ปัญหาสังคม : พฤติกรรมก้าวร้าว (1)


สังคมประกอบด้วยสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีการหล่อหลอมรวมกันทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต...มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะสังคมจะสงบสุขน่าอยู่หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติตนของคนในสังคมที่ถูกหล่อหลอมกันมาด้วยวิธีการต่าง ๆ ความสงบสุขปราศจากความวุ่นวายคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในสังคมแสวงหาและเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา

          วันนี้...ระหว่างนั่งสนทนากับพี่ชายคนดี...ผ่านเครื่องมือสื่อสาร ในประเด็นพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์ มีคำถามหนึ่งจากปลายสายที่น่าสนใจมากและขอให้ดิฉันตอบคำถามนี้ให้ด้วย ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณเจ้าของคำถามที่ช่างถามเพื่อทำให้ได้คิด...ซึ่งเมื่อฟังคำถามจบก็ตอบตัวเองว่าเป็นคำถามง่าย ๆ ที่ถามกันบ่อยแต่ดิฉันไม่เคยได้ตอบหรือให้ความกระจ่างกับตัวเองสักที แต่ครั้นเมื่อโดนถามดิฉันก็ตอบตัวเองว่าการที่จะหาคำตอบให้กับบางคำถามทำไมมันอยากจัง ในประเด็นที่ว่า “ทำไมสังคมจึงคิดจะแก้ไขปัญหาพฤติกรรม” นั่นซิทำไมสังคมจึงคิดแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ดิฉันทบทวนคำถามเพื่อหาคำตอบอยู่หลายรอบ...

          ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าว ดิฉันขอโยงไปถึงคำว่า “สังคม” สังคมประกอบด้วยสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีการหล่อหลอมรวมกันทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต...มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะสังคมจะสงบสุขน่าอยู่หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติตนของคนในสังคมที่ถูกหล่อหลอมกันมาด้วยวิธีการต่าง ๆ ความสงบสุขปราศจากความวุ่นวายคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในสังคมแสวงหาและเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา  ในทางจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายในเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ เจตคติ ยกเว้นในบางกรณีที่บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์หรือสนิทสนมกันมากเป็นเวลานานชนิดรู้ใจกันและกันก็อาจจะเข้าใจพฤติกรรมภายในของอีกฝ่ายได้บ้างแต่เพียงผิวเผินรู้ไม่หมดหรือไม่ทะลุปรุโปร่งเท่ากับเจ้าตัว ส่วนพฤติกรรมภายนอกเป็นพฤติกรรมที่บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวทางอากัปกิริยาประเภทต่าง ๆ พฤติกรรมการเดิน การนั่ง การยืน เหล่านี้เป็นต้น 

          พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในแต่ละวันนั้น พบว่า มีพฤติกรรมบางอย่างเท่านั้นที่เกิดมาจากสันชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรืออาจเรียกว่าเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ก็ว่าได้ เช่น พฤติกรรมการดูด การกลืนของเด็ก และพฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ส่วนพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่นั้นจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ การสังเกต การเรียนแบบ การฝึกหัดฝึกฝน  และบางครั้งหากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ มีสิ่งกระตุ้นที่เอื้ออำนวยอย่างพอเหมาะพอดีพฤติกรรมเหล่านั้นอาจจะกลายเป็นนิสัยไปในที่สุด หากพฤติกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นนิสัยแล้ว เมื่อนั้นการปรับปรุงแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมย่อมเป็นไปอย่างยากลำบากตามไปด้วย

          เขียนมาถึงตรงนี้...ก็ยังหาคำตอบที่เข้าไปถึงแก่นของคำถามได้ยังไม่ชัดเจนสักเท่าไร จึงตั้งคำถามใหม่ขึ้นในใจว่า “พฤติกรรมอย่างไร ถึงเรียกว่าเป็นปัญหาที่เราจะต้องมาช่วยกันแก้ไข” ซึ่งดิฉันจะขอถ่ายโยงไปในบันทึกตอนต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 70121เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอบคุณคุณ "หนิง" ค่ะ สวัสดีปีใหม่ค่ะ มีความสุขเยอะ ๆ นะคะ ขอให้รวย...ขอให้รวย ค่ะ

เราคงมองพฤติกรรมด้วยอคติไหม อคติไปทางใดทางหนึ่งไม่ใช่ลบบวก ซ้ายขวา หรือถูกผิด แต่เป็นอคติเพราะกรอบสังคม ที่ช่วยกันขีดแล้วมีคนมาแหกกรอบ ก็เลยถูกประนามว่าก้าวร้าวไป

อ่านดูเหมือนปัญหาพฤติกรรมนี้จะอยู่ที่ว่าใครแสดงอะไรออกมาแล้วสังคมไม่ยอมรับ สังคมใครล๊ะ หากเป็นกลุ่มสังคมของคนที่รวมหัวกันแสดงความก้าวร้าวเขายอมรับกันเองล๊ะ ไม่ได้ใช่ไหม งั้นเอาใหม่ ต้องเป็นสังคมโดยรวม ทีนี้ยิ่งงงไหม จะบอกว่าความก้าวร้าวที่ยังคงอยู่ได้ ก็น่าจะเป็นเพราะสังคมน้อย ๆ ของเขาที่เกาะกลุ่มกัน เขาให้การรับรองและยอมรับกันเอง มันถึงอยู่ต่อได้ในสังคมส่วนใหญ่ ที่เขามองว่าเขาเป็นส่วนเกินเสมอๆ

ใช่ค่ะ...เพราะเขามองว่าเขาเป็นส่วนเกินของสังคมใหญ่ เขาจึงพยายามสร้างสังคมน้อย ๆ โดยการรวมตัวจับกลุ่มและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจนเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม และแทรกตัวฝังอยู่ในสังคมใหญ่ แต่หากสังคมมองว่าเขากลุ่มเล็กกว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร หากแต่ทุกคนเมินเฉยกลุ่มเล็กจากหนึ่งคนจะพัฒนาตัวเป็นสองคน...สามคน จนลุกลามไปจนไร้หนทางแก้ไขก็เป็นได้

ทีนี้พอจุดประเด็นขึ้นว่าเพราะพวกเขาเกาะกลุ่มกันและยอมรับกัน ก็คิดบางอย่างเกิดขึ้นในใจว่า บางครั้งกองทัพที่แข็งแกร่งอาจแตกกระเจิงได้ด้วยเพราะมีใส้ศึกเข้าไปสอดแทรกสอดแนม เช่นเดียวกันหากเราหาวิธีการอะไรสักอย่างเพื่อเข้าไปสอดแทรกเพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างความเข้มข้นนั้น ตัวสอดแทรกนี้อาจหลอมละลายพฤติกรรมเหล่านั้นได้...ก็เป็นได้ (คิดเล่น ๆ นะคะ)

     เข้ามาตามอ่านย้อนรอยหลาย ๆ บันทึก ต้องสะดุดกึงตรงการต่อยอดกันของท่าน space กับอาจารย์น้อง ขอบคุณสำหรับการ ลปรร.ที่เผื่อแผ่มายังคนอ่านนะครับ ยอดเยี่ยมเลยครับสำหรับการต่อยอดความรู้กันในลักษณะนี้ขอชมครับ

ขอบคุณคุณพี่"ชายขอบ" ที่แวะเข้ามาชื่นชมค่ะ

การปลูกต้นไม้สักหนึ่งต้น...หากต้นไม้ได้แตกหน่อ ต่อยอดขึ้นไปทีละหน่อ ทีละยอด สักวันหนึ่งในวันข้างหน้าต้นไม้นั้นย่อมแผ่เป็นไม้หลาย ๆ ต้นที่งดงาม ยอดนั้นยิ่งต่อยิ่งสูงใหญ่ แข็งแรง กลายเป็นไม้ใหญ่ที่ปกคลุมพื้นดิน ให้ล่มเงาแก่ผู้มายืนค่ะ เฉกเช่นเดียวกับการสร้างหน่อต่อยอดให้แก่เด็กเยาวชนของชาติค่ะ ยิ่งสร้างยิ่งต่อ...ยอดหน่อเยาวชนยิ่งแข็งแรง กลายเป็นหน่อใหญ่ยอดใบแข้งแรงช่วยปกคลุมประเทศชาติให้ล่มเย็นค่ะ

ตามมาขอบคุณ คุณครูเข้าใจว่าจะได้วิธีการอะไรบ้างแล้วนะ แต่อยากบอกว่าน่าจะมีวิธีการอื่นอีก ลองค้นหาดีๆ ตอนนี้ space นึกไม่ออก เมากลิ่นเหล้าที่เขาดื่มกินกันทั่วทั้งพารา

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณ space 

ขอบคุณเช่นกันค่ะที่เข้ามา ลปรร.กัน กำลังนั่งคิดหาวิธีการอยู่ค่ะ เมากลิ่นได้นะค่ะ...อย่าเมากับ...เดี๋ยวขาโจ๋ ปากซอยไม่ปลื้มนะคะ

มีความสุขปีใหม่ค่ะ

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท