมาวางใหม่ได้ค่ะ

Jeed ครูแก้วตา อาณาจ้กร์

     สวัสดีค่ะ  อาจารย์  Wasawat  Deemarn

          อ่านบันทึกนี้แล้วได้รู้เพิ่มขึ้น  แต่ยังไม่ทั้งหมดคงต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ รู้แต่เพียงว่า  บันทึกของอาจารย์เขียนได้น่าอ่านทุกเรื่อง...ขอบคุณค่ะสำหรับสาระดี ๆ มีคุณค่า

 

สวัสดีครับ

  • ผมนาน ๆ จะสำรองข้อมูลจาก g2k สักครั้ง
  • เวลาสำรอง จะใช้โปรแกรม firefox ที่ไปติดตั้ง Add-ons ที่ชื่อ DownThemAll มา
  • เข้าไปหน้าสารบัญของบล็อกของตัวเอง
  • แล้วใช้ DownThemAll ดึงทุก link ในหน้านั้นมาเก็บในเครื่อง
  • วิธีนี้ สะดวกดีครับ จะดู off-line ก็ง่าย แม้อาจแสดงผลไม่สวยเท่าดูใน web สด ๆ แต่อย่างน้อยก็สามารถมาประกอบคืนใหม่ได้ง่ายในอนาคต

เรื่องสำรองข้อมูลนี้ น่ามีจริงๆครับ แล้วก็คุยกันมานานแล้ว แต่ไม่มีเวลาทำสักที

จึงอยากรู้จริงๆนะครับ ว่าจะสำรองอะไรบ้าง

  • บันทึกอย่างเดียว
  • หรือจะเอาความคิดเห็นด้วย
  • แล้วรูปล่ะ เอาไหมครับ
  • การโหลดไปเก็บ ส่งเป็น zip file อันเดียวได้ไหมครับ

สวัสดีครับ พี่ jaewjingjing

  • พิมพ์ช้าไม่เป็นไรครับ วิธีที่พี่ใช้ ถือว่า Save ที่สุดแล้วครับ
  • ผมพิมพ์ไม่เร็ว แต่ดันเลือกอารมณ์เป็นหลัก แบบสด ๆ น่ะครับ อิ อิ

ขอให้กำลังใจครับผม :)

สวัสดีครับ คุณ อุบล จ๋วงพานิช

  • แฮะ ๆ บางบันทึกผมพิมพ์แบบไม่จบสักที ผมดูไฟ ดูฟ้าแล้ว ผมก็ทำเหมือนกันครับ คือ เปิด Notepad มา Save เป็น Text File ไว้ก่อนเลย เพราะเสียเนื้อที่นิดหน่อย
  • ถ้าเจ๊งกะโบ๊ง ล่ะก็ ... เข้าใหม่ แล้ว แปะกลับคืนเลยครับ

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ อาจารย์แก้วตา

  • ขอบคุณครับที่อาจารย์แวะมาเยี่ยม
  • ขอให้อาจารย์ได้เลือกประโยชน์จากสิ่งดี ๆ ไปใช้นะครับ
  • สิ่งไม่ดี อาจารย์ไม่ต้องเอาไป เก็บไว้ที่ผมนี่แหละ

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ อาจารย์ wwibul

  • ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำ เรื่อง การใช้โปรแกรม firefox ที่ไปติดตั้ง Add-ons ที่ชื่อ DownThemAll
  • ผมเชื่อว่า มีประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านแน่นอน ครับ
  • ว่าแต่ .. เราไม่สร้างหนังฆาตกรรมกันแล้วนะครับ อิ อิ

ขอบพระคุณครับอาจารย์ :)

สวัสดีครับ คุณ Conductor :)

  • ขอเลือกเป็นการส่วนตัวนะครับ
  • เลือก Maximum Mode (บันทึก+ความคิดเห็น+รูปและกราฟิกทั้งหมด) และ ต้อง Last Update ครับ
  • ดูโลภ ๆ ไหมครับ แต่ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่คงอยากจะเลือกแบบนี้ ครับ คงต้องสำรวจกันดู
  • โหลดแล้วเก็บ ZIP อย่างเดียว เหมือนบนเว็บ Gmail ที่เลือกรวม Attach file ทั้งหมด ก็ยังได้ครับผม
  • ขอย้ำว่า ส่วนตั๊ว ส่วนตัว นะครับ ท่านอื่นอาจจะคิดไม่เหมือนผม
  • ผมว่า ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในอนาคตด้วยครับ ว่าจะเก็บไว้เป็นที่ระลึก หรือ จะนำไปเผยแพร่ในรูปอื่น ๆ ต่อไป

ขอบคุณนะครับที่ให้เกียรติแวะมาถามผม แบบตรง ๆ กันเลย :)

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาอ่านได้ความรู้มากค่ะ 

อาจารย์ สบายดีไหมค่ะ

ไม่ค่อยเห็นภาพสวยๆจากอาจารย์เลยค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณ ครูเอ :)

  • ก็ยุ่ง ๆ เกี่ยวกับ PLAN งานอยู่ครับ
  • SUMMER นี้ หาว่างไม่
  • ภาพไม่สวย ๆ นะเหรอครับ อิ อิ ดองไว้อยู่ในเครื่องนี่แหละครับ

ขอบคุณนะครับ แวะมาอ่าน แวะมาเยี่ยม แวะมาทักทาย :)

สวัสดีค่ะ

- วันนี้เข้ามาทักทายค่ะ แอบอ่านมานานแล้ว

- ถ้าส่วนตัว ก็พิมพ์สด ๆ ตามอารมณ์ หลุดบ้างก็มี แต่มีเครียด เพราะพิมพ์เร็วค่ะ (เด็กพาณิชย์เก่า)

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีอีกครั้งครับ

  • การสร้างหนังหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหญ่
  • ตัวจริง หากไม่ใช่นักสร้างหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องไปสร้าง
  • คนอื่นรอดูหนังฆาตกรรม ก็เป็นความสุขส่วนตัวเค้า อิอิอิ เราไม่เกี่ยว
  • อันที่จริง...
  • ผมกลับมองว่า ที่น่าทำกว่า คือ เขียน ครับ
  • ช่วงนี้ กำลังหัดเขียนอ่อนหวาน เขียนละมุนละไม เขียนให้อ่านแล้วซาบซ่านดาลใจ
  • ...แต่นิสัยเก่ากำเริบ แก้ย๊าก ยาก ครับ
  • ฝืนไม่ได้ ก็ไม่ฝืนครับ...

สวัสดีครับ คุณ เพชรน้อย

  • อ้าว มีแอบอ่านด้วยหรือครับ อิ อิ
  • ไม่ต้องแอบ ๆ ครับ พูดคุยกันได้เลยนะครับ เพิ่มความสุขให้ชีวิต
  • พิมพ์สด ๆ เหมือนกันนะครับ
  • พิมพ์ได้กี่คำต่อนาทีครับ เนี่ย :)

ขอบคุณนะครับ :)

อาจารย์ wwibul มารอบ ๒ ครับผม อิ อิ

  • จริงด้วยครับ ลืมไปว่า มีคนอื่นรอดูต่างหากเนาะ
  • เราก็ต้องรู้ตัวว่า เราไม่ใช่หนังฆาตกรรมสักหน่อย
  • Romantic Comedy ต่างหากนะครับ :)
  • หรือลามกเล็กน้อยแบบ American Pies ดีครับ
  • อาจารย์ลองเขียนแบบลูกหวานเลยหรือครับ หุ หุ ...
  • ซาบซ่านซึ้งใจกันไปข้าง
  • แต่ไม่มีฝืนครับ อาจารย์ ทำไม่เป็นเท่านั้นเอง

ขอบคุณอาจารย์แวะมาคุยกันสนุก ๆ นะครับ ทำให้บันทึกมีสีสันหวานแหวว แต๋วจ๋า ขึ้นเยอะครับ :)

สวัสดีค่ะ  อาจารย์Wasawat Deemarn

  • เข้ามาส่องกระจกมองดูตัวเองด้วยคนค่ะ
  • เห็นแจ้งทุกประการ
  • ช่วงนี้ภารกิจในหน้าที่มีมากค่ะ มาได้แว้บเดียวขอตัวก่อนนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับ คุณครู จุฑารัตน์

  • ส่องกระจก พบอะไรบ้างครับ อิ อิ

ขอบคุณที่แว่บมาให้หายคิดถึงครับ :)

แหม เป็นอย่างนี้นี่เอง  ละเอียดทุก กระบวนการ มิน่าๆ

ถึงต้องตามมาอ่านอีกแล้ว

อิอิ ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆ ค่ะ

 

สวัสดีครับ น้องอาจารย์ หัวใจติดปีก :)

  • เหรอ พี่เขียนละเอียดไปเหรอเนี่ย โอ้ ...
  • แค่แนวคิดที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้เป็นของตนเองได้ครับ

ขอบใจมากจ้า :)

แวะเยี่ยมครับ

ตอนนี้ผมขอจัดการตัวเองก่อนครับ

สวัสดีครับ คุณเอก :)

  • ยินดีครับ ...

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท